18 ม.ค. 2024 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุปมุมมอง Global Fund Manager Survey

มุมมองเศรษฐกิจมหภาค และมุมมองด้านนโยบายการเงิน:
🟡Global Fund Manager มีมุมมองเชิงบวกต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและ Soft Landing
🟡คาดการณ์การเติบโตทั่วโลกกำลังดีขึ้น Global Fund Manager คาดว่าเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า สูงที่สุดในรอบ 12 เดือน
🟡ระดับการถือเงินสดเพิ่มขึ้นจาก 4.5% เป็น 4.8% มีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดตราสารหนี้ลดลง
🟡79% คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเกิด Soft + No Landing สูงที่สุดในรอบ 9 เดือน มีเพียง 17% ที่คาดว่าจะเกิด Hard Landing ซึ่งก็ต่ำที่สุดในรอบ 9 เดือน
1
🟡41% มองว่าจะไม่เกิด Recession ในปี 2024
🟡52% และ 68% มองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed จะขับเคลื่อนราคาหุ้นและตราสารหนี้ในปี 2024 ตามลำดับ ขณะที่อีก 33% มองว่าผลประกอบการของบริษัทจะขับเคลื่อนราคาหุ้น และ 15% มองว่าการเติบโตทั่วโลกจะขับเคลื่อนราคาตราสารหนี้
🟡คาดการณ์การเติบโตของจีนกลับเข้าสู่ระดับต่ำสุดของการล็อคดาวน์ และกลับมาติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2022 (6 เดือนก่อนการเปิดเมือง)
มุมมองด้านความเสี่ยง:
🟡25% กังวลถึงความตึงเครียดด้านความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 2023 ที่ 17%
🟡24% กังวลถึง Hard Landing ลดลงจากเดือน ธ.ค. 2023 ที่ 32%
🟡21% กังวลถึงความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อลดลงจากเดือน ธ.ค. 2023 ที่ 27%
มุมมองการเก็งกำไรมากที่สุด 3 อันดับแรก (Most crowded trade):
🟡Long หุ้น Magnificent Seven 52%, Short หุ้นจีน 24%, Long หุ้นญี่ปุ่น 7%
มุมมอง Asset Allocation:
🟡ในเดือน ม.ค. มีการ Rotate หุ้นออกจากพันธบัตรไปถือเงินสด และออกจากกลุ่มธนาคารไปยัง REITs (สูงที่สุดในรอบ 12 เดือน) ลดการ Overweight หุ้นโลก แต่ยังคง Overweight หุ้นสหรัฐฯ สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2021 และส่วนมากยังคงชอบกลุ่ม High-quality แต่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2021 ที่หุ้น Small-cap มีความน่าสนใจมากกว่าหุ้น Large-cap
🟡เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย 20 ปี ในเดือน ม.ค. มีการ Overweight ตราสารหนี้, Telecoms, สหรัฐฯ, กลุ่ม Staples และ Healthcare และ Underweight UK, Eurozone, พลังงาน และหุ้นโลก
สรุปมุมมอง Asia Fund Manager Survey
🟡มีการสำรวจว่าหากเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นแล้วจะเป็นการเซอร์ไพรส์ตลาดมากที่สุด อันดับแรก 43% มองว่าหากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2024 สูงกว่าปี 2023 เนื่องจาก 40% ของ Global Fund Manager Survey มองว่าเศรษฐกิจโลกจะอ่อนแอลงในอีก 12 เดือนข้างหน้า อันดับที่สอง 20% มองว่าหากตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลงต่อในปีนี้ และอันดับที่สาม 18% มองว่าหาก Bond Yield 10 ปีของสหรัฐฯ ลดลงต่ำกว่า 3.5%
🟡มุมมองเชิงบวกของ Asia Fund Manager Survey ต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคก็ลดลงเช่นกัน โดย 14% คาดว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคจะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ลดลงจาก 39% ในเดือน ส.ค. เนื่องจากความหวังในการฟื้นตัวของจีนลดน้อยลง ในทางกลับกัน มองว่าญี่ปุ่นมีความโดดเด่น
47% คาดว่าจะมี upside สำหรับตลาดหุ้น Asia ex-Japan ราว 5%-10% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
🟡สำหรับ Sentiment ของตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก; ญี่ปุ่น, อินเดีย และไต้หวัน มีการ overweight มากที่สุด 59%, 18% และ 8% ตามลำดับ ขณะที่จีนถูก underweight มากที่สุด 20% ซึ่ง underweight มากที่สุดในรอบกว่า 1 ปี ตามด้วย underweight ออสเตรเลียและไทยที่ 6% และ 4% ตามลำดับ
🟡สำหรับ Sector ในตลาดหุ้น Asia ex-Japan; กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ มีการ overweight มากที่สุด 33% 27% และ 8% ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค และสินค้าจำเป็น มีการ underweight มากที่สุด 27% 20% และ 16% ตามลำดับ
🟡ทั้งนี้ ยังคงมีมุมมองที่ดีต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในเกาหลีและไต้หวัน โดย 69% คาดว่ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์จะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า
🟡สำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่น ผลตอบแทนคาดหวังของตลาดหุ้นญี่ปุ่นโดดเด่นขึ้น โดย 27% คาดว่าในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ผลตอบแทนจะมากกว่า 10% ขณะที่ 31% คาดว่าผลตอบแทนจะอยู่ที่ราว 5% - 10% โดยกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์และกลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มที่ถูก overweight มากที่สุดในญี่ปุ่น
🟡จากผลการสำรวจมองว่าการเจรจาเรื่องค่าจ้างและการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้เป็นปกติของญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองมากที่สุดในปีนี้ โดย 73% มองว่าจะมีการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนในระดับใดระดับหนึ่ง หรือเริ่มต้นที่ 150 เยนต่อดอลลาร์ และส่วนมากคาดว่าการยุตินโยบายดอกเบี้ยติดลบและ Yield Curve Control จะถูกเลื่อนออกไปจากไตรมาสแรกของปีนี้
🟡สำหรับตลาดหุ้นจีนยังคงดูไม่น่าสนใจ โดย 39% มองหาโอกาสการลงทุนที่อื่น ขณะที่ 29% รอให้สถานการณ์ดีขึ้นก่อน เพราะ 82% เชื่อว่าคนจีนจะยังคงมีการออมเงินมากกว่าที่จะใช้จ่ายหรือลงทุน
ที่มา: BofA Global Research 16 ม.ค. 67 อัปเดต ณ 17 ม.ค. 67
ข้อมูลกองทุนกรุงศรีที่ลงทุนในต่างประเทศ คลิก:
หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอดูหนังสือชี้ชวน โปรดติดต่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรีจำกัด โทร 0 2657 5757
โฆษณา