Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
sit and read TH
•
ติดตาม
17 ม.ค. เวลา 19:26 • ไลฟ์สไตล์
เปลี่ยนความคิด เพื่อ"ฉลาด"ในการใช้ชีวิต
เรามาทำความรู้จักเรื่องของการคุยให้เป็นที่ดูผ่านๆ อาจเป็นเรื่องง่าย แต่การคุยให้เข้าประเด็นและเพื่อให้ได้ใจของคู่สนทนานั้นเป็นเรื่องยาก
เมื่อถามมุมมองของการมีไหวพริบที่ดีคืออะไร มันคือการมีความสามารถในการสื่อสารสิ่งที่คุณคิดในขณะที่คิดถึงใจของคู่สนทนาและไม่เผลอทำให้ใครรู้สึกขุ่นเคืองโดยไม่ได้ตั้งใจ การมีไหวพริบไม่ได้แปลว่าคุณต้องปิดบังความรู้สึกของตัวเอง แต่คือการแสดงความคิดเห็นออกไปอย่างน่าดึงดูดใจโดยไม่ทำให้ใครขุ่นเคือง หากคุณอยากรู้ว่าต้องแสดงออกหรือสนทนาอย่างไรถึงจะดูมีไหวพริบ มาลองเช็กดูกัน
1. ฉลาดในการ"ปฏิเสธ"
ในหลายครั้งนั้น เราผ่านสถานะการณ์ในการที่ไม่กล้าปฏิเสธคนอื่น อาจเป็นเพราะกลัวเสียความรู้สึก หรือกลัวเสียน้ำใจ ความจริงนั้น "การปฏิเสธ" ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรเราควรตกผลึกความคิดให้เรียบร้อยก่อนที่จะพูดคำว่า"ใช่" ในที่นี้
ขอยกตัวอย่างบุคคลสำคัญอย่าง Warren Buffett มหาเศรษฐีนักเล่นหุ้น ในแต่ละวันของเขานั้น เขาต้องเจอกับหุ้น และข้อตกลงทางธุรกิจของเขามากมาย และเคล็ดลับของการประสบความสำเร็จของเขาคือการ" ปฏิเสธ "เพราะในทุกๆวันจะมีโครงการจำนวนมากผ่านมือของเขา และเขาก็จะนั่งอ่านจนตกผลึกอย่างมั่นใจแล้วเขาถึงจะตกลงพูดคำว่า" ใช่ "
ฉะนั้นแล้วความกล้าที่จะพูดคำว่า"ปฏิเสธ" และความพิถีพิถันในการที่จะพูดคำว่า" ใช่ "จึงเป็นที่มาความสำเร็จของ วอร์เรน บัฟเฟต
เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ครอบคลุมแต่เรื่องงานแต่ครอบคลุมในทุกๆด้านของชีวิต เพราะว่าการ "ปฏิเสธ"มันจะทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น ในบางครั้งนั้นเราควรเรียนรู้การปฏิเสธบ้าง ถ้าเราพูดแต่คำว่า"ใช่" นั้นก็แปลว่าทุกอย่างนั้นดีไปหมดโดยไม่มีข้อเสียเลย
2. ฉลาดในการหักห้ามที่จะพูดถึงตัวเองแม้คู่สนทนาจะถาม
จากการเก็บแบบสำรวจกลุ่มคนที่เขานั้นเก็บตัวมากๆ หรือคนที่เปิดตัวในการเข้าสังคมมาก สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคนทั้งสองประเภทนี้คือ เวลาถูกตั้งคำถามหลายคนมักจะหยุดหรือหักห้ามตัวเองไม่ได้มักจะปล่อยให้หลุดพูดออกไปอย่างยืดยาวโดยคู่สนทนาไม่สามารถจับใจความประเด็นหลักได้
ยกตัวอย่าง มีคู่สนทนาอยู่ 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 นั้นคือคู่สนทนามีบุคลิกที่ดีและหน้าตาดีมีอารมณ์ขำขันในเวลาสนทนาเขาจะไม่ค่อยถามกลับ และไม่ค่อยอยากจะรู้เรื่องของเรา
แต่มาคุยกับคู่สนทนาประเภทที่ 2 ที่พึ่งรู้จักกัน เล่าเรื่องน่าเบื่อ พูดไม่ค่อยเก่ง และไม่ค่อยมีอารมณ์ขำขัน แต่เมื่อคุยบทสนทนาจบเขาเลือกที่จะถามโต้ตอบกลับมาทุกครั้ง ทั้งในการคุยระดับพื้นฐานหรือแบบเจาะลึก จากแบบสอบถามคู่สนทนานั้นรู้สึกชอบคนคุยประเภทที่ 2 มากกว่า และรู้สึกว่าคนประเภทที่ 2มีเสน่ห์มากกว่า
ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือการหัดห้ามใจเมื่อถูกตั้งคำถามที่ไม่อยากถูกถาม เรานั้นควรหลีกเลี่ยงคำถามอย่างไรให้สุภาพ ตอบแบบคราวๆให้บทสนทนาดำเนินไปอย่าง smooth และเปิดโอกาสให้คนอื่นได้พูดโดยเร็วที่สุด แต่ถ้าเจอคนที่ฟังเก่งให้เราคิดในใจไว้เลยว่า "ไม่มีใครที่ชอบฟังอะไรยาวๆและไม่อยู่ในประเด็น"ความจริงแล้วมันอยู่ที่การตั้งคำถามที่น่าสนใจและดำเนินบทสนทนาไปอย่างลื่นไหล
3. ฉลาดที่จะแชร์เรื่องส่วนตัว
หากต้องการเชื่อมความสัมพันธ์ในเรื่องงานหรือเรื่องความรักหรืออะไรก็ตามสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจจริงๆให้เปลี่ยนมาคุยเรื่องที่เจาะลึก และลึกซึ้งดีกว่าที่จะคุยในเรื่องสัพเพเหระแต่ต้องควรระวังการสนทนาเหล่านี้กับคนที่ไม่สนิทมาก แต่ให้สนทนากับคนที่เรารู้จักมาแล้วในระดับนึง เช่นบุคคลที่เราเจอกันบ่อยๆ หรือกินข้าวด้วยกันบ่อยๆ
นั้นก็คือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคู่สนทนาอย่างมีศลิปะ(ไม่ใช่การถามเรื่องส่วนตัวแบบตรงๆ) ยกตัวอย่างเช่นการถามวิธีเก็บเงินหรือบริหารเงินในแต่ละเดือนอย่างไร เป็นต้น หรือการเล่าเรื่องราวที่เป็นความลับของเราที่เล่าให้กับเพื่อนฟังแล้วค่อยถามกลับไปว่า "คุณเคยมีประสบการณ์แบบนี้มาก่อนไหม?"
ส่วนใหญ่แล้วคู่สนทนามักจะแชร์เรื่องราวของเขาออกมาเล่าบ้าง ถ้าบทสนทนานั้นลึกซึ้งมากพอ และจะทำทำให้การสนทนานั้นมีรสชาติในการคุย
4. ฉลาดที่จะเบี่ยงเบนความสนใจจากความเห็นแย่ๆ
คงมีไม่บ่อยครั้งที่คนรอบตัวคุณหรือจะเป็นเพื่อนร่วมงานเอาแต่แสดงความเห็นด้านลบออกมา คุณควรหลีกเลี่ยงไม่พัวพันกับเรื่องพวกนี้ หากอยากเป็นคนมีทรรศนะที่ดี โดยเฉพาะถ้าหากเป็นช่วงของวัยทำงานแล้ว และไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองในที่ทำงานแล้วนั้น มีหลายวิธีที่สามารถเบี่ยงเบนความสนใจไปจากความเห็นแย่ ๆ และรอดพ้นสถานการณ์อันคุกรุ่นได้อย่างสวยงาม ยกตัวอย่างเช่น
การแก้ไขคำนินทาของเพื่อนร่วมงานอย่างนุ่มนวล อาจหมายถึงการนำคำพูดอันรุนแรงมาแก้ไข และพูดในทางที่ดี ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นโกหกทางอ้อมก็ตามมันก็เป็นการโกหกแบบ white lie ที่หวังดีต่อคู่สนทนาโดยไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลที่กำลังสนทนาหรือบุคคลที่สาม
การถอนตัวออกจากสถานการณ์ อันน่ากดดัน นั้นอาจเป็นทางออกที่ดี ในช่วงที่ใครหลายเอามัวแต่คิดในแง่ลบและสถานการณ์อาจไม่ดีขึ้นซักที คุณอาจจะกล่าวขอตัวออกมาจากบทสนทนานั้น และบอกว่าคุณต้องกลับไปเข้าเรียนหรือกลับไปทำงาน โดยต้องทำเหมือนกับว่าไม่ได้กล่าวขอร้องหรือบทสนทนาบังคับ
5.ฉลาดที่จะคิด และลงมือทำ
หลายคนนั้นอาจเคยติดกับดักความคิดของตัวเอง และมีกับดักความคิดอยู่ 2 ประเภท ในส่วนแรกนั้นคือ "ทำไม่เท่ากับที่คิด"ข้อเสียของคนเหล่านี้คือจะทำงานช้ามากเพราะ จะคอยระมัดระวังค่อยๆทำ และจะต้องคิดให้ดีที่สุด
ซึ่งการประสบความสำเร็จมันมาจากการลงมือทำ ลงมือทำ100ครั้งมันต้องมีสักครั้งที่ประสบความสำเร็จ แต่คนที่คิดอย่างเดียวแต่ไม่ลงมือทำก็ไม่ต่างอะไรจากการจับปลามือปลา
และอีกประเภท คือ"คิดไม่เท่ากับที่ทำ"หลายคนลงมือทำอย่างเดียวเน้นจำนวนไม่เน้นปริมาณแต่ถ้าขาดคุณภาพ ก็กลับกลายเป็นเสียของ เราควรดำเนินไปด้วยควบคู่ไปด้วยกับ"แผนการที่เราคิดบวกการลงมือทำ"
ลองตั้งคำถามกับตัวเองดูว่าเรานั้นขาดสิ่งใดไปกระบวนการคิด หรือการลงมือทำสองสิ่งนี้ควรควบคู่เดินหน้าไปด้วยกันเพื่อการประสบความสำเร็จของตัวเองในระยะยาว
หากวันนี้เราลองมองย้อนกลับไปจากคนที่ไม่มีหลักเกณฑ์อะไรในการพูดคุยหรือสนทนาเราก็จะไหลไปตามบทสนทนา ซึ่งจะทำให้เรานั้นดูเหมือนคนไม่มีไหวพริบในการสนทนา ฉะนั้นวันนี้หลายคนอาจได้อะไรไม่มากก็น้อย เพื่อนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน และเพื่อสนทนากับคนรอบตัวหรือเพื่อนร่วมให้น่าสนุกขึ้นนั้นเอง
ข้อมูลจาก :
https://www.mindtools.com/a29fa9y/how-to-be-tactful
https://www.psychologytoday.com/.../my-attempt-to-learn
...
ไลฟ์สไตล์
เรื่องเล่า
แนวคิด
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย