30 ธ.ค. 2023 เวลา 03:17 • ปรัชญา

Call for Speakers โดย TEDxKasetsartU 2024 อยากให้องค์กรก้าวหน้า ต้องกล้าเป็นปลาฉลาม Teeraphol Ambhai

ธีรพล อำไพ
49
งาน Call for Speakers ซึ่งเป็นเวทีย่อยที่ให้โอกาสนักพูดหน้าใหม่ได้มาใช้โอกาสในส่วนนี้มาแสดงความสามารถในด้านการพูด จัดขึ้นโดย TEDxKasetsartU 2024 งานที่เปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย และที่สำคัญไม่จำกัดอายุ และอาชีพใดๆ ของผู้เข้าสมัครทั้งสิ้นขอเพียงแค่มีความกล้าและพร้อมที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปันและส่งต่อไอเดีย ประสบการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ให้สังคมรับรู้ TEDx
20
มุมมองความคิดต่างๆของตนเองผ่านเวทีเล็กๆของเราสู่สังคมที่ยิ่งใหญ่ ในหัวข้อ
หากอยากให้องค์กรก้าวหน้า ต้องมีคนกล้าที่จะเป็นปลาฉลาม
3
ที่มาของ ทฤษฎี “ปลาฉลาม”
22
และเล่าไปถึงที่มาของเรื่องเล่านี้ที่มีที่มาจาก
ในอดีตชาวประมงญี่ปุ่น นั้นมักออกหาปลาเป็นเวลาหลายเดือน สืบเนื่องจากยังไม่ได้มีเทคโนโลยีและเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยดั่งในปัจจุบัน ซึ่งหลังจากจับปลามาได้นั้นก็ต้องนำไปแช่แข็งไว้ก่อนเผื่อให้ยังรักษาความสดใหม่ แต่เมื่อกลับมาถึงฝั่งเพื่อนำมาขายกลับพบว่าปลาเหล่านั้นเนื้อไม่แน่นเหมือนปลาที่ถูกจับมาจากทะเลแบบสดๆ
33
ดังนั้นชาวประมงญี่ปุ่นจึงคิดกันว่าลองเอาน้ำทะเลมาใส่ใต้ท้องเรือเพื่อใส่ปลาที่จับไว้ใต้นั้นด้วยความคาดหวังที่ว่า ปลาเหล่านั้นจะว่ายน้ำอย่างขยันขันแข็ง อย่าพึ่งปล่อยให้ตายจะได้ไม่ต้องนำไปแช่แข็ง แต่ความจริงที่น่าปวดใจก็คือ
เพราะปลาที่ถูกขังอยู่ใต้ท้องเรือเป็นเวลานานหลายวัน ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ทำให้เนื้อปลาไม่แน่นเหมือนปลาที่อยู่ในทะเล ซ้ำร้ายหากมีปลาบางตัวที่ตายเพราะเหนื่อยหน่าย ไม่ว่ายน้ำไปเพียงแค่ 1 ตัว ก็อาจจะส่งเน่าเหม็นไปทั่วใต้ท้องเรือติดปลาตัวอื่นได้ เมื่อนำกลับมาขายนอกจากจะขาดทุนแล้วยังเสียภาพลักษณ์และชื่อเสียงของชาวประมงคนนั้นอีกด้วย
หลังจากครุ่นคิดกุมขมับอยู่นาน ชาวประมงญี่ปุ่นจึงตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยวิธีสุดโต่งไปเลยด้วยการนำปลาฉลามมาใส่ไว้ใต้ท้องเรือ ผลลัพธ์ดันออกมาดีมากซะงั้น ด้วยการที่ปลาเล็กปลาน้อยว่ายหนีเอาชีวิตรอดจากการกลายเป็นเหยื่อของปลาฉลาม จนมาถึงฝั่งปลาเหล่านั้นจึงมีเนื้อที่แน่นซะยิ่งกว่าปลาจับใหม่จากท้องทะเลทำให้ขายได้กำไรราคาดีสุดๆ รวมไปถึงปลาบางตัวที่ว่ายหนีไม่ทันหรือเฉยชาไปจนตาย ปลาฉลามก็ไล่เก็บกินจนไม่มีกลิ่นเน่าเหม็นอีกด้วย
แน่นอนว่าชาวประมงญี่ปุ่นจำเป็นจะต้องยอมเสียปลาเล็กบางส่วนไป แต่ปลาส่วนใหญ่ที่ยังเหลืออยู่นั้นมีคุณภาพกว่าเดิมมาก คุ้มค่ากับการลงทุนเสี่ยงด้วยวิธีนี้ยิ่งนัก
โดยหลักการการเลือกปลาฉลามนั้นคือต้องไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป
หากปลาฉลามตัวใหญ่เกินไป
นั้นจะไล่กินปลาเล็กปลาน้อยจนหมด จนไม่เหลือ
หากปลาฉลามตัวเล็กเกินไป
นั้นก็อาจจะถูกปลาเล็กปลาน้อยรวมพลังกันตอดจนบาดเจ็บได้เช่นกัน
หลังจากได้รับคอมเม้นจากเหล่า Mentors รู้สึกว่าบางครั้งเรื่องนี้อาจจะอินกับคนที่กำลังประสบอยู่ แต่จะยังเข้าถึงยากกับคนที่ยังไม่ได้เจอกับตัว จนตกผลึกได้ว่าบางครั้งเรื่องขององค์กรนั้นกลับกลายเป็นเรื่อง "ภายนอก" สิ่งที่เหมาะจะสื่อสารแล้วสามารถเข้าถึงคนฟังในระดับที่ใหญ่ขึ้นคือการเริ่มจากพูดถึงเรื่อง "ภายใน" แล้วจะใกล้ตัวมากขึ้น จึงได้มองมุมใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงาน จากงาน TEDxKasetsartU 2024: Call for Speakers กลายมาเป็น
"Shark Mindset เปลี่ยนวิธีคิดพลิกชีวิตแบบปลาฉลาม"
ที่เน้นการพูดถึงมุมการเริ่มจากพัฒนาตนเองด้วยการเปรียบเทียบกับปลาฉลาม เพราะหากเริ่มจากภายในสร้างเป็นความสามารถติดตัวนำไปสู่นิสัยและวินัยที่ดี กลายมาแบบ Mindset วิธีคิดในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ (ภายนอก) รวมไปถึงเมื่อเจอปัญหานั้นก็สามารถพลิกจากวิกฤติให้กลับมาเป็นโอกาสได้เสมอ
8
โดยสมมุติให้:
ปลาเล็ก
คือนิสัยเสียในตัวของเรา ที่ใช้ชีวิตแบบ Passive เฉยชาและเบื่อหน่าย ไร้ซึ่งจุดหมาย
ปลาฉลาม
คือสิ่งกระตุ้นเพื่อเร่งนิสัยเสียสู่นิสัยดี
จนมาถึงจุดหนึ่งที่ชีวิตที่คิดได้แล้วรู้สึกว่าต้องกล้าเปลี่ยนแปลง ลองทำอะไรที่ท้าทายจึงจำเป็นต้องนำ ปลาฉลาม เข้ามาใส่ในตัวสักที ซึ่งนี่แหละคือผลลัพธ์ที่ได้สร้างโอกาสมากมายในชีวิต
ปลาฉลามคือผู้อยู่เบื้องหลังของการสร้างสมดุลแห่งท้องทะเล นอกจากนี้ในฐานะนักล่าลำดับสูงสุดของห่วงโซ่อหารในท้องทะเล ปลาฉลามยังได้ทำหน้าที่กำจัดปลาที่เชื่องช้า ป่วย หรือใกล้หมดอายุตามวัย ช่วยคัดสรรสายพันธุ์ปลาอื่นๆให้แข็งแรง ขณะเดียวกันยังควบคุมพฤติกรรมของปลากินเหยื่อขนาดรองๆลงมาให้อยู่กับร่องกับรอย ทำให้แบ่งสรรกันใช้ทรัพยากรได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ แม้จะดูดุร้าย แต่จริงๆ แล้วกลับเป็นผู้ปิดทองหลังพระที่สร้างประโยชน์มากมาย (เรื่องของคุณเบนซ์)
ปลาฉลามอยู่เดี่ยวก็ "เด่น" อยู่รวมก็ "โดด" โดยปกติมักจะอยู่ร่วมกับฝูงฉลามด้วยกัน ไม่ต่างจากคนที่หากอยากพัฒนาจะต้องอยู่ในสังคมแวดล้อมของคนประเภทเดียวกัน หากหลงไปอยู่ในกลุ่มคนที่มีความเฉื่อยชาถ้าหากอยู่ไปนานๆ ก็อาจจะเป็นแบบนั้นได้เช่นกัน แต่ในบางครั้งฉลามก็สามารถที่จะอยู่ด้วยตัวเองได้ด้วยการเป็นที่พึ่งแห่งตน เพราะเพื่อนที่ดีที่สุดนั้นคือตนเอง จงอย่ารอให้โอกาสดีๆ หายไปเพียงเพราะแค่รอว่าต้องมีเพื่อมาร่วมทำด้วย (เรื่องของน้องไลลา)
ปลาฉลามมุ่งมั่นที่จะเป็นจุดสูงสุดของวัฏจักรห่วงโซ่อาหารแห่งท้องทะเลเสมอ มันจะไม่มองแค่ข้างหน้าหรือข้างล่าง แต่จะมองไปยังข้างบนด้วยการโฟกัส การจัดลำดับเพื่อเลือกทำสิ่งที่สำคัญจริงๆ ดั่งคำกล่าวที่ว่า "จงเล็งไปที่ดวงจันทร์ หากไม่ถึงก็อยู่ท่ามกลางหมู่ดาว" และนี่คือการหาพื้นที่ที่ใช่ของตนเองให้เจอ (เรื่องของน้องเลิฟ มานดิป ซิงห์ เดชเดชาชาญ)
ปลาฉลามคือสัตว์ที่เป็นผู้ฟังที่ดีและเคารพในมุมมองของผู้อื่น มีความสามารถในการอ่านภาษากายของสิ่งมีชีวิตตัวอื่น ๆ ได้ง่ายมาก ทั้งเพื่อนฉลามด้วยกันเองว่า แต่ละตัวกำลังรู้สึกอย่างไร ไปจนถึงสัตว์ใต้น้ำชนิดอื่นว่ากำลังคิดอย่างไรอยู่ นี่คือคุณสมบัติที่จำเป็นมากของการเป็นผู้นำ
เพราะหากไม่เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้คน มองทะลุเข้าไปถึงเนื้อแท้ของผู้คนในทีมไม่ออก ก็ยากที่จะได้รับความร่วมมือด้วยดี และไปจนถึงประสบความสำเร็จได้ด้วยการเปิดใจแบบ Outward mindset และพยายามรับฟังเข้าอกเข้าใจให้ความเคารพในมุมมองที่ต่างกันด้วย Empathy โดยไม่ตัดสินใคร (เรื่องของคุณเหมี่ยวฮวง)
ปลาฉลามมักคอยดูแลผู้ติดตามอย่างเกื้อกูล แม้ในการเปรียบเทียบกับในองค์กรก่อนหน้านี้จะพบว่าเหาฉลามกลายเป็นสิ่งที่เกาะปลาฉลามกิน แต่หากมองในอีกมุมเหาฉลามนั้นช่วยปลาฉลามในการกำจัดปรสิตเล็กๆ และปลาฉลามเองนั้นก็ดูแลปกป้องเหาฉลามจะภัยอันตรายแบบทางอ้อม นอกจากนี้ปลาฉลามยังเป็นโค๊ชเพื่อทำให้เหาฉลามสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ต่อไป (เรื่องของคุณรีม)
ปลาฉลามยืดหยุ่นและคอยเรียนรู้พัฒนาตนเองเสมอ ด้วยจุดเด่นของสรีระที่น่าอิจฉาของปลาฉลามคือ
  • 1.
    มีโครงกระดูกฉลามทำจากกระดูกอ่อน เช่นเดียวกับหูและจมูกของมนุษย์ กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่นและทำให้ฉลามสามารถเคลื่อนที่ผ่านน้ำได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเบาเพื่อให้ฉลามลอยตัวได้
  • 2.
    ประกอบกับปลาฉลามส่วนใหญ่มีฟันหลายแถว เมื่อฟันแถวหน้าสึก แถวใหม่จะเคลื่อนเข้ามาแทนที่เหมือนสายพาน ฉลามบางตัวสามารถสูญเสียฟันได้ถึง 30,000 ซี่ตลอดชั่วชีวิต (ล้มแล้วลุกแบบ Resilience)
อยู่ท้องทะเลไหน อุณหภูมิเท่าไหร่ก็ไม่หวั่น ดั่งคนที่มี Agile Mindset ที่มักจะล้มแล้วรุก เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และเมื่อได้คำตอบจึงลงมือทำให้เร็วที่สุด ไม่จำเป็นต้องเป็น Perfectionism ที่ต้องรอให้พร้อม 100% ก่อนแล้วค่อยลงมือทำ สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้ตัวเองได้อยู่เสมอ อย่าปฏิเสธโอกาสเพราะกลัวการล้มเหลว แต่จงกลัวว่าโอกาสนั้นจะไม่มีอีก (เรื่องของน้อง Messi)
ปลาฉลามไม่เคยว่ายน้ำถอยหลังหรือหยุดว่ายน้ำ สืบเนื่องจากข้อจำกัดของสรีระที่ไม่มีถุงลมดั่งปลาชนิดอื่นๆ ไม่ต่างจากคนที่ต้องคอยก้าวไปข้างหน้าเสมอเพื่อพัฒนาฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ หากพัฒนาตนเองวันละ 1% ใน 1 ปีจะเก่งขึ้นถึง 37 เท่า (จากหนังสือ Atomic Habit ของ James Clear) ด้วย Growth Mindset ผ่านการฝึกทำซ้ำๆ จนชำนาญส่งผลให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ที่สำคัญต้องอย่ายอมแพ้และท้อถอยกับอุปสรรคที่ประดังเข้ามา (เรื่องของคุณแตน)
โดยหากอิงจากเรื่องเล่าชาวประมงญี่ปุ่นก็จะพบว่าปลาฉลามในตัวเรานั้นต้องไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป คำตอบนั้นก็คือ "ความพอดี"
หากใหญ่เกินไป
ก็อาจจะเป็นการเร่งการเปลี่ยนนิสัยที่ดีจนเกิดเป็นการฝืน และกล้ำกลืนสู่กลายเป็น Burnout และอาจจะไปกระทบต่อนิสัยดีๆ อื่นๆ ในตัวนำไปสู่การซึมเศร้าได้
หากเล็กเกินไป
จะทำให้แรงผลักดันไม่มากพอที่จะแก้นิสัยเสียเหล่านั้น สุดท้ายจะคิดว่าตัวกระตุ้นไม่ได้ผล ทั้งที่แท้จริงคือการที่พยายามไม่เพียงพอ
แม้จะสำเร็จก็จงอย่าชะล่าใจ หากล้มเหลวก็จงอย่าท้อไป
Teeraphol Ambhai
คนเรามักมีความฝันอยากจะออกไปแตะขอบฟ้า แต่ก็เหมือนสุดท้ายแม้โชคชะตาไม่เข้าใจ
เมื่อลองมองไปไม่มีหนทาง แต่ก็รู้ว่าฉันต้องไปต่อไป
5
ตรงเส้นขอบฟ้าสีคราม ความหวังนั้นยังนำทางฉันใช่หรือไม่
คำตอบนั้นอยู่กลางคลื่นลม ชีวิตแม้อาจจะต้องล้มลงตรงไหน
แต่ฉันก็ยังยืนยันที่จะ...
ไป
ทฤษฎี “ปลาฉลาม” อยากให้องค์กรก้าวหน้า ต้องมีคนยอมเป็นปลาฉลาม
หลายครั้งที่ผู้นำองค์กรหวังให้คนทำงานมุ่งมั่น มีความขยัน และกระตือรือล้นในการทำงาน แต่ความจริงที่ต้องยอมรับคือมีคนในองค์กรจำนวนมากมีความเฉยชา อยู่ไปวันๆ รอแค่วันหยุดและสิ้นเดือน ดังนั้นผู้นำจำเป็นต้องหา "ปลาฉลาม" มาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง
หน้าที่ของ "ปลาฉลาม" คือคนที่ไล่ตามงาน ดุดัน เอางานมาให้ได้ทันเวลาไม่ว่าจะต้องปะทะแค่ไหนก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่า "ปลาฉลาม" คงไม่ใช่ไสตล์คนที่มีคนชอบนักเท่าไหร่ และมักจะทำให้บรรยากาศแสนสุข อันเฉื่อยชาของเหล่าคนไม่ทำงานเสียไปไม่มากก็น้อย
ผลลัพท์คือพนักงานมีความกระตือรือล้น (บ้างอาจจะทำงานด้วยความกลัว) แต่งานสำเร็จตามเวลา นำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร "ปลาฉลาม" นั้นถ้ามองให้ลึกคือคนที่เสียสละเพื่อองค์กรมากกว่าคนอื่นๆ คงไม่มีใครอยู่ดีๆ อยากจะไปมีปัญหากับคนอื่นไปทั่ว
ซึ่งหัวใจที่สำคัญของการมี "ปลาฉลาม" นั้นก็คือ ต้องไม่ใหญ่/มากจนเกินไปจนทำให้บรรยากาศรวมเสียไปหมด ปลาเล็กลาออกแน่นอน และไม่ตัวเล็ก/น้อยจนเกินไป ที่ไม่มีพลังพอที่จะไปกระตุ้นให้เหล่าคนเฉื่อยชาไม่รู้สึกทำงาน กลายเป็นเพิ่มภาระให้องค์ไปอีก ความพอดีนั้นคือคำตอบ
แต่บางทีก็ต้องระวังเพราะ "ปลาฉลาม" ที่อยู่ผิดที่ผิดเวลาไปเผลอกัดลูกของปลาวาฬ (เด็กเส้น) ก็อาจจะกลายเป็น "หูฉลาม" ในไม่ช้า
ในองค์กรคุณมี "ปลาฉลาม" บ้างไหม หรือคุณใช่ไหมที่เป็น "ปลาฉลาม" ?
Teeraphol Ambhai
จงเป็นปลาฉลามที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อย่าเป็นเหาฉลามที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน
ธีรพล อำไพ
#TEDxKasetsartU #CallforSpeakers #TeerapholAmbhai
โฆษณา