27 ม.ค. เวลา 02:09

ผู้นำกับการคิดเชิงระบบ Leaders & Systems Thinking

ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาได้คุยกับผู้คนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักการศึกษา อาจารย์หมอด้านจิตวิทยา ผู้นำภาคธุรกิจ ศิลปินผู้มากประสบการณ์ มีผลงานฝากไว้ในสถานที่สำคัญๆ มากมาย นักจัดการการเรียนรู้...
ประเด็นที่คุยกันก็หลากหลาย ตั้งแต่ประเด็นคุณภาพการศึกษา การศึกษาระดับปฐมวัย ประเด็นปัญหาทางสังคมของเด็กและเยาวชน ประเด็นสิ่งแวดล้อม คุณภาพอากาศ จนกระทั่งถึงการบริหารจัดการภายในองค์กร ที่คณะกรรมการเป็นผู้มีชื่อเสียง มีความรู้ ความสามารถมากมายไป
จากคนและประเด็นที่แตกต่างกัน มีหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจร่วมกันคือ ทุกเรื่องเป็นปัญหาความท้าทายเชิงระบบ
และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาเชิงระบบ คือดูเหมือนว่าคนโดยทั่วไปจะเห็นปัญหา รู้ว่ามีปัญหานั้นๆ อยู่ และหลายครั้งหลายๆ คน ก็เชื่ิอว่าตนรู้ปัญหานั้นดี รวมถึงดูเหมือนจะมีคำตอบสำหรับปัญหานั้น โดยประมวลจากคำพูดเช่น ปัญหาเกิดขึ้นเพราะอย่างนั้นอย่างนี้ และหากเพียงคนนั้นคนนี้ หน่วยงานนั้นหน่วยงานนี้ที่ทำหน้าที่ของตนเองให้ดี
สิ่งที่เรามองเห็นสัมผัสได้มักจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ (ปัญหา) ทั้งหมด ดั่งที่เปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง สิ่งที่เรามองเห็นได้ง่ายเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ภายใต้ระดับน้ำทะเลมักจะมีอะไรอะไรซ่อนอยู่เสมอ มักจะมีองค์ประกอบ ความเชื่อมโยง ผู้คน กฎ ระเบียบ โครงสร้าง มุมมอง ความเชื่อที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย รวมถึงอาจมีข้อจำกัดต่างๆ ที่เราอาจไม่เคยทราบมาก่อน
ในการแก้ปัญหาเชิงระบบ ความท้าทายไม่ใช่เรื่องของความรู้ ความท้าท้ายจะเป็นเรื่องการลงมือทำโดยผู้มีส่วนได้เสียหลัก ในแต่ละส่วน การนำไปปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย
เพราะการสร้างการเปลี่ยนแปลงคือการลงมือทำ ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีบทบาทในการปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เป็นผู้ดู ผู้ชม ผู้รอผลการเปลี่ยนแปลง
โดยทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นถึงคุณค่าของสิ่งนั้นๆ เห็นเป้าหมายที่มีคุณค่า มีความหมาย คุณค่าแต่ละคนเห็นไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
ปัญหาใดๆ ก็ตาม ต่อให้รัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ ก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย หากขาดซึ่งการลงมือทำ
#ความรู้
#การลงมือทำ
#การคิดเชิงระบบ
#ปัญหาเชิงระบบ
#ภูเขาน้ำแข็ง
#IcebergModel
#SystemsThinking
จากคนและประเด็นที่แตกต่างกัน มีหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจคือ ทุกเรื่องเป็นปัญหาความท้าทายเชิงระบบ และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาเชิงระบบ คือดูเหมือนว่าคนโดยทั่วไปจะเห็นปัญหา รู้ว่ามีปัญหานั้นๆ อยู่ และหลายๆ คน ก็เชื่ิอว่าตนรู้ปัญหานั้นดี และมีคำตอบสำหรับปัญหานั้น โดยประมวลจากคำพูดเช่น ปัญหาเกิดขึ้นเพราะอย่างนั้นอย่างนี้ และหากเพียงคนนั้นคนนี้ หน่วยงานนั้นหน่วยงานนี้ที่ทำหน้าที่ของตนเองให้ดี
สิ่งที่เรามองเห็นสัมผัสได้มักจะเป็นเพียงส่วนหนึ่ง (ของปัญหา) ทั้งหมด ดั่งที่เปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง สิ่งที่เรามองเห็นได้ง่ายเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ภายใต้ระดับน้ำทะเลมักจะมีอะไรอะไรซ่อนอยู่เสมอ มักจะมีองค์ประกอบ ความเชื่อมโยง ผู้คน กฎ ระเบียบ โครงสร้าง มุมมอง ความเชื่อที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย รวมถึงอาจมีข้อจำกัดต่างๆ ที่เราอาจไม่เคยทราบมาก่อน
ในการแก้ปัญหาเชิงระบบ ความท้าทายไม่ใช่เรื่องของความรู้ ความท้าท้ายจะเป็นเรื่องการลงมือทำโดยผู้มีส่วนได้เสียหลัก ในแต่ละส่วน การนำไปปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะการสร้างการเปลี่ยนแปลงคือการลงมือทำ ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีบทบาทในการปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เป็นผู้ดู ผู้ชม ผู้รอผลการเปลี่ยนแปลง ปัญหาใดๆ ก็ตาม ต่อให้รัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ ก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย หากขาดซึ่งการลงมือทำ
โฆษณา