31 ม.ค. เวลา 18:06 • การศึกษา

"การศึกษาวิธีการนำเสนอ 'เรื่องราว' และ 'พื้นที่ของเวลา' ในการเปลี่ยนข้อมูลในท้องถิ่นเป็นภาพยนตร์"

โดย คุณโนริโกะ โคสึรุ (ห้องทดลองของ ศ.คาวาชิมะ)
วันนี้ผมมีโอกาสได้ฟังการสอบจบปริญญาเอกจากคณะวิศวกรรมระบบสังคม ซึ่งเป็นสาขาที่ผมเรียนอยู่ครับ
"วิศวกรรมระบบสังคม" เป็นสาขาที่ศึกษาและพัฒนาวิธีการในการแก้ไขปัญหาทางสังคมผ่านการประยุกต์ใช้หลักการวิศวกรรม ซึ่งประกอบไปด้วยการวางแผน การออกแบบ และการจัดการระบบต่างๆ เช่น ระบบการขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค และระบบสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น
การสอบจบครั้งนี้เป็นการนำเสนองานวิจัยที่เน้นการใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือในการบันทึกและถ่ายทอดข้อมูลของทรัพยากรท้องถิ่นเช่น สถานที่สำคัญ ววิถีชีวิต วัฒนธรรม ผู้คน ผ่านการเล่าเรื่องและตีความเรื่องเวลาได้อย่างลึกซึ้ง
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงการนำหลักการและเทคนิคต่างๆ ในวิศวกรรมระบบสังคมมาประยุกต์ใช้ในด้านวัฒนธรรมและศิลปะ โดยเฉพาะการใช้เทคนิค "Gyakubako" และ "Gyakuscenario" ในการวิจัย (เทคนิค นี้ เป็นวิธีการในการวิเคราะห์ภาพยนตร์ โดย "Gyakubako" หมายถึงการแปลงฉากหรือภาพยนตร์กลับเป็นสคริปต์เพื่อทำความเข้าใจเรื่องราวและโครงสร้าง ส่วน "Gyakuscenario" เป็นการเขียนสคริปต์จากภาพยนตร์ที่มีอยู่แล้ว ช่วยให้เข้าใจการเล่าเรื่องและเทคนิคทางภาพยนตร์ได้ลึกซึ้งขึ้น)
สามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น และยังช่วยในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่นอีกด้วย งานวิจัยนี้เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของการประยุกต์ใช้วิศวกรรมระบบสังคมในแง่มุมใหม่ ๆ ครับ
ซึ่งผมชอบในผลงานทดลองจากงานวิจัยที่นำเสนอเป็นภาพยนตร์สั้นชื่อ "Missing" ที่เลือกใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเพื่อสร้างมิติใหม่ๆ ในการนำเสนอเรื่องราวและพื้นที่ ที่อาจจะหายไปจากเมืองฟุคุอิ โดยใช้ตัวละครและเรื่องราวที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงกับภูมิทัศน์ที่มีอยู่จริงและภูมิทัศน์ที่สูญหายไปแล้วจากสงครามและภัยพิบัติ รวมถึงการใช้ภาพทิวทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นสื่อในการบันทึกและสะท้อนความงดงามที่อาจสูญหายไปในอนาคต...
โฆษณา