17 ม.ค. เวลา 18:40

“แนวทางสำหรับการลงสีตาเทียมเฉพาะบุคคลด้วยเครื่องพิมพ์สียูวี”

การที่ต้องสูญเสียดวงตา ส่งผลต่อจิตใจ ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง และกระทบต่อคุณภาพ ชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม งานประดิษฐ์ตาเทียมเฉพาะบุคคล ถือเป็นความท้าทาย ที่จะช่วยให้รอยยิ้มของคนไข้กลับคืนมา ต้องใช้ทักษะทางศิลปะอย่างมาก ในการเลียนแบบสี และลักษณะของตาดำ ตาขาว ตามดวงตาที่เหลืออีกข้าง โดยที่ต้องมีขนาดที่พอดีกับช่องว่างของแต่ละคน รวมเป็นองค์ประกอบตาเทียมเฉพาะบุคคลที่สมบูรณ์แบบ โดยส่วนสำคัญที่ใช้เวลา และมีผลต่อความสำเร็จสูงสุด คือการลงสี
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการลงสีตาเทียมเฉพาะบุคคล ด้วยเครื่องพิมพ์สียูวี เพื่อศึกษาขั้นตอนสำคัญด้วยวิธีการพิมพ์สีนี้ จะสามารถลดเวลาที่ใช้ในการประดิษฐ์ลง และยังคงให้ความสวยงามเหมือนจริงได้หรือไม่ อย่างไร
ขั้นตอนการลงสีของตาเทีนมเฉพาะบุคคลที่ต้องใช้ประสบการณ์ขั้นสูงของช่างทันตกรรม ทำให้บุคลากรไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของผู้ป่วย
ปัญหาที่พบบ่อยในการผลิตตาเทียมเฉพาะบุคคลคือ การที่สี และองค์ประกอบอื่น เช่นขนาด และขอบตาดำ ไม่ตรงกับตาที่เหลืออยู่อีกข้าง เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่นขาดเทคนิค หรือเกิดความผิดพลาดจากขั้นตอนการเคลือบผิว ดังนั้นสีของขาเทียมจึงมักจะต้องมีการแก้ไข ทำให้ใช้เวลาและสิ้นเปลืองวัสดุมากขึ้น และที่สำคัญบุคลากรที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ต้องมีการค้นหาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน มาช่วยทดแทนช่างเทคนิคที่มีประสบการณ์ ซึ่งมีจำกัดมากกว่า
อุปกรณ์และโปรแกรม ที่ใช้ในการพัฒนาเทคนิคการลงสี
ขั้นตอนการทดสอบ
  • 1.
    เตรียมชิ้นงานตัวอย่าง
  • 2.
    ถ่ายภาพดวงตาจริง ฝั่งตรงข้าม นำมาปรับด้วยโปรแกรม
  • 3.
    ทดสอบการพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ยูวี
  • 4.
    ทดสอบสีที่ได้โดยเทียบกับภาพจริง
  • 5.
    ทดสอบควสมทนของชั้นสีต่อมอนอเมอร์ (PMMA)
การเตรียมชิ้นงานตัวอย่าง ภาพถ่ายดวงตา และผลการพิมพ์ภาพ
ในขั้นตอนการพิมพ์ภาพ พบว่าแท่นพิมพ์เหมาะสำหรับงานพื้นผิวเรียบ ตาดำภาพคมชัด แต่เนื่องจากส่วนของตาขาวมีพื้นผิวที่โค้งมน จึงมีความยากต่อการปรับตำแหน่งหัวฉีดสีให้พอดี
ภาพแสดงการลดเวลาการทำงานไปได้ 40% และข้อดี ข้อเสียของการพัฒนา
ข้อดี
  • 1.
    ช่วยลดเวลาการทำงาน รวมถึงลดการนัดลงได้ 40%
  • 2.
    สามารถกระจายงานให้เจ้าหน้าที่มาช่วยงานแต่งภาพ และสั่งปริ้นท์ได้
  • 3.
    มีความแม่นยำเนื่องจากสามารถใช้โปรแกรมกำหนดพื้นฐานของสี และทำซ้ำได้รวดเร็ว
ข้อด้อย
  • 1.
    การถ่ายภาพ และการแต่งภาพ ต้องฝึกความชำนาญเพิ่มเติม
  • 2.
    แท่นพิมพ์ยังคงมีราคาแพง และฐานยังคงมีเฉพาะแบบเรียบ
References
  • 1.
    Pun SN, Shakya R, Adhikari G, Parajuli PK, SinghRK, and Suwal P 2016 JCMS Nepal 12(2) 127
  • 2.
    Goiato MC, Bannwart LC, Haddad MF, Santos DM, Pesqueira AA, and MiyaharaGI 2014 Orbit 33(3) 229
  • 3.
    Sarin S, Gupta R, Luthra RP, Sharma V, and Ahirrao R 2015 J Adv Med Dent Scie Res 3(1) 160
  • 4.
    Moreno A, Goiato MC, Oliveira KF, Iyda MG, Haddad MF, Dekon SF, and Santos DM 2015 Contact Lens & Anterior Eye 38 414
  • 5.
    Shah RM, Coutinho I, Chitre V, and Aras MA 2014 J Indian Prosthodont Soc 14(1) S248
โฆษณา