4 ม.ค. เวลา 10:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ปริศนาของเที่ยวบิน MH370 อาจถูกคลี่คลายด้วยพื้นที่ค้นหาใหม่ ที่จะรู้ผลในเวลาไม่ถึงเดือน

ด้วยทฤษฎีที่ว่าการหายไปของเที่ยวบิน MH370 นี้เป็นไปได้สูงว่าเป็นการทำโดยนักบินที่ชำนาญการบิน ด้วยการตั้งใจทำให้เครื่องบินลงจอดในทะเลแบบที่ตัวเครื่องแทบไม่เสียหายซึ่งจะทำให้ไม่มีซากเครื่องแตกกระจายทั่วผิวน้ำทำให้ยากต่อการค้นหา แต่ด้วยแนวคิดนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตีกรอบพื้นที่ค้นหาใหม่ให้เล็กลงได้
11
เป็นเวลาเกือบ 10 ปีกับการหายไปของเที่ยวบิน MH370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ที่มุ่งหน้าจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังปักกิ่ง ซึ่งยังคงเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกเรือและผู้โดยสารกว่า 237 ชีวิต
4
แต่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ฌอง-ลุค มาร์ช็องด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินและ แพทริค เบลลี ซึ่งเป็นนักบิน ได้ออกมาขอให้มีการทำการค้นหาซากเครื่องบินใหม่อีกครั้ง
2
โดยในการบรรยายที่ Royal Aeronautical Society ประเทศออสเตรเลียซึ่งพวกเขาได้ทำเสนอพื้นที่ค้นหาใหม่ซึ่งจะสามารถทำการค้นหาเสร็จสิ้นได้ภายในเวลาประมาณ 10 วันด้วยการใช้โดรนใต้น้ำในการดำค้นหา
2
เส้นทางการบินที่คาดการณ์ของ MH370 ซื่งจากปฏิบัติการค้นหาอยู่หลายเดือน ใช้กำลังคนและหมดสิ้นค่าใช้จ่ายไปมากมายแต่สุดท้ายก็ต้องล้มเลิกไปเพราะไม่มีแม้แต่วี่แวว
โดยทั้งคู่ได้ออกมาเรียกร้องให้สำนักงานความปลอดภัยการขนส่งของออสเตรเลีย, รัฐบาลมาเลเซีย และ Ocean Infinity บริษัทรับสำรวจทางทะเลสำหรับการเริ่มปฏิบัติการค้นหาใหม่อีกครั้ง
1
ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว Ocean Infinity ได้ออกมาแสดงความจำนงว่าพร้อมเริ่มปฏิบัติการค้นหาภายในพื้นที่มหาสมุทรอินเดียด้วยเงื่อนไข “no find, no fee” หรือไม่เจอไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง
2
สำหรับพื้นที่ค้นหาใหม่ที่ทั้งคู่นำเสนอใหม่นั้นตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าเที่ยวบิน MH370 ถูกไฮแจ็คโดยนักบินที่ชำนาญการบินอย่างมากกับความตั้งใจในการนำเครื่องจมลงสู่ก้นทะเลแบบเสียหายน้อยที่สุด
แผนภาพแสดงระดับการบินซึ่งจะมีการลดระดับและค่อย ๆ ร่อนลงจอดบนผิวน้ำเพื่อให้ตัวเครื่องบินเสียหายน้อยที่สุดก่อนค่อย ๆ จมลงสู่ก้นทะเล
ด้วยการลดแรงดันในห้องโดยสารและค่อย ๆ ประคองเครื่องร่อนลงจอดบนผิวน้ำเพื่อให้ตัวเครื่องบินเสียหายน้อยที่สุดก่อนที่จะค่อย ๆ ปล่อยจมลงสู่ก้นทะเล ซึ่งจะทำให้แทบไม่มีซากเครื่องให้หน่วยค้นหาสังเกตเจอได้เลย
1
นักบินที่เชี่ยวชาญการบินการประคองเครื่องลงจอดบนผิวน้ำก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
และจากข้อมูลเส้นทางการบินก็แสดงให้เห็นว่าเป็นการบังคับบินด้วยนักบินไม่ใช่ Auto pilot และเป็นการตั้งใจบินผ่านบริเวณที่เรียกว่า no man’s land ซึ่งขอบเขตเรดาห์ของมาเลเซียไม่ครอบคลุม
และแม้ระยะเรดาห์ของกองทัพอากาศไทยกับอินเดียจะเห็นแต่กว่าจะขอให้เปิดเผยข้อมูลได้ก็ต้องใช้เวลาเพราะเป็นข้อมูลชั้นความลับทางทหาร (เพราะมันคือการบอกขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศของประเทศนั้น ๆ)
4
เส้นทางบินหักเลี้ยวเจ้าปัญหาที่ทำให้ปฏิบัติการค้นหาเริ่มได้ล่าช้า
ซึ่งพื้นที่ค้นหาใหม่นี้ยังใช้ข้อมูลจากรายงานการศึกษาเส้นทางของเศษซากเครื่องของเที่ยวบิน MH370 ที่มีการค้นพบทางตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย ว่าเศษซากที่ถูกพบนี้น่าจะถูกกระแสน้ำพัดพามาจากบริเวณทางตะวันตกห่างออกไป 1,560 กิโลเมตรของเมืองเพิร์ซประเทศออสเตรเลีย
2
แผนภาพจากรายการการศึกษาความเป็นไปได้ของตำแหน่งจุดซากเครื่องบินของ MH370 โดยอาศัยข้อมูลตำแหน่งที่ค้นพบซากชิ้นส่วนในช่วงปี 2015-2016 ประกอบกับข้อมูลกระแสน้ำ
เมื่อนำข้อมูลมาประกอบกันทำให้ มาร์ช็องด์ และเบลลี สามารถตีกรอบพื้นที่ค้นหาให้แคบลงจนเหลือเป็นบริเวณที่สามารถทำการค้นหาสิ้นสุดได้ภายในเวลาเพียง 10 กว่าวันเต็มที่ไม่เกิน 1 เดือน โดยอาศัยโดรนใต้น้ำในการดำลงสำรวจค้นหาซากเครื่องที่จมอยู่ใต้พื้นมหาสมุทร
1
ผังพื้นที่ค้นหาใหม่ที่เสนอโดย มาร์ช็องด์ และเบลลี
เที่ยวบิน MH370 ยังคงเป็นหนึ่งในปริศนาของอุบัติการณ์ทางการบินที่สร้างความฉงนสงสัยมาเกือบ 10 ปีว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ และชะตากรรมของผู้โดยสารกับลูกเรือนั้นเป็นอย่างไร
ผลการศึกษาใหม่และข้อเสนอสำหรับพื้นที่ค้นหาใหม่นี้อาจเป็นแสงสว่างและความหวังใหม่ให้กับเหล่าญาติ ๆ ของผู้โดยสารและลูกเรือซึ่งเฝ้ารอคอยมาอย่างยาวนานเพื่อที่จะได้รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
1
ส่วนตัวหวังว่าจะมีปฏิบัติการค้นหารอบใหม่ตามข้อเสนอ และหวังเหลือเกินว่าโลกจะได้รู้ความจริงของเหตุการณ์นี้กันเสียนี้
4
โฆษณา