27 ม.ค. เวลา 23:50 • ปรัชญา
จะสร้างอะไรล้วนมีต้นทุนค่ะ ในทางวิศวกรรมมี Feasibility Study (F/S) ศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่า ต้องดูสภาพพื้นที่และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
กังหันและกำแพงมีฟังก์ชั่นการใช้งานต่างกัน กำแพงเป็นสิ่งปลูกสร้าง มีฟังก์ชั่นในเชิงป้องกัน ส่วนกังหันโดยตัวมันเองเดี่ยวๆเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการ generate พลังงานไฟฟ้าจากกระแสลม ยังต้องเอาไปประกอบกับส่วนอื่นๆอีกค่ะ และเมื่อเกิดเป็นผลผลิตขึ้นมา ยังมีเรื่องการจัดการ การจัดสรรผลประโยชน์ การบำรุงรักษา ฯลฯ
1
อีกทั้ง ค่าเสียโอกาสก็เป็นต้นทุนหนึ่งเช่นกันค่ะ และนอกจาก "มูลค่า" ทางเศรษฐกิจที่สามารถตีออกมาเป็นตัวเลข ยังมีเรื่อง "คุณค่า" ในเชิงนามธรรมอื่นๆอีก
1
กำแพงไม่ได้มีผลิตภาพเหมือนกังหัน และไม่ใช่ของวิเศษที่จะปกป้องหรือเอาชนะกระแสลม เพียงแต่ลดความเสียหายอันอาจเกิดจากลมที่พัดแรง ส่วนกังหันหากจะมองแต่ในเชิงประโยชน์ ก็อย่าลืมมองผลข้างเคียงที่ตามมาจากผลประโยชน์ก้อนนั้นด้วย
1
(ว่าไปก็เยอะความ!! ขอกล่าวโดยสังเขปเพียงแค่นี้)
ในกระทู้ใช้คำว่า "รับมือ" หลักประจำใจที่เราใช้ทุกครั้งคือ เมื่อจะรับมือกับอะไร พึงศึกษาสิ่งนั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน ศึกษาให้รอบด้าน รวบรวมตัวเลือกทั้งหมดที่มี และเปรียบเทียบด้วยหลักวิชา ด้วยเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ-ไม่สองมาตรฐาน ด้วยใจเป็นธรรม ไม่ใช้ความรู้สึกนำ และก่อนจะตัดสินใจเลือกสิ่งใด พึงยอมรับให้ได้ทั้งข้อดีและข้อเสียของมัน
3
รับมือกับลมพัดแรง ตัวเลือกไม่ได้มีแค่ 2 อย่างค่ะ ไม่ได้มีแค่กำแพงหรือกังหัน โลกนี้มีทั้งมนุษย์ที่เคารพธรรมชาติ และที่มักท้าทายเอาชนะธรรมชาติ
2
เราเคยได้ยินคำว่า "ลมแรง-กำแพง-กังหัน" ที่พาดพิง ม.112 (หากเข้าใจผิดก็ขออภัยล่วงหน้านะคะ) ซึ่งบริบทดั้งเดิมไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ ม.112 เลย แต่นักการเมืองเอามาตัดแปะ ใช้เป็นวาทะกรรมมาปั่นความรู้สึกของประชาชน ซึ่งก็เป็นวิธีปกติของพวกอีแอบค่ะ
1
ประชาชนตาดำๆอย่างเรา พึงใช้วิจารณญาณค่ะ การมีหลักประจำใจที่มั่นคงจะช่วยให้แยกแยะได้ค่ะ
โฆษณา