Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
sit and read TH
•
ติดตาม
17 ม.ค. เวลา 19:41 • ข่าวรอบโลก
เคล็ดลับทันแกมโกง จับพิรุธน่าสงสัย
จากงานวิจัย โดยทั่วไปมักพูดโกหกโดยเฉลี่ยวันละ 1-2 ครั้ง การโกหกเกิดขึ้นรอบตัวเรา มีสัญญาณบ่งบอกอะไรบ้าง
นักจิตวิทยาชาวต่างประเทศกลุ่มหนึ่งที่อยากทราบคำตอบเกี่ยวกับเรื่องการโกหกนี้ และได้ให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยจดบันทึกประจำวันอย่างละเอียดแล้วนำมาวิเคราะห์
ผลการวิจัยของ DePaulo และคณะ พบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 147 คน รายงานว่าตนมีการโกหก 1-2 ครั้งต่อวัน และจะเป็นการโกหกเพื่อตนเองมากกว่าโกหกเพื่อคนอื่น ยกเว้นกรณีของคู่รักเพศหญิง ที่จะโกหกเพื่อตนเองและเพื่อคนอื่นพอ ๆ กัน และผู้ร่วมการวิจัยเพศชายมักโกหกเพื่อตนเองกับเพศชายด้วยกัน แต่จะโกหกเพื่อผู้อื่นกับเพศหญิง
นั่นแปลว่าในแต่ละวัน เรามีโอกาสไม่น้อยเลยที่จะต้องเจอกับคำโกหก และบางครั้ง เราก็หลุดคำโกหกไปสักเอง แล้วเรื่องอะไรบ้างที่คนเรามักพูดโกหก นักจิตวิทยากลุ่มดังกล่าวพบว่า เรื่องที่คนเราพูดโกหกบ่อยที่สุด คือ เรื่องความรู้สึก ความชอบ เจตคติ ความคิดเห็น รองลงมาคือเรื่องการกระทำที่ได้ทำไปแล้ว หรือแผนการว่าจะทำอะไร รวมไปถึงความสำเร็จและล้มเหลวของตนเอง
นักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งได้ทำการทดลองความสามารถในการจับโกหกของคนทั่วไป โดยให้นักศึกษาจำนวนมากมาพูดโกหกบ้างจริงบ้างเกี่ยวกับเจตคติเรื่องต่าง ๆ ของตนให้แนบเนียนที่สุด ให้ผู้ร่วมการทดลองนับหมื่นคน จากหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ นักจิตบำบัด นักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ ศิลปินดารา มาจับโกหก พบว่าความพยายามของคนส่วนใหญ่ในการจับโกหก ไม่ได้ทำให้เขาจับโกหกได้ดีไปกว่าการเดาสุ่มเลย คือ มีอัตราการตอบถูกว่าผู้พูดกำลังโกหกหรือพูดจริงเพียงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
และเมื่อผู้วิจัยถามผู้ร่วมการทดลองจำนวนหนึ่งที่สามารถบอกได้ถูกต้อง 90 เปอร์เซ็นต์ ว่าผู้พูดกำลังพูดจริงหรือโกหก ในการทดลองทุก ๆ รอบ ซึ่งมีอยู่เพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์ของผู้ร่วมการทดลองทั้งหมด คนที่เก่งกาจในการจับโกหกเหล่านี้ตอบตรงกันว่า เขาสังเกตจากอวัจนภาษา และวิธีการใช้คำพูดของผู้พูดแต่ละคน
เมื่อถามถึงมุมมองของการโกหก ผู้เข้าร่วมการวิจัยรายงานว่า พวกเขาไม่ได้ใส่ใจเรื่องโกหกของตนอย่างจริงจัง และไม่ได้วางแผนอะไรมากมาย หรือไม่ได้กังวลเกี่ยวกับการถูกจับได้ หรือเขาอาจจะโกหกเพื่อเอาตัวรอดจากการสืบสวนสอบสวน ชนิดที่ต้องทดสอบกันด้วยเครื่องจับเท็จอีกด้วย
การโกหกเกิดขึ้นรอบตัวเรา ในชีวิตประจำวันของเรา จากปากคนรอบข้างที่เราสนทนาด้วย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไราคู่สนทนาของเรากำลังโกหก ดังนั้น นักจิตวิทยาจึงได้เสนอแนะวิธีสังเกตเบาะแสของการพูดโกหกที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิสัมพันธ์กันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องจับเท็จ โดยเราสามารถสังเกตสัญญาณเบาะแสได้ดังนี้
1.คนโกหกมักจะซ่อนมือหรือแขน
ถ้าเราสังเกตคนกลุ่มนี้ มักจะมีอาการชอบซ่อนมือตัวเองระหว่างสนทนาโดยการล้วงกระเป๋ากางเกง หรือถ้านั่งมักจะเอามือวางไว้บนตัก เพราะโดยปกติแล้วการเหยียดมือออกไปเป็นอากัปกริยาเพื่อแสดงออกถึงการเปิดเผย หากสังเกตเมื่อเราใส่อารมณ์ในขณะพูดนั้น มักจะขยับมือหรือแขนไปด้วยเพื่อเน้นย้ำความหมาย
และเพื่อแสดงถึงการกระตือรือร้นของเรา หากมองย้อนกลับเมื่อเราไม่เชื่อในสิ่งที่ตัวเองกำลังพูดเรามักจะแสดงออกทางภาษากายน้อยลง ถ้าเราถามความจริงจากปากใครสักคน ถ้าเขากำมือหรือคว่ำฝ่ามือลง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเขากำลังป้องกันตัวเองจากใครสักคนแปลว่าเขาคนนั้นกำลังโกหก
2.คนโกหกมักไม่ชอบให้ถูกเนื้อต้องตัว
พิรุธในข้อนี้บอกถึงการหลอกล่วงได้อย่างชัดเจน เพราะคนที่โกหกมักจะลดระดับความใกล้ชิดกับคู่สนทนาลงโดยไม่รู้ตัว เพื่อบันเท่าความรู้สึกผิดที่อยู่ในใจ และการสัมผัสมันเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ทางใจ เราจะทำก็ต้องเมื่อเราเชื่อมั่นคนนั้นอย่างเต็มที่
3.คนโกหกมักจะไม่เคลื่อนเข้าไปหาหรือหันหน้าหนี
ส่วนใหญ่ของคนโกหก คือ มักจะหันหน้าหนีไม่ชอบสบตาไม่ชอบเผชิญหน้าตรงๆ ลองนึกภาพถึงคนที่ต้องการหักล้างความคิดหรือต้องการใส่ร้ายป้ายสีท่าทางของเขาคือต้องเน้นการเผชิญหน้า
แต่ถ้าสังเกตคนที่โกหกนั้นเขามักจะรู้สึกอึดอัดหรือเคลื่อนตัวหรือหันตัวไปหาทาอื่น หรือในขณะที่ยืนเขาอาจจะพิงกำแพง หรืออาจหาที่ยึดเกาะ ที่เป็นแบบนั้น เพราะเขานั้นไม่รู้สึกมั่นคงปลอดภัย ไร้ที่กำบังทางใจเลยทำให้เขาต้องหาที่ปลอดภัยทางกาย ส่วนคนที่รู้สึกมั่นใจและสบายใจเขาจะไม่สะทบสะท้านเลย ถึงแม้จะตกเป็นเป้าสายตา
4.คนโกหกมักจะรู้สึกดีหลังจบบทสนทนา หรือเปลี่ยนเรื่อง
คนโกหกมักจะใช้พลังงานเยอะมากกว่าคนปกติให้ลอง สังเกตการเปลี่ยนหัวข้อการสนทนา ว่าคนนั้นรู้สึกมีความสุขขึ้นรึเปล่า? ดูผ่อนคลายไหม? เขาอาจจะยิ้มหรือหัวเราะแบบเขินๆ ให้ลองสังเกตท่าทางของเขาที่อาจจะดูผ่อนคลาย หรือมีท่าทางที่จะปกป้องตัวเองลดลงรึเปล่า? หรือการหายใจของเขาอาจจะเปลี่ยนไป
เพราะดูโล่งอกมากหลังจากที่บทสนทนาจบ เพราะเขาอาจรู้สึกว่าฉันรอดจากบทสนทนานี้แล้ว ให้จำไว้เลยว่ายิ่งเขาเปลี่ยนแปลงอารมณ์รวดเร็วเท่าไร เขายิ่งรู้สึกอึดอัดกับเรื่องที่คุยมากขึ้นเท่านั้น ลองทดสอบดูว่าเขานั้นเปลี่ยนเรื่องทันทีรึเปล่า ดังนั้นคนที่มีความผิดส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนเรื่องในทันทีแล้วรีบจบบทสนทนานั้น ในขณะที่คนบริสุทธิ์จะอยากแลกเปลี่ยนข้อมูลต่อให้มากขึ้น
เพราะฉะนั้นคงเห็นแล้วว่าพฤติกรรมของการโกหกก็มีตั้งแต่เพื่อผลประโยชน์ เพื่อความสบาย หรืออาจปกปิดการกระทำที่ผิดศีลธรรม จริยธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ บ่อยครั้งการโกหกก็มีเป้าหมายเพื่อปกป้องจิตใจตนเองและผู้อื่นจากความเจ็บปวด ความขัดแย้ง ไม่ลงรอยกัน เช่น บางคนอาจเล่าเรื่องโกหกที่ทำให้ตนเองดูดีในสายตาคนอื่น ดูเก่งกว่าความจริงที่ตนเองเป็น ซึ่งอาจทำให้รู้สึกดีกับตัวเองได้ชั่วคราว หรือบางครั้งก็ต้องพูดโกหกเพื่อถนอมน้ำใจ รักษาหน้า รักษาความรู้สึกของคู่สนทนา
อย่างไรก็ตามการที่เราสังเกตเห็นสัญญาณต่าง ๆ ที่กล่าวมา ไม่ได้ทำให้เราสามารถสรุปได้ทันทีว่าผู้พูดกำลังโกหก สัญญาณเหล่านี้เป็นข้อสังเกตเบื้องต้นที่ต้องพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ ด้วย เช่น แรงจูงใจของผู้พูด บุคลิกลักษณะโดยธรรมชาติของผู้พูดด้วย
ข้อมูลจาก : หนังสือ คู่มือจับโกหก เขียนโดย เดวิด เจ. ลีเบอร์แมน
https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/lying
https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/catch-out
1
แนวคิด
ความรู้รอบตัว
ข่าวรอบโลก
1 บันทึก
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย