Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
17 ม.ค. 2024 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
ป่าไม้ในประเทศไทย ตอน 4 “ป่าเบญจพรรณ”
ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous forest) หรือป่าผลัดใบผสม มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้ทั้งหมดมีการผลัดใบในฤดูแล้ง ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย พบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่ระดับความสูง 50 - 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีปริมาณน้ำฝน 1,500 - 1,300 มิลลิเมตร/ปี
ป่าเบญจพรรณในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย
พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง พยุง ชิงชัน พี้จั่น ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยม หอม ยมหิน มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร่
ที่มา : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
#วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ #ป่าไม้ #ป่าไม้ในประเทศไทย #กรมอุทยาน #กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ท่องเที่ยว
สื่อทางเลือก
สิ่งแวดล้อม
บันทึก
5
3
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย