13 ม.ค. เวลา 00:00 • การเมือง

ลีกวนยูสร้างประเทศอย่างไร ตอนที่ 2

Ruthless Man
8
การปกครองด้วยกฎเหล็ก เข้มงวด ไม่ใช่วิถีทางที่ตะวันตกชื่นชอบ ไม่ว่าบทลงโทษเฆี่ยนที่ “ป่าเถื่อนเหลือเกิน” ไปถึงโทษประหารที่ “ละเมิดสิทธิมนุษยชน” ลีกวนยูถูกสื่อตะวันตกกระหน่ำ ในเรื่องนี้เสมอ
ครั้งหนึ่งนิตยสาร Wall Street Journal โจมตีเขา ลีกวนยู เขียนจดหมายไปชี้แจง เพราะเห็นว่าบทความที่ลงมีข้อมูลไม่ถูกต้องแต่ Wall Street Journal ไม่ยอมตีพิมพ์จดหมายของเขา
3
ลีกวนยูก็แก้ปัญหาง่ายๆ โดยตีที่กระเป๋าเงิน จํากัดยอดขายของ Wall Street Journal ทั้งประเทศเหลือแค่ 500 ฉบับ เมื่อถูกโวย เขาก็บอกว่า “เอ้า! อนุญาตให้ขายตามเดิมก็ได้ แต่ต้องไม่มีโฆษณาในเล่มนะ”
4
รายได้หลักของนิตยสารมาจากโฆษณา เจอไม้นี้เข้า Wall Street Journal ก็ยอมถอย นักสัมภาษณ์ ชาร์ลี โรส ถามเขา “Wall Street Journal ไม่ดีหรือ?”
1
ลีกวนยูตอบขําๆ ว่า “นิตยสารน่ะดี แต่คนทําไม่ดี เสนอข่าวด้านเดียว ไม่เปิดโอกาสให้แก้ข่าวหรือแย้ง”
3
“คุณเชื่อในเรื่อง Free Press ไหม?”
“ผมเชื่อในความจริง และสื่อไม่ควรปั่นข่าวเอง ควรพิมพ์ข่าวตามจริง ส่วนบทบรรณาธิการหรือความเห็น พิมพ์แยกส่วนให้เห็น ไม่ใช่พาดหัวเต้าข่าว”
9
ลีกวนยู
หนึ่งในเรื่องที่โลกตะวันตกต่อต้านสิงคโปร์เสมอคือบทลงโทษประหารชีวิตนักค้ายาเสพติด ลีกวนยูให้สัมภาษณ์รายการ ชาร์ลี โรส ผู้สัมภาษณ์ถามลีกวนยูว่า “คุณคิดว่าการค้ายาควรมีบทลงโทษสูงสุดอย่างนี้หรือ?”
1
ลีกวนยูตอบ “ถ้าเราสามารถฆ่าพวกนั้นร้อยครั้งได้ เราก็จะฆ่าร้อยครั้ง เพราะยาเสพติดทําลายครอบครัวต่างๆ คนติดยาสามารถขโมย โกง ปล้นจากพ่อแม่ตัวเอง”
6
แต่ลีกวนยูบอกว่า ในสิงคโปร์ ก่อนที่เครื่องบินลงจอด แอร์โฮสเตสประกาศเตือนว่า การนํายาเสพติดเข้าประเทศ มีโทษหนัก ถ้านํายาเสพติดเข้าเกินกว่ากําหนดกี่กรัมๆ จะมีโทษประหาร
3
แต่ก็ยังมีคนเสี่ยง!
มีคนบอกว่าลีกวนยูเป็นเผด็จการ (authoritarian) มีความเชื่อมั่นสูง
เขาว่าเขามองที่เป้าเสมอ เขาต้องปกครองคนสี่ล้านคน สามล้านเป็นคนสิงคโปร์ หนึ่งล้านเป็นต่างชาติ แต่ทําไมมีคนต่างชาติถึงล้านคนไปทํางานที่สิงคโปร์
คําตอบเพราะเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสูง ไม่มียาเสพติด ไม่มีการจี้ปล้น สามารถเดินตีสาม ก็ไม่มีปัญหา แต่เราจะไม่เห็นตํารวจสักคน ไม่มีทหารตรวจตรา ทุก 4-5 ปีมีการเลือกตั้ง เขาก็ได้รับเลือกทุกที เพราะคนต้องการอย่างนี้ อัตราอาชญากรรมต่ํา การศึกษาชั้นดี ถ้าสังคมรวมดีขึ้น ชีวิตผู้คนดีขึ้น จะเป็น Authoritarian หรือไม่ แล้วไงหรือบางคนจึงเรียกเขาว่า Benevolent Dictator คือเผด็จการที่ใช้อํานาจเพื่อพัฒนาประเทศ
6
ทิม เซบาสเตียน โฆษกรายการ BBC Hardtalk สัมภาษณ์ลีกวนยูเรื่องโทษประหารชีวิตคดียาเสพติด ผู้สัมภาษณ์ต้อนลีกวนยูตลอดเวลาที่สัมภาษณ์ ชี้ว่าโทษประหารโหดไปหรือเปล่า ลีกวนยูตอบเรียบๆ ว่า “One death is too kind.” (ความตายหนึ่งครั้งเป็นความกรุณาอย่างยิ่งแล้ว)
12
เขาให้เหตุผลว่าคนค้ายาฆ่าไม่เพียงครอบครัวนั้น ทุกวัน ปีแล้วปีเล่า ยังทําลายครอบครัวอื่นๆ นับร้อยนับพัน
2
ผู้สัมภาษณ์บอกว่า “อัตราการประหารชีวิตของสิงคโปร์ต่อหัว (Per Capita) สูงกว่าสหรัฐฯ มาก”
ลีกวนยูถามกลับไปว่า “คุณคํานวณมาแล้วหรือ?”
3
“นี่เป็นข้อมูลจาก Amnesty International”
ลีกวนยูย้อนว่า “พวกเขาคํานวณมาดีแล้วหรือ? Per Capita จากอะไร? per capita ของคนค้ายา หรือ per capita ของประชากรสิงคโปร์? ผมกําลังประหารคนค้ายาต่างชาติ ผมขอบอกว่าคนที่ถูกประหาร เช่น พวกไนจีเรีย เพราะชาวไนจีเรียเป็นพวกที่ดูไม่น่าเป็นคนค้ายาที่สุดในสังคมเอเชีย ผู้หญิงดัตช์ที่มากับผู้ชายแอฟริกัน ผู้ชายดัตช์ที่มากับผู้หญิงเอเชีย
1
ดังนั้นคุณคํานวณ Per Capita ยังไง? Per Capita ของชาวดัตช์ที่เข้าสิงคโปร์? หรือ per capita ของคนสิงคโปร์ ต่อชาวดัตช์? พวก Amnesty คิดบ้าอะไร? พวกเขารู้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น? พวกนั้นเคยถามตัวเองบ้างไหมว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราส่งคนค้ายาทุกคนเข้าคุก นานห้าปี สิบปี แล้วเราก็ต้องสร้างคุกเพิ่ม เพราะมีคนค้ายาเข้ามาไม่ขาดสาย และนี่ก็แม้จะมีโทษประหาร รางวัลมันล่อใจจน พวกเขากล้าเสี่ยง ทําไมจะไม่ล่ะ?”
7
ความหมายของลีกวนยูคือ จะคํานวณ Per Capita เหมือนโทษประหารอื่นๆ ไม่ได้ เพราะไม่ได้ประหารคนสิงคโปร์ แต่ประหารคนต่างชาติที่นํายาเข้ามา เขาเห็นว่ามุมมองของ Amnesty International คับแคบเกินไป ท่องจําแบบนกแก้วนกขุนทองกันมา เป็นวิธีคิดแบบตะวันตกที่บูชาความเท่าเทียมแบบไม่ลืมหูลืมตา โดยที่คนจ่ายราคาความเสียหายคือประชาชนผู้บริสุทธิ์ ครอบครัวแตกสลาย
5
โฆษกรุกต่อไปว่า “คุณคิดว่าตลอด 31 ปีที่คุณเป็นนายกฯ คุณเป็น ruthless man (คนโหดเหี้ยม) หรือเปล่า?”
ลีกวนยูหัวเราะก๊าก
“ผมน่ะหรือดูเหมือน ruthless man? นาทีนี้ผมกําลังถูกปล้นชิง วิพากษ์อย่างรุนแรง และชําเราโดยคุณ”
9
“ผมแค่ถามคําถามเท่านั้น ไม่มีอะไร”
“ไม่ แต่ทุกคําถามนั้นเป็นหนามแหลมและลูกศรอาบยาพิษ”
4
“ผมกลับคิดว่ามันให้โอกาสคุณตอบคําถาม”
1
ลีกวนยูหัวเราะ
“ไม่ๆ...”
1
ลีกวนยูว่า “ถ้าผมเป็น Ruthless Man ผมจะต้อนคุณเข้ามุม เอาละ ขอให้ผมถามคุณบ้าง ทําไมคุณเริ่มโดยสรุปคิดเอาเองว่าคนที่คุณสัมภาษณ์โง่เง่าเสมอ? และคุณฉลาดกว่าเขา ทําไมคุณคิดเอาเองว่าคนเอเชียไม่สามารถเข้าใจวิถีชีวิตตะวันตกและมันจะดีกว่าเยอะเลยถ้าพวกเขากลายเป็นตะวันตกมากขึ้น”
11
เขาไม่ใช่ Ruthless Man เขาเป็นแค่คนเหล็ก
1
คนเหล็ก
ในปี 1980 ขณะที่เที่ยวบิน Singapore Airlines ลอนดอน-ดูไบ หยุดพักที่ซูริคนักบินก็ยุติการทํางานพนักงานสายการบิน Singapore Airlines ประท้วงขอเงินเดือนขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ ตอนนั้นสายการบินสิงคโปร์มีฐานะไม่ดี นักบินทั้งหมดถูกไล่ออก เกิดการประสานงาของสองฝ่าย
ลีกวนยูก้าวเข้าไปแก้ปัญหา เจรจากับแกนนําตัวแทนนักบินสหภาพนักบินและ Singapore Airlines Pilots’ Association โดยตรง ลีกวนยูบอกว่า เขาไม่มีทางถูกแบล็กเมลโดยใครให้ทําตามข้อเสนอ นายกฯสิงคโปร์บอกว่า “กลับมาทํางานเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นผมเริ่มใหม่ทุกคนต้องมีวินัยก่อน แล้วมาคุยกัน”
4
ลีกวนยูเสนอทางเลือกสองทาง หนึ่ง ประท้วงต่อไป สอง หยุด การประท้วง กลับไปทํางาน แล้วคุยกัน เขาบอกว่าเขาพร้อมจะเลิกสายการบิน เขาจะเริ่มต้นสร้างสายการบินใหม่ โดยไม่ต้องพึ่งพวกประท้วง
7
เขาว่า “ใครก็ตามที่ปกครองสิงคโปร์ ต้องมีเหล็กในตัว”
การประท้วงยุติลง ผู้ประท้วงรู้ดีว่า สู้กับคนเหล็กไม่ชนะ
2
คุณสมบัติผู้นํา
ลีกวนยูเป็นพวก Workaholic ชอบทํางานจนไม่รู้เวลา มีคนสัมภาษณ์ลีกวนยู ถามว่า “คุณลักษณ์ผู้นําที่ดีคืออะไร”
เขาบอกว่ามี 4 ข้อ
1. Consistency พูดอะไรวันนี้ พรุ่งนี้ไม่เปลี่ยน
4
เขายกตัวอย่างเขาเอง เขาให้นักข่าวสามคนเขียนหนังสือคําปราศรัยของเขา Speech แล้วถามทั้งสามเมื่อทํางานเสร็จอะไรคือแก่นหลักที่คุณพบ ทั้งสามคนบอกตรงกันว่า “Consistency” (ความเสมอต้นเสมอปลาย) พวกเขาเห็นว่าลีกวนยูมี Consistency ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา
2
2. มีความมุ่งมั่น จะทําอะไร ก็หาทางทําจนได้ แม้เจออุปสรรค
6
3. สื่อสารคนอื่นง่ายๆ ให้เขาเห็นด้วยลีกวนยูบอกว่า ผู้นําต้องสามารถเชื่อมกับประชาชน ต้องสามารถสื่อสารกับคนสิงคโปร์มีคนจีนหลายภาษา คนมาเลย์ คนอินเดีย ฯลฯ ลีกวนยูรู้ว่าจะสื่อสารกับคนแต่ละกลุ่ม ต้องสื่อสารด้วยภาษาของกลุ่มนั้น เขาจึงเริ่มเรียนภาษาจีนกลาง แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน มาเลย์ เพื่อสื่อสารกับคนพื้นเมืองได้โดยตรง
11
4. มีความจริงใจต่อเพื่อนและเพื่อนร่วมงานเขาว่าผู้นําจํานวนมากไม่รักษาคําพูด สักแต่สัญญา อย่างนี้จะอยู่ไม่นาน เพราะ “ถ้าคนไม่เชื่อคุณ คุณก็หลุดจากวงจรทันที”
6
ลีกวนยูเห็นว่า ใครที่ไม่มีพลังความกระตือรือร้นตามธรรมชาติ (natural zest) ที่อยากทําเพื่อคนอื่น ก็ยากจะเป็นผู้นําที่ดีได้ เขาว่าจะเป็นนักการเมือง พูดเก่งไม่มีประโยชน์ “ตราบที่คนยังมีเครื่องหมายคําถามเกี่ยวกับคุณ อย่าสัญญาที่ทําไม่ได้ ถ้าสัญญาอะไรต้องทํา แล้วประชาชนจะรู้สึกว่าเราไว้ใจได้”
10
ลีกวนยูสมัยหนุ่ม
ผู้นําที่ดีต้องมองเห็นและเข้าใจทุกอย่างที่เกิดขึ้น ในบริบทต่างๆ อย่างชัดเจน ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ เข้าใจคน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับนโยบายต่างๆ และต้องอ่านหนังสือมาก
2
ลีกวนยูหาคนเก่งมาร่วมทีมเสมอ เขาหาคนที่ดีที่สุด แม้แต่คนที่ต่อต้านเขา ถ้าเก่งจริง เขาก็ชวนมาทํางาน การกล้ารับความเห็นต่างเป็นจุดดี ไม่ใช่จุดอ่อน เขาก็ต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดต่างแต่ทุกคนต้องแชร์วิสัยทัศน์ร่วมกับเขา ไม่เช่นนั้นจะไปไม่รอด
6
วิธีการเลือกคนของเขาต้องใช้ EQ เขาบอกว่าผู้นํา ที่ไม่มี EQ ไปยาก
1
ลีกวนยูบอกว่าถ้าเขาไม่มี Emotional Intelligence ก็อยู่รอดมานานขนาดนี้ไม่ได้ไอคิวกับอีคิวต้องคู่กันเขาว่าทําเรื่องไอคิว คิดเรื่องต่างๆ แต่ก็ต้องทําให้มันกลายเป็นจริงขึ้นมา ตรงนี้ต้องเกี่ยวกับคนแล้ว ถ้าผู้นําไม่มีสํานึกอีคิวที่ดี ก็จะสัมผัสคนไม่ออกมีคนเก่งมากมายที่อีคิวไม่ดีพอ
3
จึงมีปัญหาในการทํางานหลายครั้งลีกวนยูก็ใช้งานเพื่อนช่วยคัดเลือกคน เพื่อนของเขาเก่งในการมองคน มองทะลุ แค่จับมือ มองตา ก็รู้ว่าดีไม่ดี เมื่อบอกว่าคนนี้คนนั้นเป็นคนเก่ง ก็เก่งจริงนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสิงคโปร์ โกชอกตง ก็มาจากการดูคนแบบนี้
1
มีคนถามเขาว่า ถ้าให้คะแนนตัวเองในการพิจารณาคน เขาน่าจะได้คะแนนเท่าไร
ลีกวนยูบอกว่า “น่าจะประมาณ 8/10”
2
“แล้วคุณเคยให้คะแนนไอคิวตัวเองไหม?”
เขาว่า “ผมยังไม่เคยประเมินไอคิว แต่น่าจะราวๆ 120” ว่าแล้วก็หัวเราะ
คนถามว่า “ถ้าให้เลือกคนมาทํางานด้วย จะเลือกคนที่ไอคิวสูงหรืออีคิวสูง”
4
เขาว่า “แล้วแต่ลักษณะงาน ถ้าหาคนมาคุมงานวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เขาคงเลือกคนไอคิวสูงก่อน” แต่ถ้าหาคนที่ต้องคุมคนอื่นอีกที ก็ต้องได้ทั้งไอคิวและอีคิว ทั้งสองอย่าง
9
(อ่านตอนต่อไปเสาร์หน้า)
โฆษณา