31 ม.ค. เวลา 11:36 • สิ่งแวดล้อม

เมื่อโลกร้อน เกินจุด "Point of no return"

โลกอาจจะร้อนเกินจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ (Point of no return) ไปแล้ว
ปี 2023 ที่ผ่านมาองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกประกาศว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติการณ์ โดยมีอุณหภูมิโลกสูงขึ้นประมาณ 1.4 องศาเซลเซียสเหนือยุคก่อนอุตสาหกรรม
"จุดที่ไม่อาจหวนกลับ" หรือ Point of return ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะใช้เพื่อกล่าวถึงจุดที่เกินเกณฑ์วิกฤตที่มีผลกระทบบางอย่างที่ไม่สามารถแก้ไข หรือยากเกินที่จะบรรเทาให้กลับมาเป็นเช่นเดิม
ในภาพประกอบเส้นสีแดงที่แสดงในภาพ ชี้ถึงข้อมูลเดือนกันยายน 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งได้เกินขีดจำกัดจากกรอบสีเทาซึ่งแสดงถึงอุณหภูมิ +1.5°C เหนือค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม (1850-1900)ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในปีที่ผ่านมาเราอาจจะเคยอ่านบทความ 1-2 บทความเกี่ยวกับการทำลายสถิติเดือนที่ร้อนที่สุด อย่างเดือนกันยายน 2023 โดยมีอุณหภูมิบนพื้นผิวเฉลี่ย 16.38°C ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยปี 1991-2020 ถึง 0.93°C
แม้จะมีการควบคุมอุณหภูมิโลกตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)ที่จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในศตวรรษนี้ให้ต่ำกว่า 1.5-2°C เทียบกับยุคก่อนการปฎิวัติอุตสาหกรรมแล้วก็ตาม
• เมื่อวิกฤตอาจจะมาถึงเร็วกว่าที่คาดคิด
ตามการคาดการณ์ที่ต้องการจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ไม่เกิน 1.5°C กำหนดให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกต้องถึงจุดสูงสุดก่อนปี 2568 และลดครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ด้วยระยะเวลาอาจจะสายเกินไป หากไม่มีการลดการปล่อยก๊าซอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอนอย่างรวดเร็ว
รวมถึงกลยุทธ์และแนวทางแก้ไขที่สำคัญเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและบรรเทาภาวะโลกร้อนที่ถึงจุดที่ไม่อาจย้อนกลับได้ไปแล้ว ดังนี้
• การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อย่างรวดเร็ว :
การใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นสิ่งสำคัญ เช่นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ลม พลังน้ำ และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดอื่นๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
• ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน :
การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร การขนส่ง และอุตสาหกรรมจะช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวม และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รวมถึงการนำเทคโนโลยีประหยัดพลังงานมาใช้
• การอนุรักษ์และการปลูกป่า :
ป่าทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ซึ่งช่วยชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปกป้องป่าที่เหลืออยู่ ฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม และการส่งเสริมการปลูกป่ามีส่วนทำให้เกิดการกักเก็บคาร์บอนได้
• เกษตรกรรมยั่งยืน :
ส่งเสริมเกษตรยั่งยืน เช่น การทำฟาร์มที่แม่นยำ (Smart Farmer) วนเกษตร และเกษตรอินทรีย์ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มการกักเก็บคาร์บอน
• การดักจับ จัดเก็บ และใช้ประโยชน์จากคาร์บอน (CCUS) :
เทคโนโลยีดักจับ จัดเก็บ และนำคาร์บอนมาใช้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า
อ่านบทความ "CCUS กับวันที่คาร์บอนมีประโยชน์" ได้ที่ : https://www.coldersolution.co.th/posts/2023/09/ccus/
• ความร่วมมือระหว่างประเทศ :
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาข้อบังคับต่างๆ อย่างเช่นการลดการใช้ ผลิต สารทำความเย็น HFC และมาใช้สารทำความเย็นที่มีค่า GWP ต่ำ การร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนทั่วโลกอย่างจริงจังจะสามารถลด และบรรเทาสถานการณ์โลกร้อนได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน และสนับสนุนประเทศเปราะบาง หรือ ประเทศด้อยพัฒนา
อ่านบทความ "การพัฒนาข้อบังคับการใช้สารทำความเย็น" ได้ที่ : https://www.coldersolution.co.th/posts/2022/03/Refrigerant-Policy/
• เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy):
ส่งเสริม Circular Economy ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด ให้ความสำคัญกับการรีไซเคิล สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมต่างๆ ได้
• การตระหนักรู้สาธารณะและนโยบาย :
การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสร้างนโยบายตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก
แม้ว่าโลกของเราที่เกินจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ (Point of no return)ซึ่งได้รับผลกระทบบางอย่างอาจแก้ไขไม่ได้ไปแล้ว แต่โดยรวมของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงได้รับอิทธิพลจากการกระทำของมนุษย์
ที่ผ่านมา วิกฤตปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมักถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ใช่ความรับผิดชอบของใคร หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เมื่อเทียบกับประเด็นอื่นๆในสังคม แต่ที่จริงแล้ว
ความพยายามร่วมกันเพื่อความยั่งยืนในภาคส่วนต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ รัฐบาล อุตสาหกรรม ธุรกิจ ชุมชน และเราทุกคนนั้น ล้วนมีบทบาทสำคัญในการนำโซลูชันไปใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน และบรรเทาภาวะโลกร้อนที่เกินจุดที่ไม่อาจหวนกลับได้
ข้อมูลจาก
9 สู่ปีที่ 10 เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลง เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้กับทุกท่าน l 𝗖𝗵𝗮𝗻𝗴𝗲 𝗳𝗼𝗿 𝘁𝗵𝗲 𝗯𝗲𝘁𝘁𝗲𝗿
ดูรายละเอียดสารทำความเย็นทั้งหมดได้ที่ : https://www.coldersolution.co.th/products/
ติดต่อเรา :
Line id : @Colder หรือคลิก : https://lin.ee/VEnKS4M
#โลกร้อน #HFC #HFO #refrigerant #Phasedownrefrigerant #สารทำความเย็น #น้ำยาแอร์ #R1234yf #R454b #R513a
โฆษณา