Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Right SaRa by Bom+
•
ติดตาม
12 ม.ค. 2024 เวลา 07:48 • การเมือง
“ความได้เปรียบของรัสเซีย” ทําให้ “อเมริกาเบื้องหลังยูเครนอยู่ที่ทางแยก”
11 มกราคม 2024: Responsible Statecraft (RS) ได้เผยแพร่บทความซึ่งเขียนโดย George Beebe และ Anatol Lieven เนื้อหาเกี่ยวกับธีมเรื่องสงครามในยูเครน
Anatol Lieven ผู้อํานวยการศึกษาด้านยูเรเซียของ RS
และอดีตอาจารย์สอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยในกาตาร์และลอนดอนได้เคยให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคยุโรป
เขายกตัวอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกับยูเครนในปัจจุบัน นั่นคือ “ฟินแลนด์ในปี 1940” ซึ่งยอมเสียสละส่วนหนึ่งของดินแดน “เพื่อเอาชนะรัสเซียในยุคโซเวียต” ด้วยข้อเท็จจริงพื้นฐานของการรักษาความเป็นรัฐของตนเอาไว้ เพื่อให้มีโอกาสได้เอากลับคืนในอนาคต
Lieven เคยเขียนบทความลงใน Responsible Statecraft
เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่เปรียบเทียบระหว่าง “ฟินแลนด์ในยุคโซเวียต” กับ “ยูเครนในยุครัสเซียปัจจุบัน” เมื่อช่วงธันวาคมปีก่อนไว้ สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
1
อ่านเพิ่มเติม
responsiblestatecraft.org
Ukraine should take a page out of Finland’s fight with Stalin
Helsinki had to sacrifice territory for autonomy, but its pride and prosperity soared
บทความล่าสุดนี้ในมกราคม 2024 ซึ่งเขียนโดย Lieven เผยแพร่ใน Responsible Statecraft ของอเมริกา เขาได้เขียนร่วมกับ George Beebe อดีตผู้อํานวยการแผนกวิเคราะห์ด้านรัสเซียที่ซีไอเอ
สรุปเนื้อหาในบทความนี้ประมาณว่า
■
ประการแรก: ฝั่งตะวันตกควรมองว่าการรักษาอธิปไตยของยูเครนไว้ที่ 80%ของดินแดนก่อนหน้าเกิดสงครามนั้นถือเป็นชัยชนะแล้ว แม้ว่าจะไม่ใช่ชัยชนะที่สมบูรณ์ก็ตาม Lieven เขียนทํานองว่าเขาไม่ได้เข้าข้างทางเคียฟ
และเขายังเขียนอีกว่า “ปูตินยืนกรานมาโดยตลอดว่า… เป็นวอชิงตัน ไม่ใช่เคียฟ ที่เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องสําคัญในสงครามครั้งนี้ ดังนั้นแล้วจึงต้องเป็นวอชิงตันที่ควรมีส่วนร่วมในการเจรจาเพื่อสงบศึก”
2
เกือบสองปีหลังจากการเริ่มต้นของความขัดแย้ง ผู้เขียนบทความทั้งสองได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า “ยูเครนเป็นเพียงหุ่นเชิดของอเมริกา
และนั่นเป็นสิ่งที่รัสเซียมอง”
16
■
ประการที่สอง: มันไม่ใช่แค่เรื่องชะตาอันน่าเศร้าของยูเครนเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องที่ต้องกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางยุทธศาสตร์ในยุโรป เพื่อให้ปูตินยุติสงครามและความมุ่งมั่นที่จะยึดดินแดนใหม่เพิ่มเติมจากยูเครน วอชิงตันจะต้องเสนอสิ่งจูงใจอย่างจริงจังและแสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ เต็มใจและจริงใจที่จะตอบสนองต่อข้อกังวลของรัสเซียเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อความมั่นคงจากสหรัฐฯ และ นาโต
2
■
ประการที่สาม: รัสเซียไม่ได้แยแสสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ทรัมป์จะชนะ “การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมริกา” ช่วงปลายปีนี้ “เมื่อพิจารณาถึงแรงต้านต่อทรัมป์ในสภาคองเกรสเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของอเมริกาของเขาอย่างเห็นได้ชัด ปูตินจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อว่าทรัมป์จะสามารถบรรลุข้อตกลงใดที่เป็นด้านบวกกับรัสเซียถึงแม้เขาจะได้กลับมาเป็น ปธน.” ย้อนกลับไปในปี 2020 รัสเซียก็ไม่ได้แยแสกับทรัมป์อะไร
หากเป็นเช่นนั้นตามที่ผู้เขียนบทความทั้งสองกล่าวไว้ มอสโกก็ไม่ได้สนใจที่จะต้องรอจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2024 หรือคาดหวังจากการเจรจาใดๆ ครั้งใหม่ที่ริเริ่มมาจากทางอเมริกาเลย มันขึ้นอยู่กับฝ่ายรัสเซียเองว่าจะเริ่มคุยด้วยเมื่อไรและเงื่อนไขแบบไหน
1
ดังนั้นการตัดสินใจที่แท้จริงมันอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ยูเครน หากพวกเขาไม่ส่งสัญญาณให้เกิดข้อตกลงประนีประนอมหรือให้มีการเจรจากับรัสเซีย และความช่วยเหลือยังคงถูกส่งให้แก่ทางยูเครนซึ่งไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ สันติภาพหรือการยุติของสงครามก็ยังคงไม่เกิดขึ้นในเร็ววัน
2
เครดิตภาพ: Brendan Hoffman/Getty Images
เรียบเรียงโดย Right SaRa
12th Jan 2024
■
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://responsiblestatecraft.org/ukraine-neutrality
https://responsiblestatecraft.org/russia-ukraine-peace-talks-2666922064
<เครดิตภาพปก: Responsible Statecraft>
การเมือง
สหรัฐอเมริกา
ยูเครนรัสเซีย
4 บันทึก
62
9
11
4
62
9
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย