12 ม.ค. เวลา 02:00 • สุขภาพ

ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 (PM2.5) เพิ่มความเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง

งานวิจัยชิ้นใหม่ (วารสาร Scientific Reports 2024) ชี้ว่า การสัมผัส/สูดดมฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD: Chronic Kidney Disease)
ประเด็นสำคัญจากงานวิจัยชิ้นล่าสุด
- งานวิจัยแบบทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์อภิมาณนี้วิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย 22 ชิ้นครอบคลุมผู้คนทั่วโลกเกือบ 8 ล้านคน
- ผลพบว่า ทุกๆ การเพิ่มขึ้นของ PM2.5 เพียง 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังมากถึง 31%
- ความสัมพันธ์ระหว่าง PM2.5 กับโรคไตเรื้อรังมีความสอดคล้องกันในทุกกลุ่มตัวอย่างและการปรับค่าปัจจัยต่าง ๆ
สิ่งที่เราเรียนรู้ได้จากงานวิจัยนี้
- งานวิจัยนี้ ยืนยันหลักฐานที่เพิ่มมากขึ้น ว่ามลพิษทางอากาศโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคไตเรื้อรัง
- ยังคงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่าง PM2.5 กับโรคไตเรื้อรัง
- การลดระดับมลพิษทางอากาศ สามารถช่วยป้องกันโรคไตเรื้อรังและโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้
สิ่งที่เราควรทำเพื่อป้องกันโรคไต
- ภาครัฐควรดำเนินการ ลดระดับมลพิษทางอากาศ เช่น ลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด ลดการพึ่งพารถยนต์สันดาปภายใน ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมเพื่อลดปริมาณฝุ่นละออฃในอากาศ
- ในระดับบุคคล สามารถป้องกันตัวเองจากมลพิษทางอากาศ ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน ในช่วงเวลาที่มีคุณภาพอากาศไม่ดี
อ้างอิง
Wathanavasin W, Banjongjit A, Phannajit J, Eiam-Ong S, Susantitaphong P. Association of fine particulate matter (PM2.5) exposure and chronic kidney disease outcomes: a systematic review and meta-analysis. Sci Rep. 2024 Jan 10;14(1):1048. doi: 10.1038/s41598-024-51554-1. PMID: 38200164.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา