31 ธ.ค. 2023 เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

📊 มุมมองเศรษฐกิจโลก 2053 🎯

โพสต์ส่งท้ายปี 2023 นิคกี้จะพาทุกคนไปลองดูแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในอีก 30 ปีข้างหน้าจากการคาดการณ์ของ Bloomberg Economics กันค่ะ
โดยนิคกี้จะขอคัดเลือกเฉพาะกลุ่มประเทศที่นักลงทุนไทยลงทุนได้ หรือประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลกมาให้อ่านกันนะคะ เพราะฉบับเต็มมันยาวมากๆค่ะ 😅
1
สามารถไล่อ่านทีละรูปได้เลย นิคกี้หวังว่าเพื่อนๆจะพอได้ไอเดียการลงทุนในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยๆ หรือลงทุนใน SSF และ RMF หรือแม้กระทั่งลงทุนให้ลูกให้หลานค่ะ
1
❤️ อย่าลืมกด like กด share ให้นิคกี้ด้วยนะคะ 🥰
ปล. สามารถอ่านได้ในรูป หรือใต้โพสต์ของแต่ละรูปค่ะ
🌍 GDP โลกเติบโตลดลงเหลือ 3.1% ในทศวรรษหน้า
ในอีก 10 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยประมาณ 3.1% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 3.5% ในช่วง 5 ปีก่อนเกิด Covid-19 เบื้องหลังตัวเลขดังกล่าว สถานการณ์ในประเทศเศรษฐกิจหลักๆจะเปลี่ยนแปลงต่อไป โดยเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วจะเผชิญกับอุปสรรคจากประชากรสูงอายุ และกำลังอยู่ในเส้นทางการเติบโตที่ชะลอตัวลง โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยคาดว่าจะอยู่ที่ 1.4% ในทศวรรษหน้า ก่อนจะลดลงเหลือ 1.1% ในระยะถัดไป
1
จีนน่าจะยังคงเติบโตเหนือกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วต่อไป แต่ด้วยปัญหาหนี้ จำนวนประชากร และโอกาสในการไล่ตามที่ลดลงเรื่อยๆจะทำให้การเติบโตร่วงลงมาต่ำกว่า DM ในที่สุด ขณะที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญอื่นๆคาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอินเดีย
🇨🇳 บทบาทจีนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกลดลง
บทบาทจีนต่อการเติบโตทั่วโลกคาดว่าจะจางหายไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องจากประชากรสูงอายุ หนี้สูง และช่องวางที่ลดลงในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) เริ่มเข้ามากระทบกลไกการขยายตัวที่เชื่อถือได้มากที่สุดในโลก ศักยภาพการเติบโตของประเทศซึ่งโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8% ในช่วงทศวรรษก่อนเกิดโรคระบาดนั้น มีแนวโน้มลดลงเหลือ 3.5% ภายในปี 2030 และ 2.8% ภายในปี 2040
โดยจากรูปจะเห็นได้ว่าสัดส่วนการเติบโตจีนต่อเศรษฐกิจโลกลดลง เช่นเดียวกับเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆจะเข้ามามีบทบาทแทนที่ โดยเฉพาะอินเดียที่จะโดดเด่นเป็นพิเศษ
1
📊 EM จะเข้ามาแทนที่ DM เมื่อปัจจัยการเติบโตใหม่มาถึง
ตลาดเกิดใหม่มีส่วนแบ่งของ GDP โลกเพิ่มขึ้นเป็น 58% ในปีที่แล้ว เทียบกับ 40% ในปี 1990 และแนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยส่วนแบ่งของตลาดเกิดใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็น 75% ในปี 2050 ตามการคาดการณ์ระยะยาวของ Bloomberg Economics นอกจากนี้องค์ประกอบของประเทศก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
แม้ว่าสัดส่วนของจีนยังมีแนวโน้มให้เติบโตต่อไป แต่มีโอกาสที่จะขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ประมาณ 20% ก่อนที่จะเริ่มลดลงในปี 2040 ขณะที่การเติบโตที่รวดเร็วยิ่งขึ้นน่าจะทำให้อินเดียและอินโดนีเซียได้รับส่วนแบ่งที่มากขึ้นในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า
🗳️ ประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยจะมีบทบาทลดลง
ในช่วงทศวรรษ 1990 ที่เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้่ประชาธิปไตยกำลังขยายอิทธิพลออกไป แต่การผงาดขึ้นของจีนเพียงฝ่ายเดียวทำให้เรื่องนั้นพลิกผันไปโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามในระยะถัดจากนี้ การเติบโตของจีนมีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งจะทำส่วนแบ่ง GDP โลกที่มาจากประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยก็จะมีจำกัด โดยในปี 1990 ประมาณ 85% ของ GDP โลกมาจากประเทศประชาธิปไตย ก่อนที่ส่วนแบ่งดังกล่าวลดลงเหลือ 67% ในปี 2020 และคาดว่าจะถึงจุดต่ำสุดประมาณ 65% ในช่วงปี 2030
ทั้งนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดสงครามในยูเครน สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมถึงความตึงเครียดอื่นๆ ดังนั้นด้วยการถ่วงดุลของอำนาจในเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เราคาดว่าจะมีความตึงเครียดอะไรเกิดขึ้นอีกเป็นระยะๆ
🇺🇸 ศักยภาพในการเติบโตของสหรัฐฯลดลง
ศักยภาพการเติบโตในสหรัฐอเมริกากำลังอยู่บนเส้นทางชะลอตัวลงจาก 2.2% ในทศวรรษ 2010 เป็น 1.7% ในทศวรรษ 2020, 1.5% ในทศวรรษ 2030 และอาจลดลงไปอีกในทศววรษ 2040 ปัจจัยขับเคลื่อนหลักของการชะลอตัวคือ ประชากรสูงวัยและการเติบโตของผลิตภาพ (productivity) ที่ต่ำ
อย่างไรก็ตามสหรัฐฯอาจมีปัจจัยบวกเข้ามาเซอร์ไพรส์ได้เหมือนกัน เช่น ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นจาก AI และเทคโนโลยีอื่นๆ หรือแนวทางเสรีนิยมมากขึ้นในการรับผู้อพยพ ขณะที่ความเสี่ยงด้านลบ ได้แก่ เส้นทางที่ไม่ยั่งยืนสำหรับหนี้สินของประเทศ และแนวทางนโยบายการค้าและการลงทุนที่มุ่งเน้นไปที่การจัดการความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์มากกว่าการหาโอกาสในการเติบโต
🇨🇳 จีนอาจไม่มีทางแซงสหรัฐฯขึ้นเป็นเบอร์ 1
จีนกำลังเข้าสู่เส้นทางการเติบโตที่ชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาดไว้ ขณะที่การฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิดหมดลงแล้ว สะท้อนถึงความตกต่ำของภาคอสังหาฯและความเชื่อมั่นในการจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ลดลง ประกอบความเชื่อมั่นที่อ่อนแอมีความเสี่ยงที่จะกินเวลานาน ส่งผลให้ศักยภาพในการเติบโตลดลง และทำให้เราปรับลดการคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศ
โดยมุมมอง base case ตอนนี้ได้ขยับเข้าใกล้สิ่งที่เคยมองว่าเป็น worst case มากขึ้น โดยเราคาดการณ์การเติบโตจะชะลอตัวลงเป็น 3.5% ในปี 2030 และ 2.8% ในปี 2040 และใกล้ 1% ในปี 2050 เทียบกับก่อนหน้านี้ที่เราคาดว่าจะเป็น 4.3%, 3.4% และ 1.6% ตามลำดับ
นัยสำคัญของการชะลอตัวที่รุนแรงยิ่งขึ้นก็คือ จีนอาจไม่มีโอกาสที่จะกลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกต่อไปในเร็วๆนี้นั่นเอง
🇮🇳 อินเดียมีโอกาสเติบโตสูงถึง 8.5% ในทศวรรษที่ 2030
ศักยภาพการเติบโตของ GDP ของอินเดียกำลังเข้าสู่ช่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้แรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ ตั้งแต่การลดภาษีนิติบุคคลและการผลักดันของรัฐบาลให้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและอุดหนุนภาคการผลิต นอกจากนี้ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังส่งผลให้ผู้ผลิตต่างชาติหันมาตั้งฐานการผลิตในอินเดียแทนที่จีนมากขึ้น
เราคาดว่าศักยภาพการเติบโตจะดีดตัวขึ้นเป็น 5.3% ในปีนี้จนถึงเดือนมีนาคม 2024 และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 8.5% ภายในปี 2030 และคงอยู่ที่ระดับนั้นจนถึงปี 2035 โดยได้แรงหนุนจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในด้านการผลิตและพลังงานหมุนเวียน การแปรรูปทรัพย์สินสาธารณะมากขึ้นและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในพื้นที่ชนบทในวงกว้าง อย่างไรก็ตามเริ่มตั้งแต่กลางทศวรรษ 2030 จำนวนประชากรและการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ลดลงมีแนวโน้มที่จะกดดันการเติบโตบ้างเล็กน้อย
🇬🇧 สหราชอาณาจักรเติบโตต่ำไปตลอดกาล
เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรมีการเติบโตเพียงเล็กน้อยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็ปรับตัวลงยากมากๆ ดังนั้นความสามารถในการเติบโตโดยไม่ต้องทำให้เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นนั้นอยู่ในระดับต่ำ โดยเราคาดว่ากรณีที่ดีที่สุดคือการเติบโตอาจปรับตัวขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1% ต่อปีไปเป็น 1.2% เนื่องจากเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2025 และจะเติบโตโดยเฉลี่ยที่ระดับนั้นจนถึงปี 2040
1
แม้ว่ามุมมองในตอนนี้จะคล้ายคลึงกับการคาดการณ์ระยะยาวครั้งก่อนของเรา แต่องค์ประกอบของการเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงออกไปเล็กน้อย โดยอพยพเข้าที่แข็งแกร่งจะถูกทดแทนด้วยการเพิ่มผลผลิตที่ช้าลง ขณะที่ปัจจัยการผลิตด้านแรงงานจะเป็นตัวถ่วงเศรษฐกิจตั้งแต่กลางทศวรรษ 2040 เมื่อประชากรมีอายุมากขึ้น และส่งผลให้การเติบโตปรับตัวลงต่ำกว่า 1%
🇩🇪 เยอรมนีจะเข้าสู่ช่วงเติบโตต่ำมากๆ
Bloomberg Economics ประมาณการว่าการเติบโตที่เป็นไปได้สำหรับเยอรมนีในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.6% และคาดว่าจะลดลงต่ำกว่า 0.5% ภายในปี 2030 ซึ่งต่ำกว่าแนวโน้มการเติบโตในช่วงหลายปีก่อนเกิดโรคระบาดประมาณ 1 จุดเปอร์เซ็นต์ (percentage point, ppt) ขณะที่ในอนาคตข้างหน้าการคาดการณ์ระยะยาวของเราคาดว่าผลผลิตขยายตัวประมาณ 0.7% ในปี 2040
โดยเราคาดการณ์ว่าการเพิ่มผลิตภาพจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของการเติบโตในทศวรรษต่อๆไปโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยประมาณ 0.4 ppt และการเพิ่มขึ้นของสต็อกทุนจะเป็นตัวขับเคลื่อนประการ 2 โดยมีส่วนโดยเฉลี่ยประมาณ 0.3 ppt ในทางตรงกันข้าม การมีส่วนร่วมของแรงงานจะเปลี่ยนเป็นลบตั้งแต่ปี 2024 โดยประชากรวัยทำงาน การมีส่วนร่วมของตลาดแรงงาน และชั่วโมงทำงานเฉลี่ยลดลง และแนวโน้มอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
🇫🇷 ฝรั่งเศสต้องหาปัจจัยการเติบโตใหม่
ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ยากลำบากต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศส เราประเมินว่าการเติบโตโดยเฉลี่ยจะน้อยกว่า 0.7% ต่อปีในช่วงปี 2020-2023 ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของอัตราการเติบโตในช่วงห้าปีถึงปี 2019 ทั้งนี้เราคาดว่าการเติบโตจะดีดตัวขึ้นเป็น 1.2% ตลอดช่วงที่เหลือของทศวรรษ 2020 เนื่องจาก total factor productivity ซึ่งลดลงในช่วงสี่ปีที่ผ่านมาจะเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง
ถึงกระนั้นเราคาดการณ์ว่าการเพิ่มผลิตภาพจะยังคงอยู่ในระดับปานกลางโดยอยู่ที่ประมาณ 0.3% ต่อปี อุปทานแรงงานและการสะสมทุนมีส่วนอย่างมากต่อการเติบโตในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่จำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มถึงหมายความว่าปัจจัยหนุนนี้จะลดลงในทศวรรษต่อๆไป การต่อต้านการปฏิรูปเงินบำนาญอย่างรุนแรงชี้ให้เห็นว่านโยบายต่างๆ จะต้องดิ้นรนเพื่อชดเชยการแรงกดดันนี้อย่างเต็มที่ และเราคาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงเหลือ 0.9% ในช่วงทศวรรษ 2030 และ 0.7% ใน 2040
🇮🇹 อิตาลีจะเติบโตแค่ 0.6% ในระยะยาว
Bloomberg Economics คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของอิตาลีจะเติบโต 0.9% ในปี 2023 หลังจากขยายตัว 3.8% ในปี 2022 ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอาจผลักดันช่องว่างการผลิตไปสู่แดนบวก นโยบายการเงินตึงตัวจะช่วยลดอุปสงค์ส่วนเกินในปีนี้และปีหน้า
เราคาดว่าการเติบโตของ GDP จะชะลอตัวลงเหลือ 0.6% ในปี 2024 ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นเป็น 1.2% ในปี 2025 ก่อนจะชะลอตัวลงเหลือ 0.8%-0.9% ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษเมื่อปัจจัยจากแรงงานจะพลิกจากบวกไปเป็นลบ ก่อนที่อัตราการเติบโตดังกล่าวจะลดลงเหลือ 0.7% ในช่วงต้นทศวรรษ 2030 และเหลือ 0.6% ในช่วงกลางทศวรรษ 2030 และลากยาวไปจนถึงปี 2050
🇪🇸 สเปนแทบจะไม่เติบโตเลยในระยะยาว
การที่เศรษฐกิจสเปนผ่านพ้นฟองสบู่ด้านอสังหาริมทรัพย์ วิกฤตหนี้ และการระบาดใหญ่ทั่วโลกภายในระยะเวลา 20 ปี อาจทำให้ใครหลายคนพูดว่าช่วงเวลาดีๆกำลังรออยู่ข้างหน้า แต่ความเป็นจริงของการเติบโตที่ลดลงในระยะยาวหมายความว่าจะสเปนจะมีปัญหาอีกมากมายรออยู่ข้างหน้า หลังจากเติบโตเฉลี่ยประมาณ 2% ในช่วงสองทศวรรษก่อนเกิดโรคระบาด
เราคาดการณ์ว่าศักยภาพการเติบโตจะอยู่ที่เฉลี่ย 1% จนถึงปี 2040 และจะชะลอตัวต่อไปหลังจากนั้น และสิ้นสุดปี 2050 ที่ 0.2% โดยแนวโน้มด้านประชากรศาสตร์ที่ไม่ดีจะส่งผลให้จำนวนพนักงานลดลงอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในสถิติการผลิตที่เลวร้ายที่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้ความหวังของการฟื้นตัวครั้งใหญ่มีเล็กน้อยเท่านั้น และควรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลชุดต่อไปต้องเข้ามาแก้ไข
🇷🇺 รัสเซียจะยิ่งยากลำบากมากขึ้นไปอีก
ในปี 2018 ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้ออกมาให้คำมั่นสัญญาว่าจะผลักดันการเติบโตของ GDP ประจำปีของรัสเซียให้สูงกว่า 3% อย่างไรก็ตาม 6 ปีต่อมาในเดือนมีนาคม 2024 ระหว่างการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งใหม่ครั้งที่ 5 เขาจะต้องรายงานการเติบโตโดยเฉลี่ยเพียง 1 ใน 3 ของที่เขาเคยสัญญาไว้ที่ 1.2% ต่อปีเท่านั้น
มาตรการกระตุ้นทางการคลังและการเงินเชิงรุกช่วยให้เศรษฐกิจรัสเซียฟื้นตัวจากการคว่ำบาตร แต่ในทศวรรษหน้าการเติบโตจะยังคงอยู่ที่ประมาณ 1.0% ต่อปี ขณะที่กลยุทธ์การพัฒนาประเทศของรัฐบาลที่เลือกจะยังคงเป็นการทดแทนการนำเข้าต่อไปซึ่งให้ผลลัพธ์เพียงเล็กน้อยนับตั้งแต่ปี 2015 จะยิ่งมีประสิทธิภาพน้อยลงไปอีกในระยะถัดจากนี้ เนื่องจากสิ่งรัสเซียจะเสนอให้กับผู้ผลิตที่เต็มใจจะสร้างโรงงานในประเทศอาจไม่มีแรงดึงดูดอีกต่อไป
🇮🇩 อินโดนีเซียจะยังคงรักษาการเติบโตได้ในระยะยาว
เราคาดว่าศักยภาพการเติบโตของอินโดนีเซียจะมีเสถียรภาพในวงกว้างในอีก 3 ทศวรรษข้างหน้า สถานการณ์กรณีฐานของเราคาดว่าอินโดฯจะมีการขยายตัวโดยทั่วไปประมาณ 4% ภายในปี 2030 และ 3.5% ภายในปี 2050 เทียบกับ 3.8% โดยเฉลี่ยระหว่างปี 1993 ถึง 2019 ทั้งนี้การรักษาเสถียรภาพของอัตราการเติบโตนี้จะต้องอาศัยการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวนมาก และทุนในส่วนนี้จะต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อลดช่องว่างทางโครงสร้างพื้นฐานและทางการศึกษา
ประกอบกับปัจจัยสต็อกทุนที่เพียงพอและแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้นจะช่วยสร้างการทำงานร่วมกันที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตโดยรวม การเติบโตที่เพียงพอในพื้นที่เหล่านี้มีความจำเป็นเพื่อรับมือกับอุปสรรคจากการเติบโตของกำลังแรงงานที่ช้าลงและผลกระทบจากภายนอก
🇹🇭 Thailand 4.0 ไม่ช่วยอะไรเลย
1
แนวโน้มการเติบโตในระยะยาวของเราสะท้อนว่าความคืบหน้าไปสู่เป้าหมายของรัฐบาล "ประเทศไทย 4.0" เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและบรรลุสถานะผู้มีรายได้สูงภายในปี 2036 มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจจะช่วยชดเชยแรงกดดันการเติบโตจากจำนวนประชากรที่ลดลงได้บ้าง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะชะลอตัวลงภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาวต่อศักยภาพในการเติบโต ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อเงินทุน แรงงาน และผลิตภาพ
ความตึงเครียดทางการเมืองที่ยืดเยื้อหลังการเลือกตั้งในปี 2023 ก็มีแนวโน้มที่จะจำกัดการลงทุนเช่นกัน เมื่อนำทุกอย่างมารวมกันในอีก 30 ปีข้างหน้า การเติบโตของไทยจะเฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 2% ต่อปี ซึ่งนั่นจะลดลงจาก 3.3% ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา
🇻🇳 เวียดนามเติบโตชะลอตัวลง แต่จะอยู่สูงกว่า 5% ต่อไป
การเติบโตของเวียดนามควรจะอยู่เหนือระดับ 5% ในตลอดช่วงการคาดการณ์ 30 ปีของเรา แม้ว่าโครงสร้างประชากรจะเริ่มส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการขยายตัวตั้งแต่ประมาณปี 2038 นอกเหนือจากนั้นเราคาดว่าศักยภาพในการเติบโตจะอยู่ที่ประมาณ 5% จนถึงปี 2053 แนวโน้มการเติบโตที่ค่อนข้างแข็งแกร่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่ยังคงให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการศึกษาและโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจอย่างยั่งยืนและการผสมผสานนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างรอบคอบเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ขณะที่ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลในการศึกษาแบบครอบคลุมตลอดชีวิตจะสนับสนุนการเติบโตของทุนมนุษย์และเพิ่มผลผลิตโดยรวม อีกทั้งยังช่วยรักษาการมีส่วนร่วมของแรงงานให้อยู่ในระดับสูงอีกด้วย
Source: Bloomberg
#เศรษฐกิจ #การเงิน #ลงทุน #กองทุน #มือใหม่ #ข่าวเศรษฐกิจทั่วโลก #ข่าวทั่วโลก #หุ้น #กองทุนรวม #ดอกเบี้ย #นักลงทุน #GDP #สหรัฐฯ #outlook #2053 #จีน #ไทย #เวียดนาม #ยุโรป #เยอรมัน #อิตาลี #ฝรั่งเศส #รัสเซีย #อินโดนีเซีย #สเปน #อินเดีย #เศรษฐกิจโลก #EmergingMarket
โฆษณา