5 ม.ค. เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์

[TIME LINE]: สงครามโลกครั้งที่ 2 (ภายในประเทศไทย)

3 กันยายน พ.ศ.2482 ด้านตะวันตก อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี เลยลุกลามเป็นสงครามโลก
5 กันยายน พ.ศ. 2482 ประเทศไทยประกาศพระบรมราชโองการให้ปฏิบัติตามความเป็นกลาง
12 มิถุนายน พ.ศ.2483 รัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม[1]ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างไทย ฝรั่งเศส อังกฤษและญี่ปุ่น
7 ธันวาคม พ.ศ.2484 ด้านเอเชีย ญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร ส่งกำลังเข้าลอบโจมตีกองทัพสหรัฐฯ โดยที่สหรัฐฯ ยังไม่ทันได้ตั้งตัว
8 ธันวาคม พ.ศ.2484 กองทหารญี่ปุ่นก็เข้าเมืองไทยทางสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสมุทรปราการ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นได้ขอร้องรัฐบาลไทย ให้ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย เพื่อไปโจมตีพม่า และมลายู ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และขอให้ระงับการต่อต้านของคนไทย ซึ่งจอมพลป. ให้ความยินยอมแต่โดยดี
10 ธันวาคม พ.ศ.2484 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช[3] อัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ประกาศไม่ยอมรัการตัดสินใจของรัฐบาลจอมพลป.
21 ธันวาคม พ.ศ.2484 จอมพลป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้นทำกติกาสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น
25 มกราคม พ.ศ.2485 ไทยประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
-- พฤษภาคม พ.ศ.2485 “เสรีไทย”ได้ถูกก่อตั้งขึ้นจากคนไทยในอเมริกา
-- มิถุนายน พ.ศ.2485 สมาชิกชุดแรกของเสรีไทย เข้าฝึกกับทหารหน่วย OSS[4]
7 สิงหาคม พ.ศ.2485 เสรีไทยสายอังกฤษที่สมัครเข้าเป็นทหาร ประชุมพร้อมกันครั้งแรกเพื่อรับการฝึกที่บร๊อกฮอลล์
27 มกราคม พ.ศ.2486 รัฐบาลอังกฤษ ส่งทการเสรีไทยสังหัดแผนกไทย Force 136 ไปปฏิบัติการในเอเชีย
15 มีนาคม พ.ศ.2487 ด้วยปฏิบัติการแอพพรีเอชั่น 1 ทำให้เสรีไทยสามารถติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอังกฤษผ่านวิทยุได้
1 สิงหาคม พ.ศ.2487 จอมพลป. ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี
27 สิงหาคม พ.ศ.2487 จอมพลป. ถูกปลดจากตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุด
16 สิงหาคม พ.ศ.2488 ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ลงนาม “ประกาศสันติภาพ”
24 สิงหาคม พ.ศ.2488 ญี่ปุ่นแพ้สงคราม รัฐบาลไทยจึงประกาศว่าสงครามกับสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ และความประสงค์ของประชาชนชาวไทย ไทยต้องปรับความเข้าใจกับสัมพันธมิตร
1 มกราคม พ.ศ.2489 ผู้แทนไทยได้ลงนาม"ความตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อเลิกสถานะสงคราม ระหว่างประเทศไทยกับบริเตนใหญ่ และอินเดีย" กับผู้แทนอังกฤษที่สิงคโปร์
16 ธันวาคม พ.ศ.2489 ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
เพราะความรู้สามารถมีการเปลี่ยนแปลง/เสริมเติมได้เสมอ หากมีท่านใดพบจุดที่ข้อมูลไม่ตรงกับที่ทราบมา สามารถถกและแบ่งปัญความรู้กันได้ค่ะ
โฆษณา