19 ม.ค. เวลา 03:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Growth Stock Vs. Winner stock

เมื่อคืนผมไปงานสัมนามางานนึง แล้วได้คุณกับน้องคนนึงเค้าบอกว่า เค้าชอบไอเดียของ Blitzscaling จากงานสัมนาที่ผมเคยมีส่วนร่วมได้จัด พอกลับมาบ้าน ก็ได้ฟังช่อง youtube ช่องนึง ได้มีการพูดถึงประเด็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน
ตามหัวข้อที่ผมได้พาดหัวเอาไว้ ว่า Youtuber ท่านนั้นได้บอกว่า growth stock ไม่จำเป็นต้องเป็น winner stock เสมอไป ผมคิดว่า ในส่วนนี้ ผมค่อนข้างเห็นด้วย
แต่พอผมได้ฟังเหตุผลที่เค้าอธิบาย ผมกลับไม่ค่อยจะเห็นด้วยในเหตุผลที่เค้าอธิบายมากนัก
โดยเหตุผลที่เค้าใช้ในการอธิบาย เค้าสื่อว่า บางที growth stock นั้น อาจจะไม่ใช่ winner stock เพราะสุดท้ายไม่สามารถไปสู่ main stream ได้ หรือถึงแม้ว่า จะเข้าได้ ก็ต้องไปดูที่ unit economic อีกที อันนี้ ผมค่อยข้างจะคิดว่า เค้ามองเรื่องนี้ไม่ขาดซะทีเดียว
1
ถึงส่วนนี้ ผมบอกก่อนเลยว่า จะผิดหรือถูก ก็แล้วแต่คนแต่ละคนจะไปตัดสินใจกันเองแล้วกัน ผมไม่มีหน้าที่ต้องไปบอกว่า ผมถูก หรือ เค้าผิด แต่ผมแค่อยากจะแชร์ในส่วนของผมว่า ที่ผมศึกษาเรื่องพวกนี้มา ทำไมผมถึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับเหตุผลนั้นเเค่นั้นเอง
1
ข้อที่ 1. growth stock ส่วนใหญ่ในยุคหลังๆ มักจะเกิดมาจากการเป็น Startup มาก่อน ซึ่ง mindset ของ startup เหล่านี้คือ ต้องสร้างการเติบโตให้ได้ เพื่อดึงดูดเงินลงทุนจาก VC ให้ได้ แล้วจะได้ไปต่อใน stage ต่อๆไป
1
ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้ การ growth at all cost คือ สิ่งที่จำเป็นที่เค้าจะต้องทำ มันเลยทำให้เป็น DNA ของบริษัทเหล่านี้ต่อๆมาที่จะต้องเติบโตให้ได้เยอะๆไว้ก่อน
และยิ่งเมื่อมันเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เรื่องนี้ยิ่งมีความจำเป็นเข้าไปอีก
รีด ฮอฟแมน เค้าอยู่ในวงการนี้ เค้าได้สรุปแนวคิดหลักๆเอาไว้ แล้วเอามาเขียนเป็นหนังสือ Blitzscaling ที่เราได้เห็นกัน
1
ข้อที่ 2 จุดอ่อนของ Blitzscaling
ไม่ต้องมองไปไหนไกล 2 ปีที่ผ่านมา เวลาผมคุยกับนักลงทุนที่ลงทุนหุ้นเทค แล้วมีการเอ่ยถึง Blitzscaling เสียงวิจารย์มักจะออกมาแนว negative ซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะเค้ามักจะบอกกันว่า หลักการนี้มันไม่เวิร์ค
เพราะหลังๆ บริษัทที่เลือกที่จะทำ Blitzscaling หรือ โตให้ได้ก่อน โตให้ไว แล้วค่อยไปว่ากันทีหลังนั้น สุดท้าย เจ็บหนักกันหมด เค้าเลยสรุปเอาว่า หลักการมันไม่เวิร์ค
2
คำถามที่สำคัญกว่าคือ หลักการไม่เวิร์คจริงๆเหรอ
1
หรือจริงๆแล้ว เป็นบริษัทที่เลือกที่จะทำ Blitzscaling ต่างหาก ที่ใช้แบบไม่ถูกวิธี
เพราะการเติบโตเร็วๆ สุดท้าย อาจจะไม่ได้ทำให้บริษัทเป็นผู้ชนะระยะยาวก็ได้
เหมือนเค้าหัวข้อที่ว่า growth stock อาจจะไม่ใช่ winner stock เสมอไป
ข้อที่ 3 Blitzscaling 2.0
ผมเรียกมันว่า 2.0 เพราะมันเป็น Version upgrade มาจากในหนังสือ เหมือนที่ผมเคยเขียนไปในโพสก่อนๆ
จริงๆ ในหนังสือ เนื้อหาเค้าก็ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ แต่ผมคิดว่า เค้าวาง framework วิธีคิดเอาไว้ได้ไม่ชัดเจนพอมากกว่า
เท่าที่ผมเข้าใจ จุดเริ่มต้น ของการวาง Framework ขึ้นมาใหม่ เกิดจาก Chirs Yeh คนที่เขียนหนังสือคู่กับ รีด ฮอฟแมน เค้ามีความคิดที่จะตั้ง VC fund ขึ้นมา โดยกองทุนนี้ จะเน้นลงทุนใน startup ที่เหมาะสมที่จะทำ Blitzscaling ได้
2
ในเมื่อจะทำให้แนวคิดของ Blitzscaling ใช้กับการลงทุนได้ การวาง framework ให้ชัดเจน จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ จึงเกิดสิ่งที่ผมเรียกว่า Blitzscaling 2.0 ขึ้นมา (ใครอยากอ่าน ลองหาโพสล่างๆดูครับ ขี้เกียจเขียนซ้ำ)
1
โดยสรุปแล้ว สิ่งที่สำคัญมากๆในการที่จะทำ blitzscaling ให้สำเร็จ จาก Growth stock ไปสู่การเป็น winner stock ธุรกิจนั้นๆจะต้องมีความได้เปรียบมากๆ 2 อย่างคือ ลักษณะของธุรกิจจะต้องมี defensibility สูง และ มีความได้เปรียบในเรื่องของ distribution
1
ทำไม ?
1. Defensibility ที่สูง จะทำให้ การเติบโตของคุณที่ผ่านๆมายั่งยืนได้ คือ โตแล้ว สุดท้าย ลูกค้าไม่หนีไปไหน ช่วงแรก อาจจะขาดทุน แต่ระยะยาว ทำกำไรได้ เพราะลูกค้าอยู่แล้วอยู่เลย
key ของ part นี้ จึงมักจะเป็น ถ้าไม่มี network effect ก็ต้องมี Switching cost ที่สูงมากๆ
1
2. Distribution เกี่ยวอะไร ?
เพราะการมีความได้เปรียบในเรื่องของ distribution จะทำให้คุณมีต้นทุนในการเติบโตที่ต่ำกว่าคู่แข่ง เมื่อต้นทุนคุณต่ำกว่า ในเม็ดเงินที่เท่าๆกัน คุณก็จะมีการเติบโตที่สูงกว่า พอคุณเติบโตได้เร็วกว่า คุณไปถึงจุด tipping point ก่อน BOOOOOMMMMM !! การแข่งขันจบทันที คุณชนะ คนอื่นตามไม่ทันแล้ว
ผมได้มีโอกาสฟัง VC กองนี้วิเคราะห์การลงทุนใน startup เหล่านี้ทุกๆเดือน สิ่งที่ดีลต่างๆมักจะโดนดีตกเป็นส่วนมากคือ หลายๆดีลไม่มีเรื่องใดเรื่องนึงในสองเรื่องนี้แหละ เพราะถ้าขาดไปอย่างใดอย่างนึง ก็จะไม่ผ่านเกณเค้าทันที ซึ่งหมายความว่า startup เหล่านั้น ไม่เหมาะในการทำ Blitzscaling นั่นเอง (แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ใช่บริษัทที่ไม่ดีนะ คนละเรื่องกัน)
2
พอฟังไปมากๆ คิดตามไปเยอะๆ Framework นี้มันเลยอยู่ในหัวผมตลอดเวลา เวลาผมจะวิเคราะห์หุ้นเทคทั้งหลาย ผมจะพยายามตั้งคำถามเดียวกัน ว่า เค้ามีสองเรื่องนี้ไหม ถ้าไม่มี ผมก็จะเลี่ยงที่จะลงทุน เพราะการทำกำไรที่จะยั่งยืนได้ อาจจะเป็นเรื่องยากเกินไป
แต่ถ้าธุรกิจนั้น ผ่าน Framework นี้ได้ ก็แสดงว่า เค้าจะมีโอกาสเปลี่ยนผ่านจากหุ้น growth stock ไปสู่ winner stock ได้นั่นเอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา