20 ม.ค. 2024 เวลา 03:14 • หุ้น & เศรษฐกิจ

การจัดการทางการเงิน

ตอนที่ 2.
100,000 บาทในวันนี้ อีก 20 ปีจะมีค่าเพียง 20,000 บาท เงินในกระเป๋าลดขาลงตลอดเวลา เงินที่เรามีอยู่ตอนนี้อีก 20 ปีข้างหน้า มูลค่าจะลดลง 5 เท่า
ลองสังเกตดูว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้วไลค์ราคาเท่าไหร่เทียบกับปัจจุบันเพิ่มขึ้นเยอะไหม
ดูกันแค่ตอนนี้เลยก็ได้ครับ สินค้าทุกอย่างรอบตัวพากันขึ้นราคาทั้งนั้นเลย
หมูแพงผักก็แพง ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ น้ำมันหรือแม้แต่ทางด่วนก็ปรับราคาเพิ่ม คือทุกอย่างขึ้นหมดเลยยกเว้นรายได้ใช่ไหมครับ
.
เป็นเพราะอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง เงินเฟ้อเป็นตัวทำลายความมั่งคั่งของเรา เงินเฟ้อเปรียบเสมือนเรือที่มีรูรั่วใหญ่มาก ทำให้เรือจมลงเรื่อยๆ แล้วเจ้าอัตราเงินเฟ้อนี้คืออะไร อธิบายแบบเร็วๆง่ายๆคือสภาวะที่เงินของเราด้อยค่าลง เช่นเมื่อ 20 ปีที่แล้วเงิน 100 บาทซื้อของได้ 5 ชิ้นแต่ในวันนี้จะซื้อของชิ้นเดิมนั้นได้เพียง 2 ชิ้น
.
ทองคำ หนึ่ง บาทเมื่อ 20 ปีที่แล้วราคา 6,000 บาท แต่ทุกวันนี้จะซื้อทอง หนึ่ง บาทต้องใช้เงินราว 30,000 บาทแล้ว ขึ้นมา 5 เท่าตัว เมื่อก่อนน้ำมันลิตรละ 10 บาทขึ้นมาที่หลินละ 50 บาทแล้วนะครับขึ้นมา 5 เท่าตัว เมื่อก่อนก๋วยเตี๋ยวชามละ 15 บาทตอนนี้ชามล่ะ 60 แล้ว ขึ้นมา 4 เท่าตัว แล้วเงินเดือนล่ะเมื่อก่อนสตาร์ที่ 8,000 ตอนนี้สตาร์ทที่ 15,000 บาทขึ้นมากี่เท่าครับคำตอบคือ 2 เท่าตัว
หรือจะอธิบายเงินเฟ้อให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีกก็คือ เงินเฟ้อ = จนลง ลองคิดต่อเล่นๆกันดูครับอีก 20 ปีข้างหน้าสินค้าต่างๆจากราคาเท่าไหร่
คุณคิดว่าเมื่อไหร่รายได้จะโตทันสินค้าครับ ตอบให้เลยทันที..... ไม่มีทาง
.
นี่แหละคือความน่ากลัวของเงินเฟ้อและมันจะอันตรายมากๆสำหรับคนที่ถือเงินสดไว้อย่างเดียวเพราะเงินที่มีอยู่จากด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ อีก 20 ปีข้างหน้าเงินจ่ายด้อยค่าลงประมาณ 5 เท่า เงินที่เรามี 100,000 บาทในวันนี้ อีก 20 ปีจะมีค่าเพียง 20,000 บาทเท่านั้น และอีก 20 ปีถัดไปเงิน 20,000 บาทจะเหลือ 4,000 บาท
ค่าเงินเฟ้อมาจากไหน
เงินเฟ้อมาจากการคำนวณค่า CPI (Consumer Price Index)
โดยในแต่ละปี แต่ละประเทศจะมีการสุ่มสินค้าโดยประมาณ 200 ชนิด ในแต่ละหมวดหมู่ทั้งอุปโภคบริโภค คมนาคม อสังหาริมทรัพย์ และอื่นอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชากรเช่น ของกิน ของใช้ น้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าที่พัก บ้าน ที่ดิน ค่าเช่า แล้วนำมาคำนวณโดยนำราคาสินค้าของปีนี้ หารกับราคาสินค้าเมื่อปีก่อน
แล้วคูณ 100 ก็จะได้ค่าออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ แต่ว่าเงินเฟ้อทางการกับเงินเฟ้อจริงอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ เพราะสินค้าบางอย่างที่เขาสุ่มมาอาจไม่ได้ตรงกับสินค้าที่เรากำลังใช้อยู่ก็ได้ โดยปกติแล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อมี 2 อย่างคือ
Demand Pull - คือความต้องการซื้อมากขึ้น เมื่อคนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ใช้จ่ายได้มากขึ้น แต่ของมีเท่าเดิม จึงทำให้ราคาของเพิ่มสูงขึ้น มีเงินมากขึ้น ความต้องการสูงขึ้น แต่ของมีจำกัด ผู้ขายจึงขึ้นราคา ยกตัวอย่างเช่น
กรุงเทพมหานครทำไมที่ดินในกรุงเทพฯจึงแพง พอผู้คนต่างเข้ามาทำงานกันในกรุงเทพ คนกรุงเทพก็ทำ คนต่างจังหวัดก็เข้ามาทำ แม้แต่คนต่างประเทศก็ยังเข้ามาความต้องการที่ดินมากขึ้น กำลังการซื้อมากขึ้นแต่ที่ดินมีจำนวนเท่าเดิมจึงทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น
.
Cost Push – คือต้นทุนที่แพงขึ้น จึงดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ตัวอย่างต้นทุนเช่นค่าแรงที่แพงขึ้น ค่าน้ำมันแพงขึ้น วัตถุดิบแพงขึ้น ค่าเช่าแพงขึ้น ค่าไฟแพงขึ้น เมื่อสินค้ามีต้นทุนแพงขึ้นเจ้าของสินค้าจึงต้องเพิ่มราคาขาย จึงนำไปสู่ต้นทุนที่แพงขึ้น จึงทำให้ผู้ประกอบการ แบกรับต้นทุนที่แพงขึ้นแต่ขายสินค้าในราคาเดิมไม่ได้ เหมือนถูกดันก้นมาอีกทีจึงต้องเพิ่มราคาขาย
.
แต่ว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมาเกิดปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีก สอง ปัจจัยคือ
1. จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นเกิดจาก สอง ปัจจัยคือ
1.1 การพิมพ์เงินเพิ่มขึ้น ในโลกของเรามีเพียงไม่กี่ประเทศที่ 3 ารถพิมพ์เงินเพิ่มเองได้เช่นอเมริกาญี่ปุ่น หรือบางประเทศในยุโรป เมื่อเกิดปัญหาโควิดผู้คนรายได้ลดลงรัฐบาลของเขาจึงอัดฉีดประชาชนโดยการพิมพ์เงินแจก ให้ไปใช้จ่ายกันได้เลย (QE)
1.2 ส่งออกเงินเฟ้อไปทั่วโลก ประเทศที่พิมพ์เงินได้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศอื่นเงินเฟ้อตามเรียกว่า ส่งออก เงินเฟ้อไปให้ประเทศอื่นก็ได้ เพราะสุดท้ายค้าขายกันหมด เมื่อประเทศใหญ่เช่นอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ของแพงขึ้น แล้วส่งไปขายที่ประเทศอื่นๆ ราคาก็ต้องแพงตามเพราะซื้อมาแพงตั้งแต่แรกแล้ว
2. Supply Shock ของขาดแบบเฉียบพลัน
อธิบายคำนี้ง่ายๆแบบนี้ครับ ยกตัวอย่างโทรศัพท์เครื่อง หนึ่ง จะมีชิ้นส่วนประกอบมากมาย จึงจะรวมกันเป็นโทรศัพท์ หนึ่ง เครื่องใช่ไหม มีชิพมีฮาร์ดแวร์มีจอมีเลนส์เป็นต้น และชิ้นส่วนประกอบต่างๆก็มาจากหลายแหล่งผลิต จากหลายประเทศเมื่อเกิดวิกฤตโควิด ทำให้เกิดการปิดประเทศบางปิดโรงงานการผลิตบ้าง จนทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตสินค้า จึงทำให้เกิดการขึ้นราคาสินค้าเพิ่มขึ้นไปอีก
ดังนั้นตอนนี้เราเจอทุกข้อรวมกันเหมือนอยู่ใน มรสุมเงินเฟ้อเลยครับ ทั้งความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น มีเงินในระบบมากขึ้น แถมยังเจอ ของขาดแบบเฉียบพลันเข้ามาอีก ทุกอย่างเลยโคตรแพงเลยครับตอนนี้ โดยปกติ เงินเฟ้อทางการ ระยะยาวเฉลี่ย 2 ถึง 3% ต่อปี แต่ผมอยากให้คุณโฟกัสที่เงินเฟ้อชีวิตจริงมากกว่าครับ
.
แล้วมาดูวิธีการแก้ปัญหาเงินเฟ้อกัน ทั่วโลกจะมีการแก้ปัญหา สอง ระดับคือระดับประเทศและระดับบุคคล
ระดับประเทศจาแก้ด้วยระบบการคลังและการเงิน ในทฤษฎีแล้วจะแก้กันแบบนี้
การคลังจะต้องลดการใช้จ่ายไม่จำเป็นลง เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อดูดเงินออกจากระบบให้เงินเฟ้อลดลง
การเงิน จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อจูงใจให้คนฝากธนาคารและไม่กระตุ้นให้คนทำธุรกิจไม่อยากกู้เงินไปลงทุนจะส่งผลให้เงินในระบบลดลงเงินเฟ้อก็ลดลง นี่คือทางทฤษฎีในภาพใหญ่แต่ต้องบอกเลยว่าในสถานการณ์ที่ผิดปกติก็อาจทำตามทฤษฎีนั้นไม่ได้ และเราเองคงไม่ 3 ารถเข้าไปแก้ไขตรงนั้นได้เราจึงต้องมาแก้ไขในระดับบุคคล
.
วิธีการสู้เงินเฟ้อระดับบุคคล คือการที่เราต้องลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเท่ากันหรือมากกว่าเงินเฟ้อ วิธีนี้เท่านั้นจึงจะทำให้เรารอด นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราจะต้องมาเรียนรู้การลงทุนกันอย่างจริงจัง พร้อมทั้งรู้วิธีการเลือกประเภทของการลงทุน ให้เป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยให้เราลอยตัวเหนือเงินเฟ้อ ช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋า และช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายที่ออกแบบไว้ได้เสมอ.
.
#สอนการลงทุน #สอนเล่นหุ้น #การลงทุน #หุ้น #ตลาดหุ้น #สอนฟรี #กลุ่มคนเล่นหุ้น #เรียนการลงทุน #เรียนหุ้น #พื้นฐานหุ้น #พื้นฐานการลงทุน #การเงิน #การธนาคาร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา