20 ม.ค. เวลา 00:00 • การเมือง

ลีกวนยูสร้างประเทศอย่างไร ตอนที่ 3

เฆี่ยนข้ามชาติ
2
ในเดือนกันยายน 1993 รถยนต์ 67 คันถูกทําลาย ณ ย่านต่างๆ ในสิงคโปร์ กระจกหน้าถูกทุบ รถถูกพ่นสีเปรอะเปื้อน ตํารวจจับผู้ต้องสงสัยเป็นวัยรุ่นสองคน ซึ่งให้การซัดทอดผู้ร่วมทําอีกเจ็ดคน ทั้งหมดเป็นนักเรียนต่างชาติโรงเรียน Singapore American School และ ISS International School
2
ในเดือนมีนาคม 1994 ตํารวจจับกุมวัยรุ่นทั้งหมด พบของกลางที่ถูกขโมยมา เช่น ป้ายจราจร ทั้งหมดถูกส่งขึ้นศาล ข้อหาขโมยของและทําลายทรัพย์สิน (vandalism)
1
หนึ่งในผู้ถูกจับเป็นเด็กหนุ่มอเมริกัน ชื่อ ไมเคิล เฟย์ เขาสารภาพผิด แต่ต่อมากลับคําให้การ ไมเคิล เฟย์ ถูกศาลตัดสินโทษจําคุกสี่เดือน ปรับ $3,500 และ เฆี่ยน 6 ที ส่วนเพื่อนของเขาที่ไม่ยอมสารภาพ ถูกจําคุกแปดเดือน หวด 12 ที
3
ทันใดนั้นคดีนี้ก็เป็นข่าวไปทั่วโลก สื่อใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ เช่น The New York Times, The Washington Post, The Los Angeles Times พากันโจมตีรัฐบาลสิงคโปร์ว่า นี่เป็นบทลงโทษที่ป่าเถื่อน บ้างว่ามันเป็นวิถีเอเชียที่ล้าหลัง
1
ชาวอเมริกันแบ่งความเห็นสองฝั่งเท่ากัน แต่เกิดรอยหมางระหว่างสหรัฐฯ และสิงคโปร์เรียบร้อยแล้วประธานาธิบดี บิล คลินตัน ขอร้องรัฐบาลสิงคโปร์ให้อภัยโทษเด็กหนุ่มอเมริกัน สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯลงชื่อขอให้ทางสิงคโปร์ยกเลิกการลงโทษชาวอเมริกัน
รัฐบาลสิงคโปร์ยืนยันในกฎหมายของตน จะไม่มีการนิรโทษกรรมใดๆ ทั้งสิ้นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยสิงคโปร์บอกว่า กฎหมายที่เข้มงวดแบบนี้ ทําให้ประเทศสิงคโปร์ปลอดภัย แทบไร้อาชญากรรม ต่างจากเมืองนิวยอร์กที่แม้แต่รถตำรวจก็ยังโดนพ่นสี
8
ลีกวนยูให้สัมภาษณ์ต่อสื่อว่า สหรัฐฯไม่ปลอดภัยและไม่มีความสงบ ก็เพราะไม่กล้ายับยั้งหรือลงโทษคนผิด
5
เขากล่าวว่า “ถ้าพวกคุณชอบแบบนี้ มันก็เป็นปัญหาของพวกคุณ แต่นั่นไม่ใช่ทางที่เราเลือกเดิน”
5
อย่างไรก็ตาม เพื่อเห็นแก่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประธานาธิบดีสิงคโปร์ อองเต็งชอง อนุมัติให้ลดจํานวนเฆี่ยนเหลือ 4 ที
2
ไมเคิล เฟย์ ถูกเฆี่ยนในวันที่ 5 พฤษภาคม 1994 ในคุก Queen-stown Remand Prison
3
สื่อสหรัฐฯ New York Newsday วันที่ 20 เมษายน 1994 รายงานข่าวการลงโทษ ไมเคิล เฟย์ ว่า
1
“ไม้เรียวไผ่ฟาดเข้าไปสองครั้ง เลือดพุ่งกระฉูดออกมา เนื้อแยกหลุด นักโทษร้องโหยหวนอย่างเจ็บปวดรวดร้าว การเฆี่ยนกระทำต่อหน้าฝูงชนหลายร้อยคน ทุกคนรู้สึกชอบใจ ทุกครั้งที่นักโทษถูกหวด ฝูงชนร้องเชียร์ลั่น เหมือนเกมฮอคกี พวกเขามีความสุขในภาพที่เห็น”
4
มันเป็นข่าวที่นั่งเทียนเขียนและจงใจบิดเบือน เพราะการลงโทษกระทําภายในเรือนจําเท่านั้น ประชาชนคนนอกเข้าไปไม่ได้
6
เฆี่ยนให้หลาบจํา
การลงโทษทางกาย หรือ corporal punishment มีมาแต่โบราณ เช่น ในสมัยกลาง สยามในสมัยก่อนก็มีการลงโทษ เช่น ตอกเล็บ บีบขมับ ฯลฯ
1
ในโลกตะวันออกบางที่ ยังมีการลงโทษที่แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เช่น โทษตัดมือเมื่อขโมยของ ปาหินจนตายในกรณีชู้สาวและรักร่วมเพศ เป็นต้น
1
สิงคโปร์ไม่ได้เป็นสมาชิกองค์กรสิทธิมนุษยชนใดๆ ที่ห้ามการลงโทษทางกาย corporal punishment นี้เป็นมรดกตกทอดมาจากอังกฤษ ตั้งแต่มายึดหลายประเทศในเอเชียเป็นอาณานิคมในศตวรรษที่ 19 มลายู สิงคโปร์ บรูไน ล้วนมีกฎหมายนี้
3
หลังจากมลายูเป็นเอกราชจากอังกฤษในปี 1957 และสิงคโปร์ แยกตัวออกมาในปี 1965 กฎหมายนี้ก็ยังใช้กันอยู่ ส่วนกฎหมายลงโทษโดยการเฆี่ยนคนที่เขียนกราฟิตี (The Vandalism Act) ที่ ไมเคิล เฟย์ โดน โดน เกิดขึ้นภายหลัง ในปี 1966
2
หลังจากมีคนเขียนข้อความในที่สาธารณะต่อต้านพรรค People’s Action Party (PAP) ของลีกวนยู โทษคือหวด 3-8 ที The Vandalism Act มักไม่ลงโทษคนที่กระทําผิดครั้งแรกและใช้สีที่ลบได้ เช่น ดินสอสี ชอล์ค โทษเฆี่ยนไม่ใช่บทลงโทษโดยตัวมันเอง
2
การเฆี่ยนคือโบนัส แถมพิเศษจากโทษจําคุก มีการกระทําผิดราว 35 รายการที่จะต้องโทษเฆี่ยน เช่น การปล้น จับคนเรียกค่าไถ่ ฆาตกรรม ค้ายาเสพติด ละเมิดทางเพศ (เช่น ไปจับ ต้องของสงวนหญิงสาว) การข่มขืน พกอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต การ ปล่อยเงินกู้โดยผิดกฎหมาย รวมถึงคนต่างชาติที่อยู่เกินกําหนดเกิน 90 วัน (เพื่อขจัดปัญหาคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย) เป็นต้น
3
บทลงโทษโดยการเฆี่ยนใช้สําหรับนักโทษที่อายุไม่เกิน 50 ปีเท่านั้น นักโทษประหารก็ได้รับการยกเว้นการเฆี่ยนผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 18 ที่กระทําผิด ก็อาจโดนเฆี่ยน แต่ใช้ไม้เรียวขนาดเล็กลง สําหรับนักโทษที่แม้บทลงโทษไม่รวมการเฆี่ยน แต่ถ้าประพฤติตัวไม่ดีในคุก ก็อาจโดนจับเฆี่ยนเช่นกัน การเฆี่ยนทําในเรือนจํา
ไม่ใช่ในที่สาธารณะ และไม่มีกําหนดเวลาล่วงหน้า จะรู้ในวันที่จะถูกเฆี่ยนเลย
5
เจ้าหน้าที่เฆี่ยนเป็นมืออาชีพ รูปร่างใหญ่ แข็งแรง ตั้งฉายาว่า ‘คอมมานโด’ ฝึกมาทำงานนี้โดยเฉพาะ เวลาเฆี่ยน น้ำหนักตัวของคนเฆี่ยนจะทําให้การหวดแรงขึ้น เพื่อให้เจ็บที่สุด
2
ไม้ที่ใช้เฆี่ยนเป็นหวาย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.27 เซนติเมตรหรือครึ่งนิ้ว ความเร็วของไม้เรียวที่ฝ่าอากาศอาจสูงถึง 160 กม./ชม. ด้วยความแรงขนาดนี้ เมื่อหวายสัมผัสก้นเปลือย เนื้อก็ฉีก ดังที่ ไมเคิล เฟย์ ให้สัมภาษณ์สื่ออเมริกาในเวลาต่อมาว่า “เลือดไหลออกมารอยเฆี่ยนเหมือนเลือดกำเดา”
7
การเฆี่ยนมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เฝ้าดูทุกครั้ง เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะตรวจร่างกายก่อนว่าร่างกายพร้อมรับการลงโทษหรือไม่ ถ้าร่างกายไม่พร้อม นักโทษจะถูกส่งตัวไปที่ศาลใหม่ เพื่อให้ศาลตัดสินว่าจะยกเลิกการเฆี่ยน หรือเปลี่ยนการเฆี่ยนเป็นเวลาจองจําเพิ่มแทน แต่เพิ่มได้ไม่เกิน 12 เดือน
4
ในการเฆี่ยน นักโทษต้องแก้ผ้า โค้งตัวเข้ากับขาหยั่งไม้ เจ้าหน้าที่ติดอุปกรณ์ปกป้องแผ่นหลังส่วนล่าง เพื่อไม่ให้โดนหวายที่ตำแหน่งที่อาจก่ออันตรายต่ออวัยวะภายใน เช่น ไต หรือกระดูกสันหลัง
4
ในกรณีที่หวดพลาดการหวดเว้นระยะเวลา 30 วินาที ต้องหวดให้จบในรอบเดียวไม่มีการต่อวันหลัง ถ้าต้องหวดจำนวนครั้งสูง (สูงสุด 24 หวดต่อคดี) อาจใช้ คอมมานโด 2-3 คน เพื่อให้แรงหวดเท่ากัน ไม่แผ่วลงระหว่างหวด ถ้าสภาพนักโทษไปต่อไม่ไหว เจ้าหน้าที่การแพทย์จะสั่งยุติการเฆี่ยน ส่งกลับไปที่ศาลพิจารณาใหม่
3
ในกรณีที่มีการเฆี่ยนนักโทษหลายคนในวันเดียวกัน คนที่มีโทษจำนวนหวดมากกว่าไปก่อน นักโทษคนอื่นที่มีคิวการเฆี่ยนในวันนั้นก็จะได้รับเกียรติให้ฟังเสียงร้องของคนที่กำลังถูกเฆี่ยน เป็นผลทางจิตวิทยาเมื่อไม้เรียวกระทบก้นเปลือย แรงหวดจะฉีกผิวหนัง เลือดจะไหล
4
คนที่ได้รับมากกว่าสามหวด เมื่อเสร็จสิ้น ร่างกายมักเกิดภาวะช็อค หลังเฆี่ยนเสร็จ จะได้รับครีมฆ่าเชื้อไปทาแผล และได้รับยาแก้ปวดและปฏิชีวนะ นักโทษต้องนอนคว่ำ ไปหลายวันหรืออาทิตย์ แผลจะหายราวไม่เกินหนึ่งเดือน แต่แผลใจดำรงไปตลอดชีวิต
5
ไม่ว่าจะถูกเฆี่ยน 3 ทีหรือ 24 ที มันจะเป็นฝันร้ายไปตลอดชีวิตการรอการเฆี่ยน การเฆี่ยน การรักษาแผล กินเวลานาน และสร้างผลทางจิตวิทยาอย่างสูง ทําให้เข็ดหลาบ ออกจากคุกไป ก่อนจะเอื้อมมือไปลวนลามหญิงสาวคนใด ก็อาจต้องคิดใหม่ เพราะเจ็บแบบนี้ จำได้แน่นอน
8
ในหลายประเทศ คนมีเงินไม่ค่อยกลัวการทําความผิด เพราะ เงินซื้อได้ทุกอย่าง และมีปัญญาหาเงินมาจ่ายค่าปรับ แต่หากเจอไม้เรียว ไม่มีใครเอาด้วย กฎหมายสิงคโปร์เข้มข้นกว่าเอสเพรโซสิบแก้วรวมกัน
8
Correct, not politically correct
ในยุคแรกๆ ของการสร้างประเทศ สิงคโปร์น่าจะเป็นประเทศเดียวในโลกที่ให้บริการตัดผมให้นักท่องเที่ยวฟรี นักท่องเที่ยวตะวันตกที่เป็นฮิปปี เมื่อเข้าสิงคโปร์ จะถูกบังคับให้ตัดผม มิฉะนั้นก็ไม่ต้องเข้าประเทศปัจจุบันไม่มีกฎหมายดังกล่าวแล้ว
4
ผมเคยอาศัยอยู่ในสองเมืองที่ต่างกันฟ้ากับเหว หลายมุมในนิวยอร์กสกปรกมาก เต็มไปด้วย ‘ศิลปะ’ ที่เรียกว่า กราฟฟิตี รถไฟฟ้าใต้ดินและสถานีแทบทั้งหมด เต็มไปด้วยกราฟฟิตี หากเดินผ่านในเวลากลางคืน จะเหมือนฉากในหนังโลกหลังสงคราม ในเวลาเดียวกัน รถไฟฟ้าใต้ดินที่สิงคโปร์เหมือนรถออกใหม่สะอาดทั้งตัวรถ และกลิ่นสะอาด
9
เหตุผลหนึ่งก็เพราะหากใครเผลอหิ้วทุเรียนเข้ารถไฟฟ้าใต้ดินหรือรถเมล์ ก็ควรเตรียมเงิน 3,000 เหรียญเป็นค่าปรับ 3,000 เหรียญในยุคที่ผมอยู่อาจเป็นเงินเดือนสองเดือนของหลายคน
4
ในยุคหนึ่ง สิงคโปร์เคยเลอะเทอะด้วยหมากฝรั่งในที่สาธารณะ อาจเป็นความตั้งใจของคนบางคนที่ระบายความเก็บกดหรือเป็นความมักง่ายตามนิสัย หากจะตามไล่จับคนพวกนี้ขึ้นศาล ก็เหนื่อยเปล่าๆ
สิงคโปร์แก้ปัญหาแบบตรงๆ แบนหมากฝรั่งไปเลย
5
จบข่าว
หลายสิบปีก่อน ขณะที่ชาวโลกยังสามารถสูบบุหรี่บนเครื่องบินได้ สิงคโปร์ออกกฎบีบให้ประชาชนลดการสูบบุหรี่ เพราะเห็นว่าบุหรี่เป็นภัยสุขภาพ และเสียค่าใช้จ่ายของรัฐในการรักษาโรคจากบุหรี่ และเสียเวลาหมอเปล่าๆ
4
รัฐบาลออกกฎห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ และบนเครื่องบน แม้ไม่ได้ออกกฎห้ามประชาชนสูบบุหรี่โดยตรง แต่ก็ทําให้การสูบบุหรี่เป็นภาระ นั่นคือขึ้นราคาบุหรี่ และจํากัดพื้นที่สําหรับสูบบุหรี่ จนในที่สุดการสูบบุหรี่ก็เป็นเรื่องวุ่นวายในเรื่องการขับรถ หากใครคนหนึ่งถูกตำรวจจราจรจับฐานกระทําผิดกฎจราจร ไม่มีใครกล้ายัดเงินตํารวจ เพราะเสี่ยงมาก และมีโอกาสสูงมากที่ได้ไปกินข้าวฟรีในคุก
3
การทําผิดกฎจราจรไม่ใช่การจ่ายค่าปรับอย่างเดียว แต่จะถูกหักคะแนนด้วย คนขับรถทุกคนมี 24 คะแนน การทําผิดแต่ละครั้งจะ ถูกหักคะแนน มากหรือน้อยขึ้นกับความผิด หากหักคะแนนหมด ก็ถูกยึดใบขับขี่
4
ครั้งหนึ่งคนที่ผมรู้จักขับรถยนต์ชนมอเตอร์ไซค์คันหนึ่งเสียหาย เมื่อเรื่องถึงตำรวจ คนขี่มอเตอร์ไซค์ถูกตัดสินให้ผิด เพราะขับขี่พาหนะผิดเลน กฎหมายจราจรสิงคโปร์เข้มงวดมากในเรื่องนี้ ต้องขี่มอเตอร์ไซค์ในเลนมอเตอร์ไซค์เท่านั้น ผลก็คือคนขี่มอเตอร์ไซค์ต้องจ่ายค่าเสียหายซ่อมรถเอง
4
ไม่มีกติกาแบบไทยๆ ที่ว่า “คนขี่มอเตอร์ไซค์ถูกเสมอ” และไม่มีภาพที่เราคุ้นตา คือเมื่อรถยนต์จอดให้คนเดินข้ามถนน คนเดินจะโค้งคำนับขอบคุณคนขับรถ ด้วยสำนึกในเมตตาธรรม
5
เนื่องจากทั้งปีทั้งชาติ เราไม่ค่อยเจอรถยนต์จอดให้คนข้าม แต่ในสิงคโปร์ รถยนต์ทุกคันจะจอดให้คนข้ามก่อนเสมอ ไม่ใช่เพราะเมตตาธรรม แต่กฎหมายแรง แต่หากคนเดินถนนไม่ข้ามตรงทางม้าลาย ถูกรถชน ก็เป็นฝ่ายผิด
7
สิงคโปร์ปรับโน่นปรับนี่ เยอะจนผมเคยเห็นคนทําเสื้อยืด “Singapore is a FINE country!” ออกมาขายแบบขำๆ (หรือเศร้าๆ ก็ไม่รู้!)
5
ลีกวนยู
ลีกวนยูกล่าวว่า “ผมมักถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงชีวิตส่วนตัวของพลเมือง ใช่ ถ้าผมไม่ทําอย่างนั้น เราก็ไม่ได้มาถึงจุดนี้ในวันนี้ และผมสามารถพูดได้โดยไม่เสียใจสักนิดว่า เราจะไม่สามารถมาถึงจุดนี้ เราจะไม่สร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ถ้าเราไม่แทรกแซงเรื่องส่วนตัวทุกเรื่อง ใครคือเพื่อนบ้านของคุณ คุณอยู่ยังไง เสียรบกวนที่คุณก่อ คุณถ่มน้ำลายยังไง หรือภาษาอะไรที่คุณใช้ เราตัดสินทําสิ่งที่ถูกต้องไม่แยแสว่าประชาชนคิดยังไง”
7
เขายังบอกว่า “ผมพยายามเสมอที่จะทําเรื่องถูกต้อง (correct) ไม่ใช่ความถูกต้องทางการเมือง (politically correct)”
7
เสรีภาพต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ
11
ในปี 2021 เมื่อโควิด 19 ระบาดหนักในสิงคโปร์ รัฐบาลออกกฎให้พลเมืองสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ สตรีคนหนึ่งไม่สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ คนแปลกหน้าคนหนึ่งเดินไปหาเธอ เตือนให้เธอสวมหน้ากากเสีย
1
เธอสวนกลับว่า “คุณเป็นใคร? มีสิทธิ์อะไร? นี่เป็นเสรีภาพของฉัน”
ใครคนนั้นบอกว่าเขาเป็น Covid Ambassador เมื่อออกกฎสวมหน้ากาก รัฐบาลสิงคโปร์รับสมัครอาสาสมัครตรวจตราประชาชนให้สวมหน้ากาก และสวมให้ถูกต้อง เรียกว่า Covid Ambassador
2
สตรีผู้นั้นเถียงว่า นี่เป็นเสรีภาพส่วนตัว ไม่มีใครสามารถบังคับให้เราสวมหน้ากากอนามัยได้ (ซึ่งเป็นทัศนคติของคนอเมริกันจํานวนมาก และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทําให้ชาวอเมริกันตายไปเพราะโควิดมากกว่าล้านคน สูงที่สุดในโลก)
3
ผลก็คือเธอถูกจับ ส่งขึ้นศาล ศาลตัดสินจําคุกเธอ 16 สัปดาห์
3
หลังออกจากคุก เธอก็ยังไปไหนมาไหนโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย ผู้คนถ่ายรูปเธอลงโซเชียล มีเดีย ไม่นานสตรีผู้รักเสรีภาพก็พบตัวเองอีกครั้งในศาล คราวนี้ศาลลงโทษจําคุก 9 สัปดาห์ ปรับ $3,000
4
เพราะเสรีภาพส่วนตัวของเธอ อาจทําให้คนอื่นเป็นอันตรายได้ รัฐบาลสิงคโปร์เห็นว่าเสรีภาพส่วนตัวหากไปละเมิดคนอื่น ก็ไม่ใช่เสรีภาพแล้ว และไม่เคยอะลุ่มอะล่วยกับคนแบบนี้คนสิงคโปร์เชื่อว่า เสรีภาพต้องมาพร้อมความรับผิดชอบ และ หน้าที่พลเมือง
11
ในหลายประเทศ หลายสังคม เมื่อมีการลงโทษหนัก องค์การสิทธิมนุษยชนต่างๆ มักกดดันรัฐบาลประเทศนั้นๆ ให้ทําตัว ‘ศิวิไลซ์’ เหมือนโลกตะวันตก แต่ในมุมมองของลีกวนยู หากคุณไม่ทําผิด จะกลัวกฎหมายไปทําไม
5
บางทีการที่สิงคโปร์เป็น ‘fine country’ ได้ ก็เพราะประชาชนยอมรับยาแรง เช่น ไม้เรียว เพราะมองเห็นความปลอดภัยและความสงบสุขของสังคมในภาพรวม และเหตุที่ประชาชนเชื่อว่ากฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ก็เพราะเห็นกับตาว่าหัวไม่ส่าย หางไม่กระดิก คนระดับรัฐมนตรียังจบชีวิตเพราะเรื่องคอร์รัปชัน
8
ดังที่ลีกวนยูเขียนในหนังสือ From Third World to First: The Singapore Story: 1965-2000 ว่า “เริ่มที่ส่งเพื่อนของคุณสักสามคนเข้าคุก คุณก็จะรู้แน่นอนว่าทําไปทําไม และประชาชนจะเชื่อคุณ”
5
เมื่อคนเชื่อว่ากฎหมายศักดิ์สิทธิ์ เป็นกฎหมายของจริง ก็ทําให้พลเมืองรู้หน้าที่ และลดปัญหาคนทําผิดไปโดยปริยาย
3
ผลก็คือรัฐบาลไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรในการแก้ปัญหาการทําผิดกฎหมายมากเหมือนประเทศอื่นๆ และใช้เวลาไปพัฒนาประเทศจริง
9
(อ่านตอนจบเสาร์หน้า)
โฆษณา