Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Lean Solution Tale | สัญเชษฐ์ เลิศวิชโย
•
ติดตาม
9 ม.ค. เวลา 05:51 • ธุรกิจ
Heijunka Planning - การปรับเรียบการผลิต
พัฒนาตนเองให้มี PRODUCTIVITY SKILL
ด้วยวิถีแห่งลีน ที่ย่อยมาให้เข้าใจง่าย จากประสบการณ์จริง
ทั้งในแง่หลักการและการนำไปประยุกต์ใช้งาน
ที่คุณสามารถนำไปใช้ในชีวิตการทำงานได้ทันที
คำนี้ลีน กับคำๆนี้ คือ
Heijunka ( อ่านว่า เฮ-จุง-กะ ) หรือเรียกว่า
"การปรับเรียบ"
โดยคำๆนี้เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า
"การปรับระดับ"
เป็นแนวคิดหลักในระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing)
มุ่งเน้นกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการให้สม่ำเสมอและราบรื่นตลอดทั้งวัน
หรือตลอดทั้งสัปดาห์ โดยปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
.
ดังนั้น Heijunka ที่เป็นเทคนิคหนึ่งของการผลิตนี้
จึงเป็นการบริหารองค์กรเพื่อให้ได้ Just-in-time ( การผลิตแบบทันเวลาพอดี )
โดยการผลิต ผลิตภัณฑ์หรือตัวเลือกสินค้า ( SKU ) ต่างๆ ในปริมาณที่น้อยที่สุดในลักษณะที่สมดุล ( Small lot production )
แทนที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวในปริมาณมาก ( Mass production )
ซึ่งจะช่วยลดสินค้าคงคลัง
ปรับปรุงความยืดหยุ่นได้ดี
===============================
หรือถ้าจะกล่าวโดยง่ายๆ
คีย์ของการทำ Heijunka หรือ การปรับเรียบนั้น
ก็คือ การทำ Heijunka Planning นั่นเอง
ฉะนั้นการจะทำให้ Heijunka เกิดขึ้นได้ในองค์กร ความสำคัญจึงอยู่ที่ "การวางแผนการผลิต"
.
หลายองค์กรมักเน้นการวางแผนการผลิตที่ง่าย โดยให้ฝ่ายผลิตไปวางแผนแบบผลิตทีละมากๆ
ให้คุ้มกับการ setup กระบวนการผลิต ส่งผลทำให้เกิดการเก็บสินค้าคงคลังที่มาก
แต่ถ้าเป็นแบบ Heijunka Planning จะเน้นการวางแผน small lot production ทึ่ให้ฝ่ายผลิต
ผลิตให้ได้ตามยอดที่กำหนดไว้ เพื่อให้มีสินค้าคงคลังน้อยที่สุด
และนี่คือความแตกต่างขององค์กรที่ใช้วัดความเป็น Heijunka และ Just-in-Time
.
การวางแผนที่ปรับเรียบ ก็เช่น
ลูกค้าต้องการสินค้า A จำนวน 100 ลัง ในแต่ละวัน เราก็วางแผนและส่งให้ลูกค้าให้ได้
วันละ 100 ลัง และเมื่อต้องการสินค้า B จำนวน 50 ลัง ในแต่ละวัน ก็เช่นกัน
เราก็วางแผนและส่งให้ลูกค้าให้ได้วันละ 50 ลัง
===============================
แต่ในบริษทของกระบวนการผลิตจริงๆของแต่ละองค์กรนั้น มันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น
ที่จะนำเอาเทคนิค Heijunka มาใช้ในกระบวนการผลิต/บริการ โดยจะต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ คือ
1. เปลี่ยนจากการผลิตแบบ mass production
ไปเป็น Small lot production
2. ผลิตสินค้านั้นๆในทุกๆวัน หรือทุกสัปดาห์ให้เหมือนๆกันตลอด อย่างสม่ำเสมอ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการผลิต กับ ความต้องการสินค้าของลูกค้าที่มีความสอดคล้องกัน
และความยากในการนำ Heijunka มาใช้งานนั้น
ก็จำเป็นต้องเข้าใจเงื่อนไขสำคัญของการนำเทคนิค Heijunka มาใช้งาน คือ
1. ปริมาณการเรียกสินค้าของลูกค้ามีความสม่ำเสมอในแต่ละช่วงเวลา
2. มีของเสียและการหยุดเครื่องจักรในกระบวนการผลิตที่ไม่ผันผวนมาก
3. มีการ set-up ของเครื่องจักร/แม่พิมพ์ที่ต่ำ
ฉะนั้นองค์กรจะต้องปรับปรุงทั้ง 3 เงื่อนไขนี้ให้ได้ก่อนเพื่อให้การนำเอาเทคนิค/หลักการ Heijunka
ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ !!!
===============================
ซึ่งถ้ามองในแง่ประโยชน์ที่ได้ของการทำ Heijunka ก็คือ
a] เป้าหมายของการทำ Heijunka Planning ก็คือ
การวางแผนให้เหมาะสมที่สุดกับความต้องการของลูกค้า โดยให้มีปริมาณสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุด ส่งผลต่อต้นทุนที่ต่ำ ทั้ง
- ต้นทุนสินค้าคงคลังที่เก็บ
- ต้นทุนด้านโลจิสติกส์
- ต้นทุนด้านค่าเช่า
- เป็นต้น
b] ประโยชน์ของการนำ Heijunka ไปประยุกต์ใช้งาน เช่น
- ลดสินค้าคงคลัง โดยการผลิตสินค้าหรือบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
ทำให้สามารถลดจำนวนสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็นต้องผลิตหรือเก็บไว้
- เมื่อเกิดปัญหาคุณภาพ ปริมาณของเสียจะน้อย เพราะการผลิตแบบ small lot production
และง่ายต่อการดัก/ระงับสินค้า
- มีความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิตในการสับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์การผลิต ( ในกรณีที่
มีสินค้าเร่งด่วนที่ต้องจัดส่ง )
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะในเรื่องทักษะการผลิต
เพราะพนักงานสามารถทำการผลิตได้ในทุกผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง ( ไม่หลงลืมขั้นตอนการทำงาน )
- สามารถวิเคราะห์ / ประเมิน และคาดการณ์อนาคตได้ง่าย เพราะว่า
เราผลิตที่เหมือนๆกัน ทุกวัน ดังนั้นจึงสามารถประเมินและแก้ไขสถานการณ์ได้แม่นยำ
c] เทคนิคของ Heijunka สามารถนำไปใช้ได้กับการผลิตสินค้าหรือบริการทุกประเภท
ไม่ว่าจะเป็น การผลิตรถยนต์ / การผลิตอาหาร / การให้บริการลูกค้า
=============================
การประยุกต์ใช้หลักการของ Heijunka planning เช่น
บริษัทแห่งหนึ่งมีการนำเอาหลักการของ Just-in-time มาใช้งานเพื่อต้องการ
ลดสินค้าคงคลังตั้งแต่ วัตถุดิบ - สินค้าระหว่างกระบวนการ ( WIP ) - สินค้าสำเร็จรูป
โดยนำหลักการ/เทคนิคของ Heijunka มาใช้
1. พิจารณาจากความต้องการของลูกค้าพบว่า
- มีการเรียกสินค้าอย่างสม่ำเสมอ
- ปริมาณการสั่งในแต่ละครั้งก็ใกล้เคียงกัน ( มีความผันผวนประมาณ +/- 20% ซึ่ง
เป็นค่าความผันผวนที่ยอมรับได้ )
2. มีปริมาณของเสียไม่มาก
3. การหยุดเครื่องจักร ( stop time ) ที่ไม่สูงมากในแต่ละวัน
4. การเปลี่ยนแม่พิมพ์ ( Set-up time ) ใช้เวลาไม่นานต่อครั้ง
เมื่อทั้ง 4 เงื่อนไขของบริษัทนี้ตรงตามเงื่อนไขของการนำ Heijunka มาใช้งาน
และสามารถเป็นองค์กรที่มีความเป็น just-in-time ได้
ดังนั้นเราสามารถวางแผนแบบ Heijunka ได้ว่าในแต่ละวันจะผลิตสินค้าตัวใด
ที่มีความสอดคล้องกับส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ ( โดยที่มี stock ที่จะใช้ในการบริหารของเข้า-ออก
แล้วทำการเติมเต็มจากกาผลิต อย่างสมดุล )
===============================
ด้วยกระบวนการในการวางแผนแบบ Heijunka นี้เอง
การบริหารการผลิตจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ถ้ามีการนำเอาเทคนิคของ Kanban ( คัมบัง ) ซึ่งเป็นเทคนิคการผลิตแบบ Pull System
มาใช้ในการบริหารการผลิตประจำวัน ( Daily Management )
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
รอติดตามเนื้อหาในตอนต่อไป
Lean Trinity Academy
#พูดจาภาษาลีน #JIT #การผลิตแบบทันเวลาพอดี #Heijunka #การปรับเรียบ #การปรับระดับ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย