Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
sit and read TH
•
ติดตาม
1 ก.พ. เวลา 05:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำสมาธิทำให้เกิดผลลัพธ์อะไร? ทำไมถึงได้รับความนิยมในกลุ่มคนพัฒนาตนเอง
งานวิจัยชี้การทำวิปัสสนาต่อเนื่อง 8สัปดาห์ ทำให้สมองในส่วน Hippocampus แข็งแรงขึ้น และสั่งการได้ง่ายขึ้น
4
ท่ามกลางความเครียดความกดดันของการจดจ่อกับการทำงานนานๆ หลายคนเคยพบเจอปัญหาสมองเมื่อยล้าอ่อนเพลียไม่โฟกัสกับงานที่ทำในแต่ละวัน ส่งผลให้ทำงานช้าลง และไม่มีประสิทธิภาพ บางคนอาจต้องพึ่งกาแฟ เพื่อทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่การดื่นคาเฟอีนก็ไม่ใช่วีธีที่ยั่งยืน และไม่ถูกต้อง
ซึ่งยังมีอีกหลายวิธีในการทำให้สมองนั้นฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ โดยไม่ต้องพึ่งคาเฟอีน บางคนอาจหันไปทำโยคะ เพื่อทำให้ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น หรือบางคนอาจทำเกี่ยวกับการวิปัสสนา ที่ทำให้เซลล์ในสมองนั้นแข็งแรง และทำงานได้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นเทคนิคการผ่อนคลายภายในสมองที่ส่งผลให้ เหนื่อยล้าช้าลง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นานขึ้น
เป็นหนึ่งในวิธีการทำสมาธิที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียที่สูญหายไปนาน และถูกค้นพบอีกครั้งโดย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2,500 ปีที่แล้ว ซึ่งคำว่า ‘วิปัสสนา’ นั้นหมายถึงการเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงเป็นกระบวนการชำระภายในตนเองให้เกิดความบริสุทธิ์ด้วยการสังเกตตนเองในปัจจุบัน ที่เริ่มต้นด้วยการสังเกตลมหายใจตามธรรมชาติ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ และสติรู้ตัวที่เฉียบแหลมยิ่งขึ้น เราจะสังเกตธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปของร่างกายและจิตใจ ตามความทุกข์ และความไม่มีตัวตนของร่างกาย
การตระหนักรู้ความจริงด้วยประสบการณ์โดยตรงนี้เป็นกระบวนการแห่งการทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามหลักสากล และไม่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศาสนาหรือการแบ่งแยกนิกายใดๆ เพราะเหตุนี้ ทุกคนจึงสามารถปฏิบัติได้อย่างอิสระ ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่มีความขัดแย้งอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ หรือศาสนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคนไม่ว่าชนชั้นใดอย่างเท่าเทียมกัน
ในการสำรวจทางวิทยาศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ที่มุ่งเน้นศึกษาไปที่การฝึกสมาธิแบบมีสติเป็นส่วนใหญ่ แต่การทำ ’วิปัสสนา’ ยังเป็นองค์ประกอบของประเพณีทางศาสนาโบราณหลายประการ ซึ่งด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มักจะยึดติดกับพิธีกรรมต่างๆ ที่มีพื้นฐานมาจากความศรัทธาอันมืดบอด
อย่างไรก็ตามมีผลงานวิจัยที่สนับสนุนเทคนิคการทำวิปัสสนานี้ ของมหาวิทยาลัย Harvard เป็นทีมวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ ที่ได้ทำงานวิจัยลักษณะดังกล่าว ตั้งแต่เมื่อปี 2011 และพบว่าสมองส่วนเนื้อสีเทา(Grey matter) ของผู้เข้าร่วมการทดลองที่ฝึกทำสมาธิติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์มีความหนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างมีนัยยะสำคัญในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน
หลังจากนั้น ก็มีทีมวิจัยจากทั่วโลกทำการศึกษาผลของการทำวิปัสสนาที่ส่งผลต่อสมอง กันมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย British Columbia ได้รวบรวมข้อมูลมาจากงานวิจัยถึง 20 ชิ้น และพบว่า การทำสมาธิมีผลดีต่อสมองถึง 8 บริเวณด้วยกัน ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างผลลัพธ์พลังอันไร้ขีดจำกัดที่มีต่อสมอง 2 บริเวณที่เป็นประโยชน์ด้วยกัน
1.เป็นบริเวณเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า Anterior cingulate cortex (ACC) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมตนเอง ความสามารถที่จะตั้งใจมีสมาธิจดจ่อและควบคุมพฤติกรรม ซึ่งการทำสมาธิในบริเวณสมองส่วนนี้นั้น จะช่วยเสริมสร้างให้แข็งแรงและทำหน้าที่ได้ดีขึ้น และยังช่วยควบคุมการตอบสนองแบบอัตโนมัติและช่วยให้การตัดสินใจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
2.ฮิบโปแคมปัส (Hippocampus) เป็นบริเวณที่อยู่ตรงกลีบสมองด้านข้าง เป็นส่วนหนึ่งของ Hippocampal Formation ทำหน้าที่สนับสนุนในการทำงานที่เกี่ยวกับ อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้ และการสำรวจและการรับรู้สถานที่ โดยรับข้อมูลจากสมอง (Cerebral Cortex) สมองส่วนบริเวณนี้ ที่นักวิจัยพบ มีการเพิ่มของปริมาณเนื้อสีเทาของส่วนฮิปโปแคมปัสมากขึ้น ทั้งนี้การที่ทำสมาธิ ทำให้ฮิปโปแคมปัสแข็งแรงขึ้นนั้น ยังทำให้ผู้ที่ทำสมาธิ มีความสามารถที่จะฟื้นตัวจากสภาวะทุกข์ได้อย่างรวดเร็ว และความสามารถในการควบคุมอารมณ์
ในส่วนด้านนอกของฮิปโปแคมปัสนั้น ถูกครอบคลุมด้วยปุ่มรับฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล ถ้ามีความเครียดเรื้อรังฮิปโปแคมปัสจะเกิดความเสียหาย และส่งผลร้ายในรูปแบบของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ทางร่างกาย ที่เห็นได้ชัดคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และโรคเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) ซึ่งจะมีขนาดของฮิปโปแคมปัสที่เล็กลง
นอกจากสมองทั้ง 2 บริเวณที่ได้กล่าวมาแล้วนนั้น นักประสาทวิทยายังพบอีกว่า การทำสมาธิเป็นประจำจะส่งผลดีต่อการรับรู้ การรู้จักตนเอง การตระหนักรู้ทางร่างกาย ความเข้าใจในความคิด ความสามารถในการทนอาการเจ็บปวด และการควบคุมระดับคลื่นความถี่ไฟฟ้าทางชีวภาค (ฺBio-Electro Magneticity) ที่จะถอดรหัสถ่ายทอดสื่อสารของข้อมูลระหว่างโมเลกุลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของพุทธศาสนาเรียก ว่า "สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค" เท่านั้น ซึ่งไม่มีในลัทธิ หรือ ในศาสนาอื่นๆ
นอกจากนี้ในมุมมองของนักวิชาการประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในตอนนี้อย่าง Yuval Noah Harari ที่มีผลงานอันโด่งดังอย่าง Sapiens และเป็นผู้ทำวิปัสสนามาเป็นเวลากว่า 24 ปี ก็ให้การยอมรับว่า เบื้องหลังของการประสบความสำเร็จในครั้งนี้ ก็ได้มาจากการทำวิปัสสนาอย่างต่อเนื่อง และถูกวิธี ซึ่งมีส่วนสำคัญมากในการสร้างงานเขียนอันทรงพลังให้ออกมามีคุณภาพ และดีได้
สำหรับเขานั้นกล่าวว่า การทำวิปัสสนาเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้น ควรจะมีผู้แนะนำ อย่างในหนังสือ Homo Deus แฮรารีได้เขียนไว้ว่า “แด่อาจารย์ของผม, ท่านสัตยา นารายัน โกเอ็นก้า สำหรับการสอนเรื่องสำคัญให้กับผม” Satya Narayana Goenka โกเอ็นก้า คือคุรุด้านการฝึกวิปัสสนา ที่แฮรารียึดถือแนวทางมาปฏิบัติ และพลังสมาธิที่เกิดจากการวิปัสสนานี้ มีผลต่องานเขียนของเขาเป็นอย่างมาก
แฮรารียังกล่าวเสริมอีกว่า “ผมคิดว่ามันมีผลต่อผมอย่างมาก เพราะการทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอมาเป็นเวลานานนั้น ทำให้ผมสามารถโฟกัสกับงานได้มากกว่าเดิม และถ้าหากผมไม่สามารถโฟกัสในงานอ่าน และเขียนได้ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ผมจะต้องจัดการกับข้อมูลมหาศาลที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 70,000 ปี จนถึง ปัจจุบัน
เพราะว่าคุณจะมีเรื่องที่ทำให้วอกแวกอยู่ตลอดเวลา มันเป็นเรื่องสำคัญมากในการอ่านและการเขียน การพยายามที่จะโฟกัสการเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ที่มีความยาว 500 หน้า ไม่ใช่งานง่าย ซึ่งการทำสมาธิช่วยทำให้ความคิดของผมแหลมคมและจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำครับ”
อย่างไรก็ตามการทำสมาธิหรือวิปัสสนานั้น ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งลี้ลับหรือพิธีกรรมอันใด แต่เป็นเรื่องที่ทำให้กระบวนการของสมองนั้นทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถฝึกฝนทำกันได้ทุกคนที่อาจเริ่มต้นด้วยการนั่งหลับตาเพียง 10 นาที หรืออริยาบทใดก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย
เริ่มต้นจากง่ายๆ เพื่อให้เกิดความเคยชินจนติดเป็นนิสัย เพราะช่วงเวลาของการทำสมาธิไม่ได้มีผลเท่ากับความสม่ำเสมอในการทำ ซึ่งในการทำสมาธิอย่างถูกวิธีเราควรศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น ก่อนลงมือปัฏิบัติ เพื่อการทำวิปัสสนาอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ข้อมูลจาก :
https://www.dhamma.org
https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/meditation/in-depth/meditation/art-20045858
https://www.vox.com/2017/2/28/14745596/yuval-harari-sapiens-interview-meditation-ezra-klein
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2816391/#:~:text=Meditation%20involves%20attentional%20regulation%20and,anterior%20cingulate%20cortex%20(ACC)
ไลฟ์สไตล์
missiontothemoon
เรื่องเล่า
2 บันทึก
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย