14 ม.ค. เวลา 13:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

🤖ชวน ChatGPT มาเป็นผู้ช่วยคุณครู

#feedyourbrain
สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกท่าน
วันนี้กลับมาอีกครั้งกับการชวน ChatGPT🦾 มาเป็น Teaching Assistant หรือ TA หรือ ผู้ช่วยสอน กันค่ะ 👩🏻🏫
คุณผู้อ่านลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับวิชาหรือการบรรยายของตัวเองกันดูนะคะ 👨‍🏫
📣เพื่อให้คุณผู้อ่านเดินเคียงคู่ไปกับคุณ ChatG🦾 ได้อย่างภาคภูมิใจ 🏆
ขอ disclaimer ไว้สักหน่อยนะคะว่า...
ต้องใช้วิจารณญาณในการใช้ ChatGPT ในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานอย่างไม่ถูกจริยธรรม
Disclaimer
เอาหล่ะ! มาเริ่มกันเลยค่ะ 🚀
🦾 คุณ ChatG ช่วยเตรียมหัวข้อการสอน
คุณ ChatG ที่ผู้เขียนชอบเรียกขาน จะมาช่วยคุณครูในการเตรียมการเรียนการสอนอย่างไรนั้น ขอเริ่มจากการจำลองสถานการณ์ว่ากำลังจะเตรียมบรรยายในหัวข้อเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ 🌎
แต่คิดไม่ออกว่าจะมีหัวข้ออะไรดี เลยไปปรึกษาคุณ ChatG🤖 สักหน่อย
  • 🌵ผู้เขียน: ขอหัวข้อในการเตรียมสไลด์ในหัวข้อการตลาดออนไลน์ หน่อยสิคะ
  • 🤖คุณ​ ChatG: แน่นอนครับ! นี่คือหัวข้อหลักที่ควรรวมในสไลด์การสอนวิชาการตลาดออนไลน์
หัวข้อการบรรยายในรายวิชาการตลาดออนไลน์ที่ ChatGPT แนะนำ
เมื่อเราได้หัวข้อที่คุณ ChatG🦾 แนะนำแล้ว ขั้นตอนที่เราควรจะทำอย่างยิ่ง ก็คือ การวิเคราะห์ว่าหัวข้อที่คุณ ChatG🦾 บอกมานั้นถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังที่เราจะไปบรรยายหรือไม่? 🤔
พูดง่าย ๆ ก็คือ หัวข้อที่เราได้นี้เป็นแนวทางหรือจุดเริ่มต้นความคิดให้กับเรา🕯
หากเป็นเมื่อก่อนเราอาจจะต้องศึกษาข้อมูลโดยการไปค้นในหนังสือ📚 หรือสืบค้นจาก Google👨🏻‍💻 แล้วนำผลการศึกษาข้อมูลมาคิดวิเคราะห์และสรุปเป็นหัวข้อในการบรรยายด้วยตนเอง📝
แต่ยุคนี้ ยุคของ AI🏎️💨 ยุคของคุณ ChatG🦾 มันทำให้เราได้ข้อมูลโดยใช้เวลาเพียงน้อยนิดจากการถามและรอคำตอบจากหน้าจอเท่านั้น💻 เพราะคุณ ChatG🦾 เป็นผู้ทำหน้าที่ไปค้นในหนังสือหรือสืบค้นจาก Internet แทนเรา
ทั้งนี้หน้าที่ของเราก็ยังเหมือนเดิมคือเมื่อได้คำตอบมาแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่?🤔 เหมาะสมหรือไม่?🤔 ต้องปรับอะไรหรือไม่?🤔
หากทำได้แบบนี้เราก็จะทำงานไปกับคุณ ChatG🦾 ได้อย่างมีประสิทธิผล หรือที่เขาเรียกว่าทำงานแบบ productive นั่นเอง
📝โน๊ต: คำว่า Productive พูดแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ในเวลาเท่าเดิม สามารถทำผลงานได้มากขึ้น🏇🏿
🦾 คุณ ChatG ช่วยเตรียมเนื้อหา
เมื่อเราได้หัวข้อแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราก็ต้องมาเตรียมเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ🪧
เพื่อความ productive ก็ต้องให้ผู้ช่วยสอนของเรา นั่นก็คือ คุณ ChatG🦾 ไปเตรียมเนื้อหามาให้หน่อย
📝โน๊ต: เราสามารถคุยต่อเนื่องจากบทสนทนาที่เคยคุยไว้ก่อนหน้าได้เลย (ที่คุณ ChatG ให้หัวข้อการบรรยายเราไว้ 7 หัวข้อ ดังภาพก่อนหน้า)
  • 🌵ผู้เขียน: ช่วยเตรียมเนื้อหาในหัวข้อที่ 5 ให้ฉันหน่อย
  • 🤖คุณ ChatG: แน่นอนครับ นี่คือเนื้อหาในหัวข้อที่ 5 เกี่ยวกับกรณีศึกษาและตัวอย่างการตลาดออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ
เนื้อหาของหัวข้อที่ 5 ที่ ChatGPT แนะนำ
ลองสังเกตุคำถามที่ถามคุณ ChatG🦾 นะคะว่า แค่บอกว่าขอเนื้อหาหัวข้อที่ 5
คุณ ChatG🦾 ก็จะรู้เลยว่าหัวข้อที่ 5 คือ หัวข้อกรณีศึกษาและตัวอย่างการตลาดออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ
นั่นก็หมายความว่าคุณ ChatG🦾 จำได้ว่าเราได้คุยเรื่องอะไรมาก่อนหน้านี้
สิ่งนี้ก็คือสิ่งที่เราเรียกกว่า conversation (การพูดคุยกัน)
ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของคุณ ChatG🦾 ที่แตกต่างจากการค้นหาข้อมูลทั่วไปด้วย Google ซึ่งเราจะไม่สามารถทำในลักษณะแบบนี้ได้ ว้าว!!!!💯
🦾 สรุปกันหน่อย
🦿🦿ChatGPT เปรียบเหมือนผู้ช่วยสอน ไม่ใช่ผู้สอน ดังนั้นคุณครูในฐานะผู้สอนก็ยังต้องมีความรู้และต้องตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ช่วยสอนเตรียมมาให้ เหมือนตอนที่มีผู้ช่วยสอนเป็นคน แม้ว่าผู้ช่วยสอนอย่างคุณ ChatG จะรอบรู้เพียงใดก็ตาม
🦿🦿ChatGPT เป็นผู้ช่วยสอนที่ตอบคำถามให้เราได้ทุกเรื่อง แต่ก็ไม่ได้การันตีความถูกต้อง 100%⛔ (แม้จะมีความถูกต้องสูงก็ตาม) ดังนั้นคุณครูก็ยังต้องใช้ความรู้ความสามารถในการพิจารณาข้อมูลที่ได้รับเหมือนกับตอนที่เรามีคนเป็นผู้ช่วยสอน
ก่อนจบ ผู้เขียนได้ขอให้คุณ ChatG🦾 ช่วยเตรียมคำพูดสำหรับเปิดการบรรยายวิชานี้ให้หน่อย โดยผู้เขียนขอให้เป็นบทพูดแบบที่ทำให้ทุกคนตื่นเต้นอยากฟัง
คุณ ChatG🦾 จะเตรียมบทพูดให้ผู้เขียนแบบไหน มาดูกันค่ะ👀
บทพูดเปิดการบรรยายวิชาการตลาดออนไลน์ที่ ChatGPT แนะนำ
💜จนกว่าจะพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ🙋🏻‍♀️
ผู้เขียน: #youarewhatyoufeed
Credits:
ภาพ emoji โดย emojidb.org
ภาพอื่นๆ สร้างโดยผู้เขียนคุยกับ ChatGPT

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา