Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
3 ม.ค. เวลา 02:30 • ธุรกิจ
“2 บัญชี” ท่าประจำเลี่ยงภาษี ธุรกิจไทย
ในการดำเนินธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ทุกบริษัทมีเป้าหมายเหมือนกันก็คือ สร้างกำไรให้ได้มากที่สุด
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างผลตอบแทน ให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าของกิจการ
2
แต่กำไรที่มากขึ้น ก็จะมีค่าใช้จ่าย “ภาษี” เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
บางบริษัท เลือกที่จะใช้วิธีการบางอย่าง เพื่อจ่ายภาษีให้น้อยลง หรือหลีกเลี่ยงภาษี โดยมีสิ่งที่เรียกว่า “ระบบบัญชี 2 เล่ม” ช่วยในการบริหารจัดการ
แล้วระบบบัญชี 2 เล่ม คืออะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ระบบบัญชี 2 เล่ม ความหมายตรงตัวเลยก็คือ การที่กิจการหนึ่ง ๆ มีการทำบัญชีขึ้นมา 2 เล่ม
1
- เล่มแรก สำหรับส่งหน่วยงานรัฐ และเผยแพร่ให้นักลงทุน
- เล่มที่ 2 สำหรับใช้เฉพาะภายในบริษัท
แล้วทำไมบริษัท ถึงต้องจัดทำบัญชี 2 เล่ม ?
คำตอบก็คือ เพื่อแยกสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในกิจการ กับสิ่งที่บริษัท อยากให้โลกรู้ ออกจากกัน..
3
โดยบัญชีเล่มแรกนั้น มีแรงจูงใจในการทำให้ตัวเลขกำไรออกมาน้อย ๆ เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง
1
ในขณะที่เล่มที่ 2 จะบันทึกบัญชีแบบตรงไปตรงมา เพื่อดูผลประกอบการที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง แล้วนำไปใช้สำหรับบริหารกิจการ
1
ต้องบอกก่อนว่า ตามมาตรฐานการทำบัญชี ระบบบัญชี 2 เล่มนั้น ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากวิธีการบริหารจัดการ ของบางกิจการเท่านั้น
ในแต่ละไตรมาสหรือแต่ละปี บริษัทต่าง ๆ ก็จะต้องมีการจัดทำบัญชี เพื่อรวบรวมข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ ของกิจการ ก่อนที่จะสรุปออกมาเป็น งบการเงิน
3
หลังจากได้งบการเงินแล้ว บริษัทก็จะนำส่งไปยังหน่วยงานรัฐต่าง ๆ เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
หรือถ้าหากเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ก็ต้องนำส่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึง ก.ล.ต. ด้วย
ซึ่งภาษีที่บริษัทจะต้องจ่าย ก็จะถูกคิดมาจากงบการเงินนี้ แต่อาจจะมีการปรับปรุงรายการทางบัญชีบางรายการ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ในการคำนวณภาษี
โดยทั่วไป ถ้าหากบริษัทมีกำไรมาก รายจ่ายภาษีก็มักจะสูงเป็นเงาตามตัว หากไม่มีการสนับสนุนหรือการลดหย่อนพิเศษจากภาครัฐ
ในบางบริษัท จึงมีการใช้ช่องโหว่ทางบัญชีหรือทางกฎหมายมาช่วย เพื่อให้บริษัทเสียภาษีลดลง หรืออาจถึงขั้นหลีกเลี่ยงไม่จ่ายภาษีเลย แม้จะมีกำไรที่สูงมากก็ตาม
ซึ่งแนวทางหลัก ๆ ที่บริษัทนิยมใช้กัน เพื่อลดการจ่ายภาษี ก็คือ
- บันทึก “รายได้” ให้ต่ำที่สุด
- สร้าง “ค่าใช้จ่าย” ให้มากที่สุด
1
เพื่อทำให้ตัวเลขกำไร ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี ลดลง
2
ในส่วนของฝั่งรายได้ บางกิจการ อาจพยายามหาทางหลบเลี่ยงการบันทึกรายได้เข้ามา หรือบันทึกรายได้ให้น้อยกว่าความเป็นจริง
2
เช่น เวลาขายของได้ ก็ให้ลูกค้าจ่ายเป็นเงินสด หรือโอนเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคลแทน โดยไม่ผ่านบัญชีของกิจการ
1
ซึ่งในบัญชีเล่มแรก ที่นำส่งหน่วยงานรัฐ ก็อาจไม่มีการบันทึกตัวเลขรายได้ในส่วนนี้
1
แต่จะบันทึกในบัญชีเล่มที่ 2 เพื่อให้เจ้าของกิจการ รู้รายได้ที่เข้ามาจริง ๆ
หรือเคยไหม เวลาเราไปซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้า แล้วมักถูกถามว่า “จะเปิดบิล VAT ไหม ?”
เพราะร้านจะคิดราคาสินค้าหรือบริการ ระหว่างเอา VAT กับไม่เอา VAT แตกต่างกัน
ซึ่งโดยทั่วไป ถ้าหากลูกค้าเลือกที่จะขอเปิดบิล VAT หรือใบกำกับภาษี ราคาของสินค้าหรือบริการนั้น ก็มักจะแพงกว่าการเลือกไม่ขอเปิดบิล VAT
1
เหตุผลสำคัญของวิธีนี้ก็คือ หากลูกค้าไม่เปิดบิล VAT กับทางร้านค้า ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า บริษัทจะไม่นำรายได้ที่เกิดขึ้น เข้าไปบันทึกไว้ในบัญชี
ซึ่งจะทำให้รายได้และกำไร ที่นำมาคำนวณภาษี ลดน้อยลงไปด้วย นั่นเอง
อีกทั้งร้านค้า อาจใช้ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ เช่น
- รับค่าสินค้าเป็นเงินสด
- ให้โอนเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคล หรือบุคคลที่สาม
1
เพื่อให้การหลีกเลี่ยงการบันทึกรายได้ตรวจสอบได้ยากขึ้น
ซึ่งกิจการที่จะใช้วิธีเหล่านี้ มักเป็นกิจการขนาดเล็กอย่าง SME หรือเป็นระดับห้างหุ้นส่วนจำกัด
4
พูดถึงฝั่งของรายได้กันแล้ว
ทีนี้ มาดูมุมการสร้างรายจ่ายให้มากที่สุดกันบ้าง..
โดยบริษัท อาจใช้วิธีสั่งสินค้าหรือบริการ จากบริษัทอื่น ๆ ที่สูงกว่าราคาในตลาด
1
หรือแม้แต่การจ้างพนักงานแบบปลอม ๆ ขึ้นมา เพื่อให้ส่วนของต้นทุนในการประกอบธุรกิจ เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งก็จะส่งผลให้กำไรของบริษัท ลดน้อยลง และเสียภาษีต่ำลง
โดยบริษัทที่เป็นผู้ส่งสินค้าหรือบริการ รวมถึงพนักงานปลอมเหล่านี้ ก็มักจะเป็นคนใกล้ชิดของผู้บริหารนั่นเอง
เช่นเดียวกับกรณีของธุรกิจขนาดเล็ก ที่อาจจะมีการใช้กลเม็ดต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินเดือนให้ญาติพี่น้อง โดยที่ไม่ได้ทำงานจริง
1
หรือเอาเงินไปใช้จ่ายกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจ อย่างการที่เจ้าของกิจการ ซื้อของใช้ส่วนตัว แต่บันทึกเป็นรายจ่ายของกิจการ เป็นต้น
นอกจากการหาทางทำให้ “รายได้ต่ำ” และ “ค่าใช้จ่ายสูง” กว่าความเป็นจริงแล้ว
1
อีกแนวทางของผู้ประกอบการ ในการลดภาษี ก็คือ การใช้สิทธิประโยชน์ทางกฎหมาย ในการจัดสรรกำไร
ตัวอย่างเช่น
- หากบริษัท A มีผลกำไร 10 ล้านบาท ในการคำนวณภาษีนิติบุคคล ซึ่งปัจจุบันคิดอยู่ที่ 20% เท่ากับว่า บริษัท A จะต้องเสียภาษีสูงถึง 2 ล้านบาท
1
- หากผู้บริหารบริษัท A เลือกที่จะตั้งธุรกิจ SME ขึ้นมา 3 แห่ง แล้วสั่งสินค้าหรือบริการจาก SME ที่ตั้งขึ้นมาใหม่
1
ทำให้บริษัท A มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น มีกำไรลดลง
ส่วน SME (ของบริษัท A) ก็มีรายได้และกำไร เพิ่มเข้ามาแทน
หรือก็คือ เป็นการถ่ายโอนกำไรจากบริษัท A กระจายไปตาม SME ที่ตั้งขึ้นใหม่
โดยพยายามจัดสรรให้ SME แต่ละแห่ง มีกำไรไม่เกิน 3 ล้านบาท
1
เพราะตามกฎหมายธุรกิจ SME จะถูกคิดภาษีในอัตรา 15% หากมีกำไรไม่เกิน 3 ล้านบาท เท่ากับว่ากำไรก้อนที่ควรจะถูกคิดภาษี 20% ของบริษัท A จะไปถูกคิดภาษี 15% แทน ในนามของบริษัท SME ที่ตั้งขึ้นมา
ในขณะที่บริษัท A ก็จะจ่ายภาษีลดลงกว่าที่ควรจะเป็น หรืออาจไม่ต้องจ่ายเลย หากมีผลประกอบการขาดทุน
โดยบริษัท SME ที่ตั้งมา อาจตอบแทนผู้บริหารหรือบริษัท A ด้วยวิธีอื่น ๆ แทน ซึ่งก็สรุปได้ว่า บริษัท A จะได้ผลประโยชน์อยู่ดี แถมยังเสียภาษีลดลง
1
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของแนวทางการทำบัญชี เพื่อหลบเลี่ยงภาษีเท่านั้น
ในความเป็นจริง บางบริษัทอาจใช้วิธีอื่น ๆ ในการหลบเลี่ยงมากมาย เช่น การทำธุรกรรมผ่านดินแดนปลอดภาษี หรือ Tax Haven ซึ่งมักเป็นท่าประจำที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกเลือกใช้
1
มาถึงตรงนี้ ทุกคนก็คงจะนึกออกแล้วว่า ในกิจการที่ทำระบบบัญชี 2 เล่มนั้น
มีเป้าหมายหลักคือ เพื่อช่วยให้บริษัทสามารถ แยกการทำบัญชีได้ชัดเจน
1
บัญชีเล่มแรก ที่ถูกปรับแต่ง เพื่อประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงภาษี และนำส่งหน่วยงานรัฐ เป็นเล่มที่รายงานผลกำไรของบริษัท ต่ำกว่าความเป็นจริง
1
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดจรรยาบรรณ และอาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมายด้วย..
ในขณะที่ข้อมูลจริง ๆ ทั้งรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรที่แท้จริง จะถูกบันทึกลงในบัญชีอีกเล่ม สำหรับใช้ภายในบริษัท ซึ่งก็มักจะจำกัดการเข้าถึงเฉพาะผู้บริหารระดับสูง หรือพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น
แต่ทั้งนี้ต้องบอกว่า จริง ๆ แล้ว การทำบัญชี 2 เล่ม เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
1
โดยการทำบัญชี 2 เล่ม เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี อาจทำให้บริษัทและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความผิด ทั้งในทางศีลธรรมและกฎหมาย หากถูกตรวจพบ
1
เพราะในปัจจุบัน หน่วยงานรัฐโดยเฉพาะกรมสรรพากร มีระบบการเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และแม่นยำมากขึ้น ทำให้บริษัทที่คิดจะหลีกเลี่ยงภาษี ทำได้ยากกว่าสมัยก่อนมาก
1
อีกทั้งธุรกิจที่มีกำไรน้อย ก็มักจะเกิดปัญหา เวลาต้องการขอกู้ยืมเงิน เพราะเจ้าหนี้อาจมองว่าธุรกิจไม่ได้แข็งแกร่ง ส่งผลให้กู้เงินไม่ผ่าน หรือต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูง
4
นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดต้นทุนอื่น ๆ ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นตามมา เช่น เวลา, ค่าจ้างบุคลากรที่มีส่วนร่วม, ค่าใช้จ่ายในการทำบัญชีหรือทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อหลบเลี่ยงภาษี
ถึงแม้จะทำให้จ่ายภาษีน้อยลง หรือไม่ต้องจ่ายเลย
แต่ก็อาจจะไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับการนำทรัพยากรเหล่านี้ ไปมุ่งพัฒนาธุรกิจให้เติบโต..
1
ธุรกิจ
99 บันทึก
114
169
99
114
169
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย