27 ม.ค. 2024 เวลา 05:41 • ครอบครัว & เด็ก
ร้านแว่นคุณตา โดย นักทัศนมาตร หมอสายตา

การพัฒนาสายตา

กระบวนการ Emmetropization (การเปลี่ยนแปลงค่าสายตาในเด็กแรกเกิด) จากภาวะสายตาที่ผิดปกติ ไปเป็นสายตาปกติ จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 7 ขวบ
ทารกจะมีค่าสายตา ( Refractive error) ที่กว้าง อาจจะบวกน้อย หรือ ลบมากเลยก็ได้ และช่วงค่าสายตาจะแคบลงเมื่ออายุ 6 ขวบ เพราะร่างกายจะปรับเข้าสู่กระบวนการ Emmetropization ได้
ทฤษฎีของการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาในเด็กแรกเกิด
1. Active process ( Visual Feedback)
- กำหนดโดย ความคมชัดที่เกิดขึ้นบนจอประสาทตา ( Retinal image )
- ตาจะมีการวิเคราะห์ปริมาณความเบลอของภาพที่ตกบนจอประสาทตาและจะปรับขนาดของลูกตาให้สั้นยาว จนกว่าภาพที่ตกบนจอรับภาพจะมีความคมชัดพอดี
- การพัฒนาค่าสายตาในเด็กทารกจะมีความ Sensitive มากๆ ถ้ามีสิ่งที่รบกวนการมองเห็น เช่น ต้อกระจก ,กระจกตาขุ่น , ค่าสายตาที่สูงๆ ,หนังตาตกบังการมองเห็น, Hemorrhag , Retinopathy ของเด็กที่เกิดก่อนกำหนด ทั้งหมดนี้จะให้ลูกตาไม่ยาวขึ้น
2. Passive Process Theory
- กำหนดโดย Genetic หรือ กรรมพันธุ์
- อวัยวะในตาที่ทำให้เกิดค่าสายตา คือ Cornea (กระจกตา) , เลนส์ตา , ความยาวกระบอกตา (axial lengh)
โฆษณา