31 ม.ค. เวลา 11:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

IAQ Rating Index มาตรฐานชี้วัดคุณภาพอากาศในอาคาร

𝗔𝗖𝗧 เคยกล่าวถึง AQI (𝗔𝗶𝗿 𝗤𝘂𝗮𝗹𝗶𝘁𝘆 𝗜𝗻𝗱𝗲𝘅) หรือเกณฑ์วัดคุณภาพอากาศไปแล้วในบทความ "รับมือ PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยี HVAC" ซึ่ง 𝗔𝗤𝗜 เป็นเกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.advance-cool.com/air-purifier-hvac/
สำหรับวันนี้เราจะมากล่าวถึง "คุณภาพอากาศภายในอาคาร (𝗜𝗡𝗗𝗢𝗢𝗥 𝗔𝗜𝗥 𝗤𝗨𝗔𝗟𝗜𝗧𝗬 - 𝗜𝗔𝗤)" ซึ่งหมายถึงคุณภาพอากาศภายใน โครงสร้าง และบริเวณรอบอาคาร โดยเกี่ยวข้องกับปริมาณของละออง ฝุ่น สิ่งปนเปื้อน อุณหภูมิ ความชื้น ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความสะดวก สบายของผู้อยู่อาศัยในตัวอาคาร
โดยทั่วไปแล้ว การจัดระดับคุณภาพอากาศภายในอาคาร (𝗜𝗔𝗤) หมายถึงการประเมินหรือการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารหรือพื้นที่ปิด แต่ละองค์กร/อุตสาหกรรม ฯลฯ อาจใช้วิธีการ และมาตรฐานที่ต่างกัน ในการประเมิน 𝗜𝗔𝗤 และนี่คือองค์ประกอบ และดัชนีที่นิยมใช้ในการพิจารณาในการจัดอันดับ 𝗜𝗔𝗤 :
• ดัชนีคุณภาพอากาศ (𝗔𝗤𝗜 ):
จากที่กล่าวไปข้างต้น AQI เป็นมาตราส่วนตัวเลขที่ใช้ในวัดระดับคุณภาพอากาศในสถานที่เฉพาะ โดยคำนึงถึงความเข้มข้นของสารมลพิษ เช่น ฝุ่นละออง (PM2.5 และ PM10) โอโซน คาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ 𝗔𝗤𝗜 (𝗔𝗶𝗿 𝗤𝘂𝗮𝗹𝗶𝘁𝘆 𝗜𝗻𝗱𝗲𝘅) มักใช้เพื่อบ่งชี้คุณภาพอากาศภายนอกโดยทั่วไป แต่ก็สามารถใช้ในอาคารบางประเภทได้เช่นกัน
• ระดับฝุ่นละออง (PM):
ระดับ PM โดยเฉพาะ PM2.5 และ PM10 เป็นตัวชี้วัดคุณภาพอากาศที่สำคัญ อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากมีการสะสม จากการสูดดมโดยตรง การวัดและการให้คะแนนความเข้มข้นของอนุภาคในอากาศถือเป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไปในการประเมิน IAQ
• ค่าสารระเหยง่าย (𝗩𝗢𝗖𝘀):
𝗩𝗢𝗖𝘀 ย่อมาจาก 𝗩𝗼𝗹𝗮𝘁𝗶𝗹𝗲 𝗢𝗿𝗴𝗮𝗻𝗶𝗰 𝗖𝗼𝗺𝗽𝗼𝘂𝗻𝗱𝘀 มีคุณสมบัติเป็นสารประกอบ เช่น สารเคมีหลาย ๆ ชนิด อย่างสารระเหยที่มีโมเลกุลคลอรีน และ ไม่มีคลอรีน ที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งต่างๆ เช่น งานก่อสร้าง งานซ่อมแซม เฟอร์นิเจอร์ สีทาบ้าน และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ฯลฯ สารเหล่านี้ต้องได้รับการประเมินและจัดอันดับเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารได้
• ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2):
การตรวจสอบระดับ CO2 ใช้สำหรับการประเมินประสิทธิภาพการระบายอากาศ ระดับ CO2 ที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลต่อ IAQ ความสะดวกสบาย และสุขภาพของผู้อาศัยในอาคารได้
• ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) :
ผู้ออกแบบระบบ HVAC ในตัวอาคาร ควรประเมินการออกแบบเพื่อรักษาระดับความชื้นที่เหมาะสม เนื่องจากความชื้นเป็นสาเหตุของการเจริญเติบโตของเชื้อราและการแพร่กระจายของไรฝุ่น การให้คะแนนระดับความชื้นภายในอาคารเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน IAQ
การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Control) :
แม้ว่าจะไม่ใช่การวัดคุณภาพอากาศโดยตรง แต่การรักษาอุณหภูมิที่สะดวกสบายจะส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยโดยรวม
IAQ เป็นดัชนีการวัดสภาพอากาศในอาคาร ที่แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการใช้งาน ธุรกิจ อุตสาหกรรมที่ต้องพิจารณาจากพารามิเตอร์หลายตัว ประเทศหรือภูมิภาคต่างๆ อาจมีแนวทางหรือมาตรฐานเฉพาะสำหรับ IAQ ไปจนถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการระบายอากาศและคุณภาพอากาศ
ในบทความหน้าเราจะมาพูดถึงวิธีแก้ไข และปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารด้วย HVAC Solution หรือการใช้ระบบปรับอากาศในการทำงานควบคู่กับการรักษาคุณภาพอากาศกันครับ
𝗔𝗖𝗧 : 𝗔𝗱𝘃𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗖𝗼𝗼𝗹 𝗧𝗲𝗰𝗵𝗻𝗼𝗹𝗼𝗴𝘆 เราสามารถช่วยคุณปรับแต่งโซลูชันตามการออกแบบ ตำแหน่งที่ตั้ง และการใช้งานของอาคาร ตามความต้องการของคุณ
เรามีทีมวิศวกรเฉพาะทางทางด้านปรับอากาศที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการในทุกธุรกิจ ตอบสนองได้ทั้งความต้องการ และงบประมาณของคุณ
Line id : @advancecool หรือคลิก https://lin.ee/Uv6td2a
#PM25 #เครื่องฟอกอากาศ #AirPurifier #Chiller #ติดตั้งChiller #ระบบปรับอากาศ #ออกแบบระบบปรับอากาศ #ระบบHVAC #IAQ #คุณภาพอากาศในอาคาร #ปรับปรุงคุณภาพอากาศ
โฆษณา