24 ม.ค. เวลา 12:42 • การศึกษา
ผมเป็นคนหนึ่งที่เรียนรู้และเข้าใจช้ากว่าจะเข้าใจเพียงเรื่องง่ายๆ ก็ต้องใช้เวลาตั้งนาน หากให้ผมตอบสำหรับตัวเองผมขอตอบแบบนี้นะครับ
1) คำว่า "น้ำซุมบ่อทราย" นั้นใช้ได้ผล คือเราก็แค่ค่อยๆ เรียนรู้ไป ไม่ต้องรีบร้อนที่จะรู้มากนัก อันไหนคิดออก เข้าใจได้ก็เข้าใจ อันไหนที่ยังไม่เข้าใจก็ปล่อยมันไว้อย่างนั้นก่อน พักทำเรื่องอื่นบ้าง แล้วค่อยมาสนใจมันภายหลัง แต่หัวใจสำคัญของเรื่องนี้อยู่ตรงที่เราจะต้องัมผัสกับมันบ่อยๆ ใกล้ชิดกับมันมากๆ แม้จะยังไม่เข้าใจก็ตาม ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ทำ ทำซ้ำๆ ถึงเวลาก็เข้าใจขึ้นมาเอง ผมได้ยินมาว่าวิธีที่พระพุทธเจ้าใช้สอนธรรมภิกษุหัวช้าคนหนึ่งในสมัยพุทธกาลก็เป้นแบบนี้(ผมจึงชอบวิธีนี้ด้วย)
คือท่านให้ภิกษุรูปนั้นค่อยๆ ลูบผ้าสะอาดๆ ผืนหนึ่งไปๆ มาๆ อยู่อย่างนั้น ลูบไปลูบมาจนท่านเห็นความเปลี่ยนแปลงของมันแล้วจึงบรรลุธรรม (ผ้าเปรียบเหมือนปัญหาที่เราสนใจ การลูบบ่อยๆ คือการสนใจมันอยู่บ่อยๆ คือวิธีที่ผมว่านั้น)
2) ผมสังเกตุจากตัวเองแล้วพบว่า "ประสบการณ์เชิงประจักษ์" เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับทำให้เราเข้าใจอะไรหลายๆ อย่างหมายความว่าหากอะไรที่มันยากนัก เป็นนามธรรมมากๆ วิธีง่ายๆ ที่จะเข้าใจมันก็คือ ทำให้มันเป็นรูปธรรมขึ้น สร้างมันเป็นโมเดล เป็นตัวแบบ หรือเป็นอะไรก็ได้ที่เราสามารถจินตนาการหรือคิดถึงมันได้แบบที่เห็นรูปเห็นร่างขึ้นมาให้ได้ แล้วเราจะมองเห้นมันได้ชัดเจนและง่ายขึ้น
3) การเปรียบเทียบ การอุปมา หรือการยกตัวอย่างคือพลังอันยิ่งใหญ่ในการทำความเข้าใจของมนุษย์ คนสมัยนี้มักไม่สนใจคำอุปมาหรือการอุปมา การเปรียบเทียบ เพราะเราคิดว่าความรู้ที่เป้รนามธรรมนั้นสุงส่งกว่าความรู้เป็นรูปธรรม (เราจึงชอบความรู้แบบฝันๆ ความรู้เชิงทฤษฎีมากกว่าความรู้แบบเรียบง่ายและจับต้องได้) การอุปมานั้นผมคิดว่าเป็นวิธีการพื้นฐานที่สุดในการทำความเข้าใจของมนุษย์ การทำงานของมันคือเราจะใช้สิ่งที่เราเข้าใจดีแล้ว เพื่อไปวัดหรือทำความเข้าใจสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจ
ผมพบว่าการอุปมาหรือการเปรียบเทียบนั้นมีใช้แม้กระทั่งในวิชาคณิตศาสตร์(ไม่ใช่แค่วิชากาพย์กลอน)เพียงแต่พวกเขาไม่เรียกมันว่าการเปรียบเทียบหรือการอุปมาก็เท่านั้น แต่เรียกมันว่า "สมการ" (ความเท่ากัน) แต่หัวใจการทำงานของมันนั้นเหมือนกัน คือ หากเราไม่รู้อะไร แต่สามารถแสดงได้ว่าสิ่งนั้นเท่ากัน(เหมือนกันทุกๆ ประการ)กับสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว เราก็ใช้ความรู้เดิมของเรานั่นแหละมาทาบลงในสิ่งที่เราไม่รู้นั้น ทำให้เรารู้จักสิ่งนั้นขึ้นมา
ประเด็นของตรงนี้ก็คือ หาทางเปรียบเทียบสิ่งที่เราไม่รู้กับสิ่งที่เรารู้ดีอยู่แล้วให้มากที่สุด แล้วเราจะเข้าใจสิ่งนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น
และประเด็นสุดท้าย 4) การใช้จินตนาการ พยายามปรับมุมมองเขาเราต่อสิ่งที่เราเรียนรู้ได้ยากอยู่นั้นให้มาก ให้หลากวิธีเท่าที่จะทำได้ และถึงจะทำอย่างนั้นแล้วก็ยังเข้าใจมันไม่ได้ ก็แค่ต้องจินตนาการให้มากขึ้นกว่านี้อีกหน่อยนึง
โฆษณา