6 ม.ค. เวลา 10:29 • ข่าวรอบโลก

นักวิทยาศาสตร์ยืนยัน หมีขั้วโลกตายจากไข้หวัดนก H5N1 เป็นตัวแรกของโลก

6 มกราคม 2567 กรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของอลาสก้า ยืนยันการตายของหมีขั้วโลก ซึ่งศพของหมีตัวนี้ถูกพบในเดือนตุลาคม และสาเหตุการตายได้รับการยืนยันในเดือนธันวาคม ดร.บ็อบ เกอร์แลช (Bob Gerlarch) สัตวแพทย์ประจำรัฐอลาสก้าบอกกับอลาสก้ากล่าวว่า "นี่คือหมีขั้วโลกตัวแรกที่เสียชีวิตจากไข้หวัดนก แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วหมีจะกินแมวน้ำและปลา แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ไวรัสจะติดเชื้อจากการบริโภคนกที่ตายแล้วที่ติดเชื้อไปแล้ว" และ “หากนกตายจากสิ่งนี้(ไข้หวัดนก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมันถูกเก็บไว้ในสภาพแวดล้อมที่เย็น ไวรัสก็จะสามารถคงอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นได้ระยะหนึ่ง”
ไข้หวัดนกเป็นสาเหตุให้นกตายมานานหลายทศวรรษ โดยมีการระบุสายพันธุ์ของไวรัสได้ตั้งแต่ปี 1996 และมีการระบาดครั้งใหญ่ในปี 2004 และ 2005 แต่การระบาดในปัจจุบันที่ถือเป็นกรณีที่รุนแรงที่สุดของไข้หวัดนกคือกรณีที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 เมื่อกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาพบว่าฟาร์มสัตว์ปีกแถบมิดเวสต์ มีรายงานจาก USDA ระบุว่านกมากกว่า 70 ล้านตัว ในสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบ
แม้ไข้หวัดนกจะมีความเสี่ยงต่อมนุษย์ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม โรคนี้ได้คร่าชีวิตนกหลายล้านตัวแล้วทั่วอเมริกาเหนือ และอีกนับไม่ถ้วนในอเมริกาใต้ ซึ่งรวมถึงนกป่าและสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ด้วย ตามรายงานระบุว่าไวรัสเคยทำให้ลูกหมีดำตัวหนึ่งในอุทยานแห่งชาติ Glacier Bay ที่อลาสก้าติดเชื้อ จนเกิดอาการชักและต้องทำการุณยฆาต นอกจากนี้ยังมีสุนัขจิ้งจอกอีก 3 ตัวและหมีดำตัวเต็มวัยติดเชื้อด้วยเช่นกัน
ดร.Meagan Dewar ผู้นำเครือข่ายด้านสุขภาพสัตว์ป่าแอนตาร์กติกเตือนว่าไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายนี้ อาจนำมาซึ่ง ภัยพิบัติทางระบบนิเวศครั้งใหญ่ที่สุดในยุคปัจจุบัน หากไวรัสยังคงแพร่ระบาดอยู่ มันอาจเดินทางไปถึงประชากรนกเพนกวินที่อยู่อีกฝากก็เป็นไปได้ “มันเป็นลางไม่ดี”
"ระบบนิเวศขั้วโลก(ทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้)มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนกเป็นพิเศษ เนื่องจากสัตว์หลายชนิดไม่เคยสัมผัสกับไวรัสแบบนี้มาก่อน หากมีการติดเชื้อ โรคอาจแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง อีกทั้งยังสร้างอาการป่วยแบบรุนแรงได้"
โฆษณา