Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าเมาเมาแมน
•
ติดตาม
11 ม.ค. 2024 เวลา 11:05 • การเมือง
ปากเสียงภาคธุรกิจ ?
อาจเพราะไทยไม่ได้มีนายกมาจากภาคธุรกิจนานมาก
จนลืมไปแล้วก็ได้มั้ง นายกลุงโย่ง ถึงได้ถูกวิจารณ์มากเรื่อง
การพูดถึงดอกเบี้ย
แล้วก็ลืมไปรึเปล่า ว่าแกเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย การพูดถึงเรื่องพวกนี้ มันก็ไม่เห็นน่าจะเป็นอะไร
เพราะมันก็เกี่ยวกับนโยบายการคลังโดยตรง
คือ ที่ไหนในโลก รมว. คลังกับแบงค์ชาติหรือธนาคารกลาง
เขาก็ต้องคุยกันทั้งนั้นน่ะนะ
การจะมองหมวกใบเดียวในฐานะนายกรัฐมนตรี
ว่าเป็นการแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร มันจึงไม่น่าถูกต้องนัก
…และอยากบอกว่า สิ่งที่นายกฯพูด มันค่อนข้างเป็นความจริง
และตรงใจภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ sme เป็นอย่างมาก….
…ซึ่งสมัยนายกลุงทหารนั้น อาจไม่มีความเข้าใจ และละเลยมานานมาก จนประเทศมีสภาพอย่างที่เห็น ….
ผมอยากให้ตัด ชอบไม่ชอบทางการเมืองออกไปก่อนนะ
แล้วพิจารณาสาระที่พูด ว่ามันจริงไม่จริงอย่างไร
ดอกเบี้ยสูง เศรษฐกิจโตช้า
เรื่องนี้เบสิคมาก ระดับเศรษฐศาสตร์ 101
น้อยประเทศมาก ที่นอกกฎเกณฑ์ คงมีแต่สหรัฐนั่นแหละที่ทำได้ในปัจจุบัน
เพราะดอกเบี้ยคือต้นทุนของธุรกิจ
ถ้ากู้มาขยายกิจการแล้ว มันโตไม่คุ้มดอกที่ต้องเสีย
ก็เก็บเงินไว้เฉยๆ ไม่ต้องเสี่ยง น่าจะดีกว่า ถูกไหมล่ะ
และดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เมื่อทำให้ธุรกิจมีต้นทุนสูงขึ้น
การซื้ออะไรก็แพงขึ้น กำลังซื้อคนในสังคม มันก็หายสิ
เศรษฐกิจจะเอาอะไรมาโต
ดอกเบี้ยขาขึ้นหลังโควิดนั้น เราต้องยอมรับว่า
มันคือเหตุผลหนึ่งที่เศรษฐกิจของเรานั้นไม่โตเลย
มันอาจจริง ที่ว่า การลดดอกเบี้ยอาจมีผลต่อเสถียรภาพเงินบาท ที่จะทำให้มันอ่อนลงบ้าง
…แต่ถามว่า ถ้าบาทอ่อนกว่านี้ ไทยเดือดร้อนอะไร?…
…เราเป็นประเทศส่งออก ท่องเที่ยวนะ บาทอ่อนในระดับที่เหมาะสมนั้น มันดีกว่าเรามากกว่าเยอะ….
…แล้วงั้น ทำไมต้องยืนกรานคงดอกเบี้ยเอาไว้ล่ะ ?….
อีกเรื่องที่นายกอาจไม่ใช่คนจุดประเด็น แต่เป็นเรื่องเดียวกัน
คือส่วนต่างดอกเงินฝากและกู้ ( NIM )
ที่ต่างกันมากเกินไป จนธนาคารพาณิชย์กำไรบานเบอะ
แม้เศรษฐกิจจะย่ำแย่อย่างที่เป็น
เรื่องนี้ แม้ทางธนาคารจะประสานเสียงกันว่า มีเหตุผลหลายอย่าง และรายได้ที่สูงนั้นมาจากส่วนอื่นเป็นหลัก เข่น การลงทุน และจากการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ
แต่ถ้าถามว่าสิ่งนี้ มันย้อนแย้งกับการที่ธนาคาร
ยินกรานดอกสูงหรือไม่ ก็ต้องบอกว่า ใช่
อ้าว … ก็ถ้ารายได้มันไม่ได้มาจากตรงนั้นเป็นหลัก
ก็ต้องลดได้สิ ถูกไหมล่ะ ?
การชี้แจงแบบนี้ ไม่ต่างอะไรกับการฆ่าตัวตายของบรรดา
ธนาคารต่อหน้าสื่อมวลชน
ทุกคนเข้าใจครับ ว่าธนาคารเป็นธุรกิจ ต้องมีกำไร
ต้องตั้งสำรองหนี้
แต่กำไรมันมากไปจนละเลยความลำบากชาวบ้านหรือไม่
อันนี้แหละประเด็น
…ค่า NIM ในไทย ปัจจุบันอยู่ที่ 3% สูงเป็นอันดับสามในอาเซียน มากกว่าคู่แข่งอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์หรือเวียดนาม มันจึงไม่แปลกอะไรที่จะถูกวิจารณ์ ….
เมื่อดูความเห็นของสังคม
ภาคธุรกิจ และชาวบ้าน เอนไปทางนายกฯ และรัฐบาล
ส่วนแบงค์ก็ยังยืนกระต่ายขาเดียว
ภายใต้การสนับสนุนของชาวอนุรักษ์นิยม
เรื่องจึงกลายเป็นประเด็นทางการเมือง
มากกว่าที่เราจะพูดกันถึงข้อเท็จจริง
ถ้าว่าตามความจริงนั้น เอกชน นักวิชาการ
ประสานเสียงกันหมด
และมีหลักคิดชัดเจน ตามหลักวิชาการ
ว่าธนาคารพาณิชย์สามารถลดส่วนต่างดอกเบี้ยได้มากกว่านี้
ซึ่งมันจะเป็นประโยชน์กับสังคมโดยรวมมากกว่า
ในขณะที่บางฝ่าย พยายามผูกให้เป็นประเด็นการเมือง
เพื่อเซฟกำไรของบรรดาธนาคารเต็มที่
…เลยเถิดไปถึงเรื่องสมัยต้มยำกุ้งโน่น…
ซึ่งนั่นก็ไม่แปลกอะไร เพราะฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยส่วนมาก
มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับธนาคาร และทุนผูกขาดอื่นๆ
ซึ่งพวกเขามีผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางตรงและอ้อม
และกับหลายคน ก็ยังถูกต้มยำกุ้งหลอกหลอนอยู่
สังคมจึงควรตั้งสติ และพิจารณาความเป็นจริงให้ดี
เพราะเรื่องนี้ กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทุกคน
เมื่อคืนที่ผ่านมา ในรายการตอบโจทย์ทาง ThaiPBS
ได้เชิญนักวิชาการ รศ. อนุสรณ์ ธรรมใจ มาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งผมว่าเป็นกลางมาก
ไม่เข้าข้างธนาคาร และรัฐบาลมากจนเกินไป
(ลิ้งค์รายการด้านล่าง)
ท่านว่า ส่วนต่างดอกเบี้ยไทยนั้น ลดลงได้อีก
พอสมควร ที่ระดับประมาณ 2.5-2.7 ซึ่งนั่นจะดีกับ
สภาพเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ ความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศมากขึ้น
2
และผมชอบประโยคทองที่นักวิชาการท่านนี้พูดมากที่สุด
ท่านว่า..
ธนาคารควรต้องรับผิดชอบสังคมโดยรวมให้มากกว่า banker….
…แต่ผมขอเติมอีกนิดแล้วกันนะ….
…มีจิตสำนึกต่อประชาชน ให้มากกว่ากลุ่มทุน กลุ่มการเมืองด้วยก็คงจะดี….
1
ข่าว
https://www.thaipbs.or.th/program/TobJote/episodes/99469
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2753989
ข่าว
เศรษฐกิจ
การเมือง
1 บันทึก
15
9
2
1
15
9
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย