11 ม.ค. เวลา 09:23 • สิ่งแวดล้อม

นักวิทย์คิดหัวแตก ทำอย่างไร “เมื่อดอกไม้ไม่ง้อแมลง”?!?

ภาวะโลกร้อนไม่เคยปรานีใคร ❗ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศย่อมส่งผลสะเทือนต่อระบบนิเวศ ต่อสรรพสัตว์ รวมทั้งต่อมนุษย์ด้วย
อย่างล่าสุด เว็บไซต์ เดอะ การ์เดี้ยน รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ ศึกษาพบว่า ดอกแพนซีทุ่ง หรือดอกหน้าแมว 🌸 ที่ปลูกใกล้กรุงปารีสมีขนาดเล็กกว่า 10% และผลิตน้ำหวานน้อยลงกว่า 20% เมื่อเทียบกับดอกไม้ที่ปลูกในทุ่งเดียวกันเมื่อ 20 ถึง 30 ปีที่แล้ว และนอกจากนี้แมลงยังไม่ค่อยมาเยือนอีกด้วย
นั่นแสดงให้เห็นว่าแพนซีกำลังพัฒนาเพื่อละทิ้งแมลงผสมเกสร และพัฒนาไปสู่การผสมเกสรด้วยตนเอง โดยพืชแต่ละชนิดที่แพร่พันธุ์ด้วยตัวมันเอง เกิดขึ้นในระยะสั้น แต่อาจส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้
ขณะนี้ดอกแพนซีและแมลงผสมเกสรอาจติดอยู่ในวงจรที่เลวร้าย พืชผลิตน้ำหวานน้อยลง หมายความว่าแหล่งอาหารของหมู่แมลง🐝 (ผสมเกสร) ก็น้อยตาม ไม่มีน้ำผึ้งกิน ขณะเดียวกัน ถ้าแมลงน้อยลง โอกาสของดอกไม้ในการขยายพันธุ์ก็ลดน้อยลงเช่นกัน เพราะขาดผู้ช่วยตัวสำคัญ
แล้วแบบนี้ นักวิทย์จะทำอย่างไร “เมื่อดอกไม้ไม่ง้อแมลง” 🐝🌸 ⁉️ อ่านต่อได้ที่
โฆษณา