6 ม.ค. 2024 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์

[TIMELINE]: ยุวชนทหาร (ยวท.) พ.ศ. 2477-2490

ยุวชนทหาร (ยวท.) คือ
เยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 15-17 ปีที่ได้รับการฝึกวิชาทหารเนื่องจากรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามมีนโยบายพื้นฟูการฝึกวิชาทหารให้แก่ประชาชน ดำเนินการโดยกรมยุวชนทหาร กระทรวงกลาโหม
จุดประสงค์:
เพื่อผลิตทหารตำแหน่ง ‘ผู้บังคับหมวด’[1] เพื่อใช้เป็นกำลังสำหรับบัญชาทหารกองหนุนที่ระดมพลมาได้เป็นจำนวนมาก
ลำดับเหตุการณที่เกี่ยวข้อง:
พ.ศ. 2475 ขณะที่เหตุการณ์ฝั่งยุโรปกำลังผันผวน รัฐบาลไทยได้คำนึงว่าทหารกองหนุนมีจำนวนมาก แต่ขาดตัวผู้บัญชาการในตำแหน่งผบ.หมวด(กองหนุน) จึงคิดจัดตั้ง‘กรมยุวชนทหาร’ขึ้น โดยปรารถนาจะให้เป็นผลิตนายทหารชั้น ผบ.หมวด
พ.ศ. 2478 ในเดือนมิถุนายน กระทรวงกลาโหมจึงได้เริ่มมีการฝึกวิชาทหารให้แก่นักเรียน โดยกำหนดความมุ่งหมายให้หัดการรบไว้ให้พร้อม เพื่อเตรียมรับสถานการณ์สงครามที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก
พ.ศ. 2479 ยกฐานะขึ้นเป็นแผนกฝึกที่ 6 กรมจเรทหารบก[2] ขยายการฝึกออกไปจนถึงต่างจังหวัด
พ.ศ. 2480 ขยายชั้นเรียนถึงชั้น 1,2 และ 3 มีจำนวนประมาณ 3,000 นาย
พ.ศ. 2481 ยกฐานะขึ้นเป็น "กรมยุวชนทหารบก" มีจำนวนประมาณ 10,000 นาย (กรุงเทพฯและต่างจังหวัด) แบ่งเป็น 4 แผนก ดังนี้
แผนกที่ 1 มีหน้าที่ฝึกยุวชนทหาร ยุวชนนายสิบ ยุวนารี[3]
แผนกที่ 2 มีหน้าที่ฝึกยุวชนทหาร เฉพาะกรุงเทพฯ และธนบุรี (สมัยนั้นมีฐานะเป็นจังหวัด)
แผนกที่ 3 มีหน้าที่ฝึกยุวชนทหารในต่างจังหวัด (จังหวัดที่ไม่มีหน่วยทหาร)
แผนกที่ 4 มีหน้าที่กำหนดแบบแผน หลักสูตร ประสานงานแผนกที่ 1,2,3 และฝึกอบรมครูฝึกยุวชนทหาร
1
พ.ศ. 2482-2483 ได้เปิดขยายในต่างจังหวัดเพิ่มเติมขึ้นอีกและในเขตจังหวัดชายแดนในเขตปลอดทหารขึ้น เช่น
ภาคเหนือ จัดตั้งหน่วยฝึกยุวชนทหารขึ้นที่ เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก และ นครสวรรค์
ภาคกลาง จัดตั้งที่ ลพบุรี อยุธยา สระบุรี etc.
ภาคอีสาน จัดตั้งที่ นครราชสีมา อุบลราชธานี etc.
ภาคตะวันออก จัดตั้งที่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา etc.
ภาคใต้ จัดตั้งที่ ราชบุรี เพชรบุรี ชุมพร etc.
และยังมียุวชนเหล่าพิเศษ เช่น เหล่าทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร ฯลฯ
พ.ศ. 2484 กรมยุวชนทหารบก เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "กรมเตรียมการทหาร" เพื่อขยายการให้ความรู้ทางวิชาการทหารแก่ประชาชนซึ่งตรงกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น กรมเตรียมการทหารได้รวบรวมกำลังยุวชนทหารทุกประเภททุกเหล่าบรรจุตามอัตราสงคราม 3 กองพล (27 กองพัน) พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชา เตรียมการที่จะปฏิบัติการรบร่วมกับกองพันได้
พ.ศ. 2485-2486 การฝึกยุวชนทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมาก ได้มีการตราพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2486 เพื่อกำหนดโครงสร้าง
ทางการปกครอง บทบาท หน้าที่และอำนวยการฝึกให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2490 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ 2 ปี การฝึก "ยุวชนทหาร" ได้ถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2490 อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นในด้านการเตรียมกำลังสำรองสำหรับประเทศยังคงมีอยู่ จึงได้มีการจัดตั้งกรมการรักษาดินแดนในปี พ.ศ. 2491 ขึ้นเพื่อทำการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเป็นกำลังสำรองทดแทนยุวชนทหารสืบต่อมา
เพราะความรู้สามารถมีการเปลี่ยนแปลง/เสริมเติมได้เสมอ หากมีท่านใดพบจุดที่ข้อมูลไม่ตรงกับที่ทราบมา สามารถถกและแบ่งปัญความรู้กันได้ค่ะ
โฆษณา