11 ม.ค. เวลา 06:18 • ยานยนต์

MOTO-KB น้ำหนักใต้สปริง

วันได้ฟังยูทูปรีวิวรถใหม่ Honda NX500 ที่มีน้ำหนักล้อที่เบาขึ้น ติดใจคำนึงนั่นก็คือ คำว่าน้ำหนักใต้สปริง เลยไปหาข้อมูลมาเล่าเป็นความรู้ให้ฟังครับ เรื่องน้ำหนักใต้สปริง และน้ำหนักเหนือสปริงส่งผลกับการชับขี่อย่างไร
อย่างที่เราทราบครับรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ทุกชนิดนั้นมีระบบกันสะเทือนที่ประกอบด้วยสปริงที่เป็นตัวรับและลดแรงสะเทือนกับโช็คที่เป็นตัวดึงไม่ให้สปริงทำงานมากเกินไปจนรถเสียอาการ ประสิทธิภาพของระบบกันสะเทือนจึงขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการแรงทั้งสองส่วนนี้
ถ้าเอาสปริงมาเป็นจุดศูนย์กลาง น้ำหนักของสิ่งต่างๆที่อยู่เหนือขึ้นไปเราเรียกว่าน้ำหนักเหนือสปริง (Sprung Weight) เช่นห้องโดยสาร เครื่องยนต์ ส่วนน้ำหนักที่อยู่ด้านล่างเราจะเรียกว่าน้ำหนักใต้สปริง (Unsprung Weight) เช่น ระบบช่วงล่าง ล้อ เบรก
คนส่วนใหญ่รู้ว่ารถที่น้ำหนักมากจะทำให้รถนิ่ง ทรงตัวดีและเกาะถนนมากขึ้นจากแรงที่กดลงไปที่พื้นถนน แต่มันเป็นน้ำหนักส่วนไหนล่ะ
คำตอบก็คือ การลดแรงสั่นสะเทือนจากพื้นสู่ห้องโดยสารนั้น สิ่งที่สำคัญคืออัตราส่วนระหว่างหน้ำหนักเหนือสปริงและน้ำหนักใต้สปริง ยิ่งน้ำหนักเหนือสปริงมีอัตราส่วนมากกว่าน้ำหนักใต้สปริงเท่าไร รถก็จะมีการสั่นสะเทือนน้อยลง
การทดลอง : ลองถือก้านดอกหญ้ารูดไปกับพื้นถนนขณะที่รถวิ่ง เปรียบเทียบกับ การถือไม้หน้าสามรูดไปกับพื้นถนน อย่างไหนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนมาที่แขนมากกว่ากัน
การออกแบบดีไซน์รถนั้นจึงต้องมีการออกแบบให้อัตราส่วน้ำหนักตรงนี้เหมาะสม อันหมายถึงคิดคำนวณน้ำหนักของผู้โดยสารเข้าไปด้วย นี่จึงเป็นคำตอบว่ารถที่มีผู้โดยสารจำนวนมากถึงมีให้ความรู้สึกนุ่มนวลมากกว่า
และในมอเตอร์ไซค์รถที่มีล้อที่เบากว่าจึงให้ความนุ่มนวลและการควบคุมที่ดีกว่า
แต่ทั้งหมดนี้คือเรื่องของระบบกันสะเทือนที่ส่งผลกับการควบคุมรถ ส่วนการประหยัดน้ำมันมันคนละเรื่อง อีกทั้งน้ำหนักที่กระทำระหว่างรถเลี้ยวที่ยิ่งมากยิ่งควบคุมยากนั้น มันเป็นทักษะของผู้ขับขึ่กับรถคันนั้นๆ
ไม่ว่าจะขับรถที่ดีขนาดไหนสิ่งที่สำคัญที่สุดในการขับขี่ก็คือ การให้น้ำหนักความสำคัญของผู้ขับขี่อยู่ให้อยู่บนความปลอดภัยของตัวเองและเพื่อนร่วมทางครับ
#ความรู้
#มอเตอร์ไซค์
#กันสะเทือน
โฆษณา