13 ม.ค. เวลา 02:30 • ธุรกิจ

สรุป อิตาเลียนไทย ในมุมธุรกิจ ปีที่แล้วรายได้เกือบครึ่ง มาจากต่างประเทศ

หากพูดชื่อบริษัทรับเหมาก่อสร้างในไทย ที่เป็นตัวท็อป
“อิตาเลียนไทย” จะอยู่ในลิสต์นั้นด้วย
ปัจจุบัน อิตาเลียนไทย มีผลงานการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ซึ่งลูกค้าหลักก็คือ รัฐบาลไทย
ผลงานของอิตาเลียนไทย คือโครงการเมกะโปรเจกต์ต่าง ๆ ในไทย
อย่างเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ หรือรถไฟฟ้า BTS
1
อีกส่วนคือ อิตาเลียนไทย ก็ได้ไปรับงานก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ ในหลายประเทศด้วย
1
ตัวอย่างเช่น
- โครงการรถไฟฟ้าในประเทศอินเดีย และบังกลาเทศ
- โครงการรถไฟความเร็วสูง ในไต้หวัน
1
โมเดลรายได้ของ อิตาเลียนไทย เป็นอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
1
จุดเริ่มต้นของ อิตาเลียนไทย มาจากผู้ก่อตั้งที่เป็นหมอและวิศวกรทั้ง 2 คน
นั่นคือ นพ.ชัยยุทธ กรรณสูต และ Mr. Giorgio Berlingieri วิศวกรชาวอิตาลี
4
โดยเป็นการร่วมทุนกันคนละครึ่ง ก่อตั้งเป็น บริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด ในปี 2498 หรือเมื่อ 69 ปีก่อน
ตอนเริ่มแรก บริษัทยังไม่ได้เริ่มทำธุรกิจก่อสร้าง
แต่เริ่มเป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับวิศวกรรมมาขาย อย่างเช่น เครื่องจักรกล
1
และยังเป็นผู้นำเข้าสินค้า อย่างเช่น เตาแก๊ส เข้ามาขายเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยในยุคนั้น
2
ต่อมาปี 2501 กลุ่มอิตัลไทย ก็ได้แตกบริษัทใหม่
นั่นคือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD เพื่อกระโดดเข้าสู่ธุรกิจก่อสร้าง
3
ซึ่งเป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับประเทศไทย ที่กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างเช่น ถนน หรือระบบชลประทาน
ซึ่งต้องบอกว่าในช่วงนั้น ก็เป็นช่วงที่สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาตั้งฐานทัพที่ประเทศไทย เพื่อทำสงครามกับคอมมิวนิสต์ในประเทศเวียดนาม
1
สหรัฐอเมริกา ก็ได้เข้ามาวางโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้กับประเทศไทย
ที่เห็นชัด ๆ คือ ถนนมิตรภาพ ที่อยู่ทางภาคอีสาน ไปจนถึงสนามบิน และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
โดยในช่วงนั้น เป็นช่วงที่ประเทศไทย จำเป็นต้องจ้างผู้รับเหมาจากต่างประเทศ ให้เข้ามาก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ของประเทศไทย
2
จึงทำให้บริษัทก่อสร้างในประเทศไทย เริ่มได้รับองค์ความรู้ เกี่ยวกับการก่อสร้างจากสหรัฐอเมริกา
ต่อมาปี 2506 รัฐบาลไทย เริ่มเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาเอกชนในประเทศ
ได้เข้ามาร่วมประมูลงานก่อสร้าง ซึ่งอิตาเลียนไทย ก็เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการประมูลด้วย
1
โดยอิตาเลียนไทย ก็ได้เป็นงานรับเหมาก่อสร้างหลายโครงการ
ตั้งแต่ทำถนนหนทาง ไปจนถึงงานยาก ๆ อย่างเช่น สร้างทางยกระดับ ทางแยกต่างระดับ และสนามบิน
ซึ่งทุก ๆ ปี อิตาเลียนไทย ก็เป็นบริษัทอันดับต้น ๆ ที่รับโปรเจกต์ต่าง ๆ จากรัฐบาลไปทำ
ทำให้บริษัทก่อสร้าง อิตาเลียนไทย กลายเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มอิตัลไทย
และเติบโตอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ตอนนั้น
1
จนอิตาเลียนไทยได้ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2537
1
โดยหลังจากที่ได้ IPO ไปนั้น อิตาเลียนไทย ก็เริ่มรับงานโครงการเมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ของรัฐบาลมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น
- งานก่อสร้างทางรถไฟ บริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2541
1
- งานก่อสร้างทางด่วน อย่างดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงดอนเมือง-รังสิต และทางด่วนสาย รามอินทรา-อาจณรงค์ สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2541
1
- งานก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS 2 สายแรกของประเทศไทย
นั่นคือ สายสีเขียวอ่อน (หมอชิต-อ่อนนุช)
และสายสีเขียวเข้ม (สามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน) ระยะทางรวม 23.5 กิโลเมตร
ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อปี 2542
2
- โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) ซึ่งบริษัทได้ร่วมกับบริษัทญี่ปุ่น อีก 2 บริษัท
เพื่อก่อสร้างสถานีที่อยู่ทางเหนือทั้งหมด 9 สถานี พร้อมกับขุดเจาะอุโมงค์ เป็นระยะทาง 10.5 กิโลเมตร
โดยรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการปี 2547
2
- โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร สนามบินสุวรรณภูมิ ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อปี 2549
- นอกจากนี้ ก็ยังมีโครงการภาคเอกชน
อย่างเช่น ศูนย์การค้าเช่น Terminal 21 พระราม 3 และ ดิ เอ็มสเฟียร์ ที่เพิ่งเปิดไปได้ไม่นาน
2
ทีนี้มาถึงไฮไลต์สำคัญคือ อิตาเลียนไทย ไม่ได้มีผลงานก่อสร้างแค่เฉพาะโครงการใหญ่ ในประเทศไทยเท่านั้น
แต่ยังได้บินไปประมูลงานก่อสร้างในต่างประเทศอีกด้วย
ซึ่งอิตาเลียนไทย ก็ชนะการประมูลหลายโครงการ ตัวอย่างเช่น
ในไต้หวัน
- งานก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ไทเป-เกาสง
โดยอิตาเลียนไทยจะรับผิดชอบก่อสร้าง
เส้นทางในจังหวัดไถหนาน ไปจนถึงจังหวัดเกาสง รวมระยะทางทั้งหมด 27.3 กิโลเมตร
โดยก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2548
- งานก่อสร้างสถานีรถไฟใต้ดิน พ่วงกับศูนย์การค้า อาคารคลังสินค้าและสำนักงาน
ที่สถานี Nankang กรุงไทเป ไต้หวัน
1
นอกจากนั้น อิตาเลียนไทย ก็ได้เน้นตลาดไปที่ประเทศ ที่กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
อย่างเช่น ประเทศอินเดีย
อิตาเลียนไทย ได้เข้าไปบุกตลาดเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 โดยร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น
ก่อสร้างถนนและรถไฟฟ้า ที่กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย
ต่อมากลางปี 2547 อิตาเลียนไทย ก็ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย
และเปลี่ยนชื่อเป็น ITD Cementation India Limited หรือ ITDCem
โดยอิตาเลียนไทย ถือหุ้น ITDCem อยู่ 47%
1
และประมูลโครงการเมกะโปรเจกต์ต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย ผ่านบริษัท ITDCem ซึ่งก็ชนะการประมูลไปหลายโครงการ
ไม่ว่าจะเป็น
- งานก่อสร้างรถไฟฟ้ายกระบบและใต้ดินในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย
และเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง เช่น เมืองบังคาลอร์ เมืองชัยปุระ และเมืองโกลกาตา
1
- งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินในหลาย ๆ เมืองในอินเดีย
ในประเทศบังกลาเทศ
อิตาเลียนไทย ได้งานรับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายแรกในกรุงธากา เมืองหลวงของบังกลาเทศ ในระยะทาง 5 กิโลเมตร
ร่วมทุนกับรัฐวิสาหกิจจีน เพื่อก่อสร้างทางด่วนสายแรกในกรุงธากา พร้อมรับสัมปทานบริหารทางด่วนเป็นระยะเวลาถึง 25 ปี
1
ในประเทศเมียนมา
- งานก่อสร้างสนามบินนานาชาติมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา โดยสนามบินเปิดให้บริการเมื่อปี 2543
- โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ปัจจุบันยังสร้างไม่เสร็จ และรัฐบาลเมียนมาได้ยกเลิกโครงการ
ปัจจุบันโครงการอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อหาข้อสรุป
ถ้าเราลองไปดูสัดส่วนรายได้ของอิตาเลียนไทย ในปี 2565 แยกตามภูมิภาค
- งานก่อสร้างในประเทศไทย 59%
- งานก่อสร้างในประเทศอินเดีย 31%
- งานก่อสร้างในประเทศบังกลาเทศ 5%
- งานก่อสร้างในประเทศอื่น ๆ 5%
1
ซึ่งจะเห็นได้ว่า อิตาเลียนไทย มีรายได้จากการรับเหมาก่อสร้างมาจากต่างประเทศ ประมาณ 41%
หรือเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้รวม เลยทีเดียว
1
ถ้าเราไปดูโครงสร้างรายได้ ของอิตาเลียนไทย โดยซอยย่อยเป็นประเภทโครงการต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่ารายได้ทุก ๆ 100 บาท มาจาก
1
- งานก่อสร้างถนนทางหลวง เส้นทางรถไฟ ระบบขนส่งมวลชน และทางด่วน 29 บาท
- งานก่อสร้างสนามบิน และท่าเรือ 19 บาท
- งานก่อสร้างอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม และโรงแรม 14 บาท
- งานวางท่อ เพื่อขนส่งน้ำมัน แก๊ส และระบบสายไฟใต้ดิน 11 บาท
- งานขุดเหมืองแร่และถ่านหิน 7 บาท
- งานสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้า 6 บาท
- งานก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ 3 บาท
- โครงการอื่น ๆ อีก 11 บาท
1
ทีนี้เราลองไปดูผลประกอบการของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD กัน
ปี 2557 มีรายได้ 47,973 ล้านบาท กำไร 522 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 60,644 ล้านบาท กำไร 306 ล้านบาท
ปี 2565 มีรายได้ 67,833 ล้านบาท ขาดทุน 4,759 ล้านบาท
2
จะเห็นว่า แม้อิตาเลียนไทย จะทำรายได้จากงานก่อสร้างที่เติบโต
แต่บริษัทกลับมีสัดส่วนกำไรที่น้อย ไม่เติบโตไปตามรายได้ แถมยังขาดทุนในบางปี
นั่นก็เพราะว่า เวลาที่มีโครงการก่อสร้างทั้งจากภาครัฐและเอกชน
บริษัทรับเหมาก่อสร้างหลาย ๆ แห่ง จะต้องเข้ามาแข่งกันประมูล โดยเสนอราคาให้ต่ำ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับงานก่อสร้างโครงการต่าง ๆ
อย่างกรณีของ อิตาเลียนไทย แม้จะได้งานโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในมือ เป็นจำนวนมาก
2
แต่บริษัท กลับต้องแบกรับต้นทุนต่าง ๆ เช่น ต้นทุนค่าแรง และค่าวัสดุก่อสร้าง ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา
1
ดังนั้น บริษัทรับเหมาก่อสร้าง จึงต้องพยายามควบคุมต้นทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
1
- การเจรจาต่อรองกับซัปพลายเออร์ เพื่อต่อรองราคาวัสดุก่อสร้างให้ถูกลง
- ล็อกราคาวัสดุก่อสร้าง ด้วยการทำสัญญาซื้อขายกับซัปพลายเออร์ไว้ล่วงหน้า
- จ้างแรงงานต่างด้าวที่มีค่าแรงถูกกว่าแรงงานไทย เช่น พม่า ลาว หรือกัมพูชา
เมื่อควบคุมต้นทุนได้ ก็ค่อยประมูลงานก่อสร้าง
โดยพยายามเสนอราคาให้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งาน ในขณะที่บริษัทก็มีโอกาสทำกำไรมากขึ้น
แล้วเมื่อบริษัทชนะการประมูลโครงการ โครงการเหล่านั้นจะกลายมาเป็น
“ปริมาณงานในมือที่รอรับรู้รายได้” หรือ “Backlog” ของบริษัทนั่นเอง
1
ซึ่งปัจจุบัน อิตาเลียนไทย มีมูลค่างานที่อยู่ในมือ หรือ Backlog
ที่รอรับรู้รายได้ทั้งหมด 288,605 ล้านบาท
1
โดย Backlog ที่อิตาเลียนไทยมีในตอนนี้ เป็นโครงการก่อสร้างในประเทศ 82%
นั่นหมายความว่า ในอนาคต รายได้ของอิตาเลียนไทย จะมาจากโครงการก่อสร้างในประเทศเป็นหลัก
ยกตัวอย่างงาน Backlog ของอิตาเลียนไทย ที่กำลังก่อสร้างและรอรับรู้รายได้ ก็อย่างเช่น
- โครงการทางหลวงมอเตอร์เวย์หมายเลข 82 (บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว)
ตอนที่ 7 มูลค่าโครงการ 1,746 ล้านบาท
1
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)
สัญญาที่ 3, 5 และ 6 มูลค่าโครงการ 24,064 ล้านบาท
1
- ร่วมมือกับบริษัทจีน ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา)
โดยอิตาเลียนไทย รับผิดชอบก่อสร้าง ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก–บันไดม้า
มูลค่าโครงการ 9,348 ล้านบาท
ซึ่งงานในมือ หรือ Backlog ของอิตาเลียนไทย เป็นงานของภาครัฐมากถึง 81% ของมูลค่าโครงการ
1
จะเห็นได้ว่า ลูกค้าคนสำคัญของอิตาเลียนไทย ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตต่อจากนี้
ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนไกล เพราะเป็น รัฐบาลไทย นั่นเอง..
1
References
- รายงานประจำปี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ปี 2543, ปี 2561 และปี 2565
3
โฆษณา