Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
5 ก.พ. 2024 เวลา 23:03 • ข่าว
โหมโรง "Simnotrelvir" ยาโควิดความหวังใหม่?
ช่วงต้นปีที่ผ่านมามีการตีพิมพ์การศึกษาจากจีนใน The new england journal of medicine ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาโควิด 19 ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางในผู้ใหญ่ของยา Simnotrelvir
ถึงแม้ปัจจุบันในแนวทางการรักษาโควิดในหลายประเทศรวมถึงในไทย จะยกให้ Molnupiravir และ Paxlovid(Nirmatrelvir-ritonavir) เป็นแนวทางการรักษาหลัก
แต่ในหลายประเทศก็ยังติดปัญหาเรื่องของค่ายาที่มีราคาแพง การนำเข้ายาดังกล่าวอาจกระทบกับประเทศที่มีรายได้น้อย รวมถึงปัญหาการเข้าถึงการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง
ส่วนในไทย แม้จะมีการบรรจุสารสกัดฟ้าทะลายโจร(andrographolide) ลงในแนวทางการรักษาโควิดในผู้ป่วยอาการเล็กน้อยถึงปานกลางที่ไม่มีข้อห้ามใช้ แต่ก็ยังไม่ข้อกังขาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรักษา ทั้งในระดับนัยสำคัญทางสถิติและนัยสำคัญทางคลินิก
ดังนั้นการศึกษาตัวยา Simnotrelvir ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า(ในจีน) ก็อาจเป็นทางเลือกในอนาคตของการรักษาโควิดในผู้ใหญ่ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง สำหรับผู้ที่ไม่มีข้อห้ามใช้
ตารางแสดงปริมาณ viral load
การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาแบบ RCT โดยคัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยโควิดอายุอย่างน้อย 18 ปี เริ่มมีอาการหรืออาการแสดงของ Covid-19 ภายใน 3 วันก่อนเข้าสู่การศึกษา ผู้ป่วย 1,208 คนถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับยา Simnotrelvir 750 mg/ritronavir 100 mg จำนวน 603 เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกจำนวน 605 คน โดยทำการให้ยาครั้งแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับยา Simnotrelvir 750 mg/ritronavir 100 mg จำนวน 603 มีระยะเวลาการหายจากอาการของโควิดเฉลี่ยอยู่ที่ 180.1 ชั่วโมง [95% confidence interval {CI}, 162.1 to 201.6] เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก อยู่ที่ 216.0 ชั่วโมง [95% CI, 203.4 to 228.1] น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นอกจากนี้เมื่อผ่านไป 5 วัน จำนวน viral load ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา Simnotrelvir 750 mg/ritronavir 100 mg ลดลงจากค่าพื้นฐานของกลุ่มเมื่อเทียบกับปริมาณ viral load ในกลุ่มยาหลอก (mean difference [±SE], −1.51±0.14 log10 copies per milliliter; 95% CI, −1.79 to −1.24).
ตารางแสดงการศึกษาด้านความปลอดภัยของยา
ในแง่ความปลอดภัย พบว่าอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระหว่างการรักษาในกลุ่มที่ได้รับยา Simnotrelvir 750 mg/ritronavir 100 mg มีสูงกว่าในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (29.0% ต่อ 21.6%) โดยเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรงไปจนถึงปานกลาง
โดยเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบคือ การเพิ่มขึ้นของระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (ใน 4.3% ของผู้ป่วยในกลุ่ม simnotrelvir และ 2.1% ในกลุ่มยาหลอก) การลดลงของจํานวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (1.9% และ 0.2%) และท้องเสีย (1.7% และ 1.1%) โดยมีเพียง 2 รายในกลุ่มที่ได้รับ Simnotrelvir 750 mg/ritronavir 100 mg
ที่มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง โดยรายหนึ่งมีอาการไส้ติ่งอักเสบและอีกรายหนึ่งมีเลือดออกทางช่องคลอดจากภาวะ adenomyosis
1
4
อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวไม่ได้มีการวิเคราะห์กลุ่มย่อย หรือกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งปริมาณผู้เข้าร่วมการรักษาถือว่าค่อนข้างน้อย อีกทั้งยาทั้งสองตัวอยู่ในกลุ่ม
protease inhibitor ซึ่งในทางคลินิกแล้วมักเกิดอันตรกริยากับยาในกลุ่มอื่นๆอยู่บ่อยครั้ง การใช้ยาดังกล่าวอย่างปลอดภัยอาจจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
อ้างอิง
https://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/
สุขภาพ
ข่าวรอบโลก
โควิด19
2 บันทึก
8
13
3
2
8
13
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย