9 ม.ค. เวลา 14:38 • หนังสือ

5 HOW TO รับมือ generation gap ภายใน office

ในปัจจุบันที่สังคมไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบที่ต้องเริ่มปรับตัวเพื่อให้ทันยุคทันสมัยและ ปัจจุบันนี้เป็นยุคของคนรุ่นใหม่ ที่เราเรียกกันอย่างติดปากว่า “คนเจน Y และเจน Z” โดยคนเจเนเรชัน Y หมายถึงคนอายุประมาณ 28-41 ปี ส่วนคนเจเนเรชัน Z หมายถึงคนอายุตั้งแต่ 10-27 ปี ซึ่งคนกลุ่มนี้กลายเป็นแรงงานสำคัญกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในภาคธุรกิจทั่วประเทศในตอนนี้
ถึงแม้ว่าจะเป็นแรงงานหลักของชาติ แต่คนรุ่นใหม่ทั้งสองเจเนเรชันนี้กลับประสบกับความสิ้นหวังในการปรับตัวเข้าหากับคนรุ่นหลังเจน Y สาเหตุเป็นเพราะอะไร? พวกเขาขี้เกียจหรือเกี่ยวกับทัศนะในการทำงานกันแน่? หรือเป็นเพราะเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่เหมือนกัน? เพราะเหนื่อกับงาน หรือเหนื่อยกับเพื่อนร่วมงานกันแน่? ปัญหาเหล่านี้เคยเกิดกับใครหลายคนในวัยทำงานที่อาจมีทางออกง่ายๆ ดังนี้
  • จัดกิจกรรมแชร์ความรู้
การแชร์ความรู้ให้กันมากขึ้น อาจทำให้คนทั้ง 2 วัย
นั้นเข้าใจกันมากขึ้นเช่นกัน โดยบริษัทอาจมีกิจกรรม
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เช่น ให้คนทำงานรุ่นเก่ามาถ่ายทอด
เรื่องราวต่างๆ ให้คนรุ่นใหม่ฟังรวมไปถึงการให้คนรุ่นใหม่
มาร่วมแชร์ไอเดียที่น่าสนใจแก่คนรุ่นเก่าด้วยเช่นกัน เพื่อ
มมากขึ้ ทําให้พวกเขาได้เรียนรู้มุมมองของกันละกันเพิ่มมากขึ้น
  • รับฟังปัญหา
ในกรณีที่ช่องว่างระหว่างวัยเกิดขึ้นระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง หากเกิดปัญหาขึ้น ทั้ง 2 ฝ่ายควรต้องรับฟังซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะได้นำปัญหาต่างๆ เหล่านั้นไปพัฒนาตนเอง ซึ่งคนเป็นเจ้านายก็ควรเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้เสมอไอเดียใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะจะช่วยทำให้เขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของทีม
  • ไม่ควรยัดเยียดความคิดให้กัน
คนทั้ง 2 วัย ต้องคิดเสมอว่าต่างก็เติบโตมา ในยุคที่แตกต่างกัน ดังนั้นวิธีคิดก็อาจจะแตกต่างกัน การยัดเยียดความคิดของตนเองให้อีกฝ่าย จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและไม่ควรบังคับให้อีกฝ่ายคิดแบบเรา ไม่งั้น อาจเกิดการต่อต้านหรือความขัดแย้งตามมาได้
  • ตั้งเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน
วิธีที่จะทำให้การทํางานเป็นไปย่างราบรื่น คือการคุยกันให้เคลียร์ พร้อมกำาหนดเป้าหมายการทํางานร่วมกันให้ชัดเจน ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เพื่อทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากทั้ง 2 ฝ่ายมีความเข้าใจที่ตรงกันตั้งแต่แรก รับรองว่าปัญหาความขัดแย้งจะไม่มีวันเกิดขึ้นแน่นอน
  • ควรมีความยืดหยุ่น
คนในแต่ละช่วงวัยมักมีการเติบโตและความชอบต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงเรื่องของความยืดหยุ่นในการทํางาน ยิ่งในยุคนี้ ที่เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการทํางานที่บ้านหรือที่ออฟฟิศ ดังนั้นหัวหน้าก็ควรจะเข้าใจลูกน้องให้มากขึ้นในเรื่องของวิธีการทํางาน แต่ในทางกลับกันลูกน้องก็ต้องเข้าใจหัวหน้าเช่นกัน หากบางครั้งมีการกำหนดกฏระเบียบหรือขั้นตอนการทํางานขึ้นมา เพื่อควบคุมความเรียบร้อยของทัม โดยทั้ง 2 ฝ่าย อาจหาแนวทางปฏิบัติแบบสายกลางร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม คนยุคใหม่ยกให้ ‘สุขภาพร่างกายและจิตใจ’ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ที่อาจยังไม่นับความกดดันและความคาดหวังของสังคมที่เปิดโอกาสให้เด็กจบใหม่ แต่ต้องมีประสบการณ์พร้อม มีการการันตีความสามารถด้านต่างๆ ในระดับสูง เมื่อเข้าทำงานแล้วก็รับความคาดหวังจากหัวหน้างานมากขึ้นไปอีก แม้การได้แสดงศักยภาพจะเป็นหนึ่งในความต้องการของคนรุ่นใหม่ แต่ความคาดหวังและการกดดันที่ทับอยู่บนบ่าก็ทำให้เหนื่อยล้ากับแต่ละวันได้ไม่น้อยเลย
โดยเฉพาะกลุ่มเจน Z ซึ่งเพิ่งเรียนจบและเป็น First Jobber เป็นกลุ่มที่ผ่านการเรียนแบบ Online มา 2-3 ปี ส่วนกลุ่มเจน Y ก็เจอกับสถานการณ์โควิดในช่วงแรกของการหางาน ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่มากพอจะเรียนรู้และคุ้นชินกับ Remote Working หรือปรับตัวกับการทำงานแบบ Work from Anywhere ได้ดีกว่าคนยุคก่อนๆ
คนรุ่นเก่า หรือหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงานบางคนไม่เข้าใจในตัวของเราว่าทำไมถึงมีมุมมองที่ไม่เข้าพวก ไม่แน่ว่าอาจเป็นคนเจน Y ที่ไม่เข้าใจคนเจน Z ที่มองหามุมมองที่แปลกใหม่ที่ไม่เหมือนชาวบ้านและต้องแบกความคาดหวังอาจเป็นเพราะพวกเขาต้องดิ้นรนท่ามกลางโลกอันผันผวนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วยังต้องประคับประคองสุขภาพร่างกายและจิตใจของตัวเองต่อไปในวันข้างหน้า
ทุกสถานการณ์ควรเริ่มจากการเข้าใจที่ตรงกัน และขับเคลื่อนสิ่งต่างๆไปพร้อมๆกัน
SIT AND READ
โฆษณา