14 ม.ค. 2024 เวลา 01:34 • ความคิดเห็น

"ทุกครั้งที่พูด เราไม่เคยฉลาดขึ้น

แต่เราจะฉลาดขึ้นเมื่อเราฟัง"
ความลับของการเป็น “คนฟังเก่ง” ที่ไม่มีใครมาบอกคุณ
.
ทักษะหนึ่งอย่างที่คุณจำเป็นต้องมี ถ้าคุณอยากเก่งขึ้นแบบก้าวกระโดด คือ “ทักษะการฟัง”
.
เพียงแต่การจะเป็นคนที่ฟังเก่ง จำเป็นจะต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝน ไม่ใช่ว่าอ่านแต่หนังสือแล้วจะเชี่ยวชาญได้ในทันที
.
”คนที่ฟังเก่ง” จะได้รับความรู้มากกว่า “คนที่พูดเก่ง” เพราะ เมื่อคุณพูด คุณแค่ส่งข้อมูลออกไป แต่เมื่อคุณฟัง คุณจะรับข้อมูลและความรู้จากผู้พูดมา
.
และยิ่งผู้พูดเป็นคนเก่งที่อยากให้ความรู้แล้ว คุณจะยิ่งได้เปรียบคนอื่นหลายเท่าตัว
.
เมื่อคุณอยากเก่งและมีความรู้มีมากขึ้น คุณจำเป็นจะต้องเป็น “คนที่ฟังเก่ง” เหมือนอย่างที่ แลร์รี คิง พิธีกรชื่อดังชาวอเมริกา เคยบอกว่า
.
ทุกครั้งที่เราพูด เราไม่เคยฉลาดขึ้นเลย แต่เราจะฉลาดขึ้นเมื่อเราฟัง
.
ลองคิดภาพว่า ถ้าคุยกัน 1 ชั่วโมง แล้วคุณพูดไปแล้ว 40 นาที คุณจะได้ความรู้ใหม่แค่ 20 นาที กลับกันถ้าคุณตั้งใจฟัง มีถามแทรกบ้างเป็นบางครั้ง คุณจะได้ความรู้ทั้ง 1 ชั่วโมง
.
“การฟัง” ดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายแต่มันเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนและใช้ประสบการณ์สูง
.
ด้วยเหตุนี้เอง คุณสามารถมองคนออกได้ว่า คนไหนเป็น “คนมีความรู้” หรือ “ไม่มีความรู้” เป็น “ผู้นำ” หรือ “ผู้ตาม” ได้ด้วยการพิจารณาว่า “เขาคนนั้นเป็นคนฟังเก่งหรือไม่”
.
คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ เคยบอกว่า
.
เมื่อคุณเจอกับคนเก่งๆ และอยากได้ความรู้จากพวกเขา คุณจำเป็นต้องฟัง ทั้งต้องยอมรับด้วยใจว่า เขาคือ “คนเก่ง”
.
เมื่อคุณยอมรับว่าเขาเก่งและฟังอย่างตั้งใจ เมื่อนั้นภาษากายคุณจะบอกกับเขาว่า “คุณตั้งใจฟัง” และทำให้เขารู้สึกอยากจะพูดออกมาอย่างเต็มใจแบบไม่กั๊กความรู้
.
กลับกัน ถ้าคุณฟังแบบขอไปที หรือทำตัวเป็นคนรู้มาก ทั้งที่ไม่มีความรู้เลย “คนเก่ง” เขาจะไม่เล่าต่อ แล้วคุณจะไม่ได้ความรู้อะไรกลับมา
.
ครั้งหนึ่งผมเคยไปสมัครงานตำแหน่ง “หัวหน้าฝ่ายขาย” ที่ยิมแห่งหนึ่ง แล้วถูกเรียกตัวไปสัมภาษณ์กับ “ผู้จัดการสาขา”
.
ตอนสัมภาษณ์ ผมถูกถามด้วยคำถามมากมาย คำถามสุดท้ายที่ผมถูกถามคือ “ลองขายปากกาเล่มนี้ให้พี่หน่อย ?”
.
เมื่อสัมภาษณ์เสร็จ ผมคิดว่า “ยังไงก็ไม่น่าจะได้” เพราะ ตอบแบบตะกุกตะกัก สติแทบจะไม่เหลือตั้งแต่คำถามที่ 2 ที่ 3
.
เช้าวันต่อมา ผมได้รับสายโทรศัพท์จาก “ผู้จัดการ” คนเดิม นัดให้ผมไปสัมภาษณ์กับ “เจ้าของยิม”
.
เมื่อถึงเวลานัด “เจ้าของยิม” ให้ผมทำแบบทดสอบ ซึ่งบอกไว้ตรงนี้เลยว่า “ยากมาก”
.
“เจ้าของยิม” เห็นท่าว่า ผมทำไม่ได้ จึงรีบพูดขึ้นมาว่า “ที่พี่เรียกเรามาในวันนี้ เพราะ พี่รู้สึกตงิดใจจากวิธีการขายปากกาให้พี่ผู้จัดการเมื่อวันก่อน” แล้วร่ายยาวเรื่องการสมัครงานของผม
.
ผมที่ได้ยินแบบนั้นก็รู้ตัวว่า “ไม่ผ่านแน่” จึงชิงยิงคำถามไปยัง “เจ้าของยิม” ว่า
.
“ผมรู้สึกสนใจว่า พี่เริ่มต้นทำธุรกิจยิมนี้ยังไง ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ?”
.
“เจ้าของยิม” ได้ยินผมถามแบบนั้น จึงเริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ เริ่มทำงานที่แรกจนสร้างยิมแห่งนี้ด้วยเงินทุน 1.3 ล้านบาทที่แค่ซื้อเครื่องออกกำลังกายก็หมดแล้วให้ฟัง
.
ผมตั้งใจฟังที่ “เจ้าของยิม” เล่าพร้อมกับจดสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ลงไปในกระดาษ
.
“เจ้าของยิม” น่าจะเห็นผมตั้งใจฟังและจดมากจึงให้ “เคล็ดลับการเรียกเงินเดือนสูงๆ” ที่เขาใช้ตั้งแต่ทำงานที่แรก รวมถึงแนวคิดการใช้ชีวิตของเขาให้ฟัง
.
เมื่อถึงจุดนึง คุณจะไม่มีทางได้ความรู้บางอย่างจากการอ่านหนังสือ คุณต้องเริ่มเรียนรู้จากประสบการณ์และชีวิตของคนอื่น ซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นได้จากการฟังและการถาม
.
การจะเป็น “คนเก่งที่มีความรู้” คุณจำเป็นต้องมีทักษะการฟังที่ดี
.
ถ้าคุณถามดี ฟังเก่งและวิเคราะห์เป็น คุณจะเข้าใจสิ่งที่คนเก่งพูดอย่างถ่องแท้ ซึ่งนั้นจะเป็นบทเรียนชีวิตให้คุณใช้เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่คุณต้องการ
.
.
เขียนโดย วิชานอกห้อง
| ยกระดับตัวคุณ เพื่อเป้าหมายที่สำเร็จ
.
กดติดตาม “วิชานอกห้อง” เพื่อให้ไม่พลาดคำคมสร้างพลังและยกระดับความคิดให้ดีขึ้นในทุกๆ วัน
.
.
#วิชานอกห้อง
#Wichanokhong
#บทความนอกห้อง
#ยกระดับความคิด
โฆษณา