16 ม.ค. 2024 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม

ป่าไม้ในประเทศไทย ตอน 3 “ป่าเต็งรัง”

ป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest) หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก เป็นป่าผลัดใบประเภทหนึ่ง มีลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา มักปรากฎสลับกับป่าเบญจพรรณ พบในพื้นที่ที่ฤดูกาลแบ่งแยกชัดเจน มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน 4 เดือน/ปี ปริมาณน้ำฝน 900 - 1,200 มิลลิเมตร/ปี ดินตื้นและไม่กักเก็บน้ำ พบที่ระดับความสูง ตั้งแต่ 50 – 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับป่าเต็งรังมีชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว แต้ว มะค่าแต้ ประดู่ แดง มะขามป้อม มะกอก ผักหวาน สมอไทย ตะแบก เลือดแสลงใจ รกฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างเป็นหญ้า หญ้าเพ็ก ปรง กระเจียวเปราะ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง โจด และหญ้าชนิดอื่นๆ
ที่มา : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
#วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ #ป่าไม้ #ป่าไม้ในประเทศไทย #กรมอุทยาน #กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
โฆษณา