6 ม.ค. เวลา 14:25 • หนังสือ

ค่าชดเชยเมื่อนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน

เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างและมีสิทธิได้รับการชดเจาตามกฎหมาย เรามาไขข้อสงาัยเกี่ยวกับค่าชะเชย ซึ่งอธิบายในประเด็นที่สงสัยและถามซ้ำ ตอบแบ่งครั้งแยกย่อยไปหลา่ยที่ วันนี้เพจคลินิกกฎหมายแรงงานรวมมาตอบไว้ที่เดียวให้แล้ว
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 118
ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้
(๑) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(๒) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(๔) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(๕) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปี แต่ไม่ครบยี่สิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(๖) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสี่ร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสี่ร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
จะเห็นได้ว่า ค่าชดเชยเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างทำงานครบ 120 วันขึ้นไป ตามวรรคที่หนึ่งกำหนด ซึ่งในกฎหมายระยะเวลาทดลองงานนั้นไม่ได้มีการระบุจำนวนวันเอาไว้ แต่เป็นจำนวนวันสูงสุดที่สามารถเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 ได้กำหนดให้สัญญาจ้างทดลองงานถือเป็นสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาด้วย การเลิกจ้างยังต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง
และยังเพิ่มเติมไปปถึงการเกษียนอายุของลูกจ้าง โดยเพิ่มสิทธิ์ในการที่ลูกจ้างจะขอเกษียนจากนายจ้างได้เมื่อถึงกำหนด
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 118/1
ฉบับที่ 6 พ.ศ.2566
การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง
ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามมาตรา ๑๑๘ วรรคหนึ่ง
ซึ่งในมาตรานี้ นายจ้างอาจกำหนดหรืทอตกลงเกษียนอายุก่อนถึงอายุหกสิบปีบริบูรณ๋ก็ได้ แต่เมื่อลูกจ้าง มีอายุครบ หกสิบปี มาตรานี้ก็ยังเปิดโอกาสที่ลูกจ้างขอหรือนายจ้างให้เกษียนได้
และการที่ลูกจ้างขอใช้สิทธิ์เกษียนอายุจึงเป็นการขอให้นายจ้างเลิกจ้าง ตามวรรคต้นนั่นเอง
ปัณณวิชญ์ นรากุลพิพัฒน์
แอดมิน/ผู้เรียบเรียบเรียง
โฆษณา