30 ม.ค. เวลา 10:34 • ไลฟ์สไตล์
ราชประสงค์​สกายวอล์ก​

ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ

ขอแชร์ต่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์แถวราชประสงค์กันต่อเลยดีก่า คราวนี้ขอแชร์เรื่องท้าวมหาพรหมกัน เพราะตรงนี้มีคนเนื่องแน่นทั้งไทย และเทศ ส่วนตัวเหมือนเดิมเราไม่เคยไหว้เป็นกิจลักษณะ เนื่องด้วยคนแน่นมาก เราเป็นประเภทไม่ชอบที่ที่คนเยอะๆ ถ้าไหว้จริงจังก็องค์อัมรินทร์ พระแม่ลักษมี พระแม่อุมา และพระพิฆเนศ ถ้าเป็นที่ราชประสงค์อ่าน่ะ มาเข้าเรื่องกันเลยกันดีก่า จะได้ไม่เสียเวลา ขอพูดถึงประวัติกันก่อนเลย
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ เป็นศาลศาสนาฮินดูตั้งอยู่หน้า โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประวัติการกำเนิดศาล เมื่อ พ.ศ. 2494 พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ กำหนดให้มีการก่อสร้างโรงแรมเอราวัณ ขึ้นบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพื่อรองรับแขกต่างประเทศ
ว่ากันว่าในช่วงแรกของการก่อสร้างเกิดอุบัติเหตุขึ้นมากมาย เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ปลายปี พ.ศ. 2499 ทาง บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ผู้บริหารโรงแรมได้ติดต่อ พลเรือตรีหลวงสุวิชาน นายแพทย์ใหญ่กองทัพเรือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโหราศาสตร์ เข้าดำเนินการหาฤกษ์วันเปิดโรงแรม
พลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ได้ท้วงติงว่า ในการก่อสร้างโรงแรมไม่ได้มีการทำพิธีบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณนั้นก่อน ฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมก็ไม่ถูกต้อง อีกทั้งชื่อของโรงแรม "เอราวัณ" นั้น เป็นชื่อของช้างทรงของพระอินทร์ ถือเป็นชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์ จำเป็นต้องมีการบวงสรวงที่เหมาะสม วิธีการแก้ไขจะต้องขอพรจากพระพรหมเพื่อช่วยให้อุปสรรคหมดไป และจะต้องสร้างศาลพระพรหมขึ้นทันทีหลังจากการก่อสร้างโรงแรมแล้วเสร็จ และสร้างศาลพระภูมิขึ้นไว้ในโรงแรม
จึงได้มีการตั้งศาลพระพรหม ออกแบบตัวศาลโดย นายระวี ชมเสรี และ ม.ล.ปุ่ม มาลากุล องค์ท้าวมหาพรหมปั้นด้วยปูนพลาสเตอร์ปิดทอง ออกแบบและปั้นโดยนายจิตร พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และอัญเชิญพระพรหมมาประดิษฐานที่หน้าโรงแรมเอราวัณ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ตามแผนงานครั้งแรก องค์ท้าวมหาพรหมจะเป็นโลหะหล่อสีทอง แต่เนื่องจากระยะเวลาจำกัดด้วยฤกษ์การเปิดโรงแรม จึงได้เปลี่ยนวัสดุเป็นปูนปั้นปิดทองแทน
ปัจจุบัน ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ อยู่ในความดูแลของ "มูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหม" ส่วนการแก้บนที่เห็นบ่อย ๆ คือการถวายพวงมาลัย 7 สี 7 ศอก หรือช้างไม้แกะสลัก รวมถึงนางรำแก้บน ละครชาตรี สำหรับพระพรหมนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในสามของพระเจ้า ในศาสนาฮินดู ได้แก่ พระพรหมคือผู้สร้าง พระศิวะคือผู้ชำระ และพระนารายณ์ คือผู้กอบกู้ธำรง รูปลักษณ์ของพระพรหมที่จินตนาการตามความเชื่อนั้น เชื่อว่ามี 4 เศียร 4 หน้า และ 4 กร ถือสิ่ง ต่าง ๆ เช่น ช้อน ลูกประคำ ฯลฯ
เชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย
คำว่า "พรหม" หมายถึง ความเจริญ , ความกว้างขวาง , ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตาม คติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งผู้บูชาพระพรหมและทำความดี จะได้รับการบันดาลพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา
การกราบไหว้พระพรหม
หากสถานที่กราบไหว้เป็นเทวาลัยขนาดใหญ่ ควรไหว้พระพรหมให้ครบทั้ง 4 พระพักตร์ เริ่มจากพระพักต์กลาง เดินวนไปตามเข็มนาฬิกา จนกลับมาที่เดิม
เครื่องบูชา เครื่องสังเวยต่างๆ
ดอกไม้ กลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมะลิ ดาวเรือง ดอกบัว ดอกโมก
กำยานและธูป ใช้จุดได้ทุกกลิ่น
อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมหวาน รสอ่อน ไม่ปรุงรสมากเกิน ไม่เค็มจัด ไม่ผสมสี เน้นธรรมชาติให้มากที่สุด
ผลไม้ ถวายได้ทุกชนิด แนะนำมะพร้าว สาลี่ ชมพู่ กล้วย
ส่วนธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวหุง เมล็ดถั่วต่างๆ งาขาว งาดำ ลูกเดือย เผือก มัน สมุนไพร เมล็ดพริกไทย ผักชี ใบกระเพรา พืชผักสดต่างๆ (ของทุกอย่างจะสุกหรือไม่สุกก็ได้ เช่น ผักสดก็ถวายได้ ผักต้มสุกก็ถวายได้)
ห้ามถวายเนื้อสัตว์เด็ดขาด
บทสวดมนต์บูชาพระพรหม
ก่อนสวดบูชาพระพรหม ต้องสวดบูชาพระพิฆเนศก่อนทุกครั้ง ซึ่งเป็นกฎการไหว้เทพของศาสนาพราหมณ์ทุกนิกาย
บทสวดพระพรหม
(เลือกสวดบทใดก็ได้)
- โอม พรหมมายะ นะมะห์ (สี่จบ)
- โอม ปะระเมศะ นะมัสสะการัม โองการะ นิสสะวะรัม
พรหมเรสะยัม ภูปัสสะวา วิษณู ไวยะทานะโมโทติลูกะปัม
ทะระมา ยิกยานัม ยะไวยะลา คะมุลัม
สะทานันตะระ วิมุสะตินัม
นะมัสเต นะมัสเต จะอะการัง ตะโถวาจะ
เอตามาตาระยัต ตะมันตะรามา
กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม
สัมโภพะกะละ ทิวะทิยัม มะตัมยะ (หนึ่งจบ)
โอม จะตุระมุขายะ วิทมะเห
หัมษา รุทายะ ธีมะหิ
ตันโน พรหมมา ประโจทะยาต (หนึ่งจบ)
- โองการพินธุนาถัง อุปปันนัง
พรหมมาสะหะปะตินามะ
อาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมังทิสะวา
นะโมพุทธายะ วันทะนังฯ
- โอม พรหมมะเณ ยะนะมะ
โองการพินทุ นาถังอุปปันนาถัง
สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมัง
พรหมมาสะหัมปะตินามัง ทิสสะวา นะโมพุทธายะ วันทานัง
- โอม พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ทุติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ตะติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
- พรหมมาจิตตัง ปิยังมะมะ
นะชาลีติ นะมะพะทะ
นะมะอะอุ เมกะอะอุ
- ปิโย เทวะ มะนุสสานัง ปิโย พรหมมา นะมุตตะมัง
ปิโย นาคะ สุปันณานัง ปินินทะริยัง นะมามิหัง
อ้างอิง
โฆษณา