Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
31 ม.ค. 2024 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การขาดความรู้ทางการเงิน อีกหนึ่งต้นตอของหลายปัญหา ในประเทศไทย
จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยบางส่วน ยังขาดความรู้ทางการเงิน ในเรื่องของ
1) การคำนวณดอกเบี้ย
2) การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
3) มูลค่าของเงินตามกาลเวลา
3
นอกจากนี้ในด้านพฤติกรรม ยังพบว่าคนไทยไม่ค่อยใส่ใจในการเปรียบเทียบข้อมูล ก่อนการซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การจัดสรรเงินก่อนใช้ และการบริหารเงิน
แม้จะดูเหมือนเป็นปัญหาเฉพาะบุคคล แต่จริง ๆ แล้วการขาดความรู้และวินัยทางการเงิน เป็นปัญหาระดับชาติ ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากกว่าที่หลายคนคิด..
4
แล้วการขาดความรู้และวินัยทางการเงิน กำลังทำให้เรา รวมถึงประเทศชาติ ต้องเจอปัญหาอะไรตามมาบ้าง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จริง ๆ แล้วมีงานสำรวจมากมายที่พบว่า
- การขาดวินัยทางการเงิน คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน
2
โดยเฉพาะผู้ที่มีหนี้และปัญหาทางการเงิน ซึ่งมีรสนิยมและความต้องการที่จะมีหน้ามีตาทางสังคมสูง
- ผู้ที่เคยชำระหนี้บัตรเครดิตล่าช้า มีระดับทักษะทางการเงินต่ำกว่าผู้ที่ไม่เคยชำระหนี้ล่าช้า
หรือสามารถสรุปแบบสั้น ๆ ได้ว่า การขาดความรู้และวินัยทางการเงิน คือหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการเป็นหนี้สินเกินตัว จนจ่ายไม่ไหว และกลายเป็น “หนี้เสีย” ตามมา
ถ้าถามว่า การผิดนัดชำระหนี้ หรือเป็นหนี้เสีย มีผลกระทบอย่างไร ?
แน่นอนว่า สำหรับผู้ที่ชำระหนี้ล่าช้า ก็จะต้องเจอกับภาระดอกเบี้ยที่สูงถึง 16-25% ต่อปี ซึ่งยังไม่รวมค่าปรับและค่าติดตามทวงถามที่อาจจะเกิดขึ้น ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ
แถมยังทำให้มีประวัติที่ไม่ดีในเครดิตบูโร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขอสินเชื่อใหม่ในอนาคตด้วย
ในขณะที่ธนาคารเอง ก็ต้องเจอกับปัญหา NPL ที่ทำให้ต้องตั้งสำรองสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและเสถียรภาพของธนาคาร
ในด้านเศรษฐกิจ เมื่อคนเป็นหนี้กันมากขึ้น ก็เท่ากับว่าการจับจ่ายใช้สอยก็จะน้อยลง เพราะต้องนำเงินไปจ่ายคืนหนี้แทนการนำเงินมาใช้จ่าย
ทำให้ในระยะข้างหน้า เครื่องยนต์เศรษฐกิจที่ชื่อว่า ภาคการบริโภค อ่อนแอลง
2
และเรื่องนี้อาจลามไปถึงปัญหาทางสังคม ทั้งในระดับครอบครัวและอาชญากรรม
ก็ต้องขอให้ลองนึกถึงข่าวการเกิดอาชญากรรม ที่ทุกคนน่าจะได้ยินกันบ่อยครั้ง
อย่างการปล้นร้านทอง การฆ่าชิงทรัพย์ การค้ายา
หลายครั้งที่เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะการติดหนี้ ซึ่งมีการขาดความรู้และวินัยทางการเงิน เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเป็นหนี้
ขณะเดียวกัน อีกหนึ่งปัญหาที่มักจะมาพร้อมกับการเป็นหนี้ คือ “การไม่มีเงินเก็บ”
รู้ไหมว่า ในประเทศไทย มีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ที่มีเงินไม่พอสำหรับการดำรงชีวิต
และมีคนไทยเพียง 16 จาก 100 คนเท่านั้น ที่ได้วางแผนการเกษียณอายุ และสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้
2
โดยจากผลสำรวจเผยอีกว่า คนกลุ่มที่ไม่ได้มีการเก็บออม คือกลุ่มที่มีระดับทักษะทางการเงิน ที่ค่อนข้างต่ำ (ความรู้, พฤติกรรม และทัศนคติ)
สำหรับเรื่องนี้ ผลกระทบก็ไม่ได้มีแค่คุณภาพชีวิตที่แย่ลงของผู้สูงอายุ แต่ยังลามไปถึงภาระทางการคลังที่มากขึ้นของรัฐ
1
โดยเฉพาะในช่วงที่เรากำลังมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
ในขณะที่วัยแรงงานที่ทำงานจ่ายภาษีให้รัฐ กำลังลดลง
เป็นการสวนทางกันของรายได้และรายจ่ายที่น่าเป็นห่วง
1
และนอกจากภาครัฐ ปัญหาการไม่มีเงินออม ยังส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจอีกด้วย
เพราะเงินออม คือวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการลงทุน
ลองคิดว่าถ้าไม่มีใครออมเงิน ธนาคารก็จะไม่มีเงินไปปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่าง ๆ และอาจทำให้ไม่เกิดการลงทุนและจ้างงานตามมา
2
แถมดีไม่ดี ยังอาจจะทำให้เราต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้นด้วย ซึ่งก็อาจเพิ่มความเปราะบางของระบบการเงิน และนำไปสู่การเกิดวิกฤติทางการเงินได้
ส่วนข้อดีของการมีปริมาณการออมเงินที่มากนั้น สามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้จากกรณีของประเทศสิงคโปร์ ที่มีปริมาณการออมประชาชาติเบื้องต้น (Gross Savings) อยู่ที่ 43% ต่อ GDP ซึ่งมากกว่าไทยที่อยู่ 27% ต่อ GDP
ถ้าจะพูดว่าสิงคโปร์ เป็นประเทศที่สร้างชาติด้วยเงินออมก็ไม่ผิด โดยสิงคโปร์มีการจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง (Central Provident Fund) ที่มีลักษณะคล้ายกับกองทุนประกันสังคม ผสมกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมของประเทศ
และกองทุนนี้ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีสินทรัพย์มากถึง 14.7 ล้านล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าคิดเป็น 90% ของขนาด GDP ทั้งประเทศ
4
เงินออมจำนวนมากของสิงคโปร์นี้เอง ที่ได้กลายเป็นเงินทุน สำหรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการของรัฐ ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
รวมไปถึงการผลิตบุคลากรที่มีความสามารถ ที่ช่วยในการพัฒนาประเทศ และทำให้บริษัทเอกชนต่าง ๆ ได้มีเงินเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจด้วย
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งผลกระทบที่เกิดจากการขาดความรู้ทางการเงิน ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลย เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ทั้งไทยและสหรัฐฯ เคยเกิดวิกฤติมาแล้ว
1
นั่นก็คือปัญหา “ภาวะฟองสบู่”
2
เพราะการขาดความรู้ทางการเงิน อาจทำให้เราลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูงกว่าที่เรารับไหว เพียงเพราะเห็นผลตอบแทนงาม ๆ มาล่อใจ
และอาจเกิดการแห่กันเก็งกำไรในทรัพย์สินต่าง ๆ จนเกิดเป็นภาวะฟองสบู่ และแตกกลายเป็นวิกฤติในที่สุด
โดยทั้งวิกฤติต้มยำกุ้ง และวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ ก็มีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดวิกฤติด้วยกันทั้งคู่
1
จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นว่า การขาดความรู้ทางการเงิน คือหนึ่งในต้นตอสำคัญที่ทำให้เกิดหลายปัญหาตามมา
ดังนั้นหนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหา จึงควรเริ่มจากการที่สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา ได้ปลูกฝังและให้ความรู้ทางการเงินที่ถูกต้องแก่ประชาชนตั้งแต่เด็ก ๆ
ถึงจะไม่ใช่เรื่องง่ายในทางปฏิบัติ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก จนเป็นไปไม่ได้
และบางที ถ้าคนส่วนใหญ่มีความรู้ทางการเงินกันมากขึ้น
ประเทศก็อาจไม่ต้องเจอกับปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง
ปัญหาการไม่มีเงินเก็บพอที่จะเกษียณ
รวมถึงอีกหลาย ๆ ปัญหา ที่ไทยกำลังเผชิญอยู่..
References
-รายงานผลสํารวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2565 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
-รายงานหนี้ครัวเรือนไทย: ข้อเท็จจริงที่ได้จาก BOT-Nielsen Household Financial Survey
-
https://data.worldbank.org/
-
https://www.pier.or.th/blog/2023/1001/#ref-bot2020
-8 ข้อเท็จจริง ปัญหาการเงินของครัวเรือนไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
-
https://www.bot.or.th/th/our-roles/special-measures/Tom-Yum-Kung-lesson.html
-รายงานติดตามภาวะเงินฝากและการออม ธนาคารออมสิน
2
เศรษฐกิจ
การลงทุน
110 บันทึก
146
13
226
110
146
13
226
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย