1 ก.พ. เวลา 18:41 • การตลาด

การกินปลาดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่?

กินปลาดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ และทำไมมนุษย์จึงควรกินปลา ?
ปลา เป็นหนึ่งในอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ทำไมสตรีมีครรภ์ถึงควรควบคุมปริมาณการรับประทานเนื้อปลาให้เหมาะสมแล้วการรับประทานปลามีประโยชน์มากกว่าโทษใช่หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเรารับประทานปลามากขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันมีอาหารทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของอาหารทะเลและคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) ที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 1974 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติรายงานว่าปริมาณปลาที่อยู่ในระดับที่ยั่งยืนทางชีวภาพได้ลดลงจาก 90% เหลือต่ำกว่า 66% ในปัจจุบันในขณะเดียวกันความกังวลเกี่ยวกับสารปรอทและสารมลพิษอื่น ๆ ก็ได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สตรีมีครรภ์หรือผู้ที่ให้นมบุตรควรควบคุมปริมาณการรับประทานสัตว์บางชนิดนั่นเองสรุปแล้วการรับประทานเนื้อปลานั้นให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า หรือเสี่ยงต่อสุขภาพของเรามากกว่ากัน มาดูกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เราอาจพบเมื่อรับประทานเนื้อปลากันเลย หวยงวดนี้
โลหะหนัก (Heavy Metal)
ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาหนึ่งในความกังวลที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับปลาคือ ระดับมลพิษและโลหะที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยหนึ่งในสารหลักที่น่ากังวลคือ สารพีซีบี หรือ โพลีคลอริเนตเต็ดไบฟีนิล (Polychlorinated Biphenyls: PCBs) ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอนที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ โดยสารเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราตั้งแต่ระบบภูมิคุ้มกันไปจนถึงสมองแม้ว่าสารนี้จะถูกห้ามใช้มาตั้งแต่ในช่วงปี 1980
แต่สารพีซีบีเหล่านี้ก็ได้ถูกใช้ทั่วโลกในปริมาณมหาศาลและยังคงตกค้างอยู่ในดินและน้ำ ส่งผลให้สารพีซีบีได้แฝงตัวอยู่ในทุกสิ่งตั้งแต่ผลิตภัณฑ์นมไปจนถึงน้ำดื่ม แต่สิ่งที่พบสารพีซีบีในระดับสูงสุดมักจะเป็นปลานั่นเองปลาเลี้ยงจะได้รับการทำความสะอาดหรือขัดเพื่อกำจัดสารพิษจึงทำให้ปลอดภัยมากกว่าปลาธรรมชาติ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลก็มีผลต่อสารพีซีบีด้วยเช่นกัน จึงมีการแนะนำให้สตรีมีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตรควบคุมการบริโภคปลาที่มีแนวโน้มว่าจะมีสารพีซีบี
รวมทั้งสารมลพิษอื่น ๆ เช่น ไดออกซิน ให้เหลือประมาณ 280 กรัมต่อสัปดาห์ โดยตัวอย่างของปลาเหล่านี้คือ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน หรือปลากะพงขาวนอกจากสารพีซีบีแล้ว ยังมีสารปรอทที่พบบ่อยในปลา ซึ่งสารนี้เป็นสารพิษต่อระบบประสาทที่สามารถผ่านรกและส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ และยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจได้อีกด้วยแม้ว่าสารปรอทสามารถพบได้ในอาหารอื่น ๆ อย่างผักได้ด้วยเช่นกัน แต่การศึกษาหนึ่งพบว่า 78% ของการบริโภคสารปรอทของผู้เข้าร่วมงานวิจัยมาจากปลาและอาหารทะเล
ซึ่งระดับสารปรอทในปลาสูงพอที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) จะแนะนำให้สตรีมีครรภ์ควบคุมการบริโภคปลายอดนิยมบางชนิดอย่างปลาทูน่าให้เหลือเพียงหนึ่งหน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ซึ่งปลาแต่ละชนิดจะมีความเข้มข้นของสารปรอทไม่เท่ากัน อย่างปลากระโทงดาบมีความเข้มข้นของปรอทอยู่ที่ 0.995 PPM ในขณะที่ปลาแซลมอนมีประมาณ 0.014 PPM ดังนั้น ความเข้มข้นของสารปรอทเฉลี่ยสูงสุดที่อนุญาตต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของสตรีมีครรภ์จะอยู่ที่ 0.46 PPM
กินปลาดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่
กรดไขมัน (Fatty Acids)
การบริโภคปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง (Oily Fish) อย่างปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน หรือปลาแมคเคอเรล จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 จากทะเล กรด Eicosapentaenoic (EPA) และกรด Docosahexaenoic (DHA)
Johnathan Napier เผยว่า ทั้งกรด EPA และ DHA มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์เรายังไม่สามารถสร้างกรดพวกนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในร่างกายของเรา ดังนั้น เราจึงควรรับประทานสิ่งที่มีกรดพวกนี้อย่างปลา เป็นส่วนหนึ่งของอาหารเรานั่นเองPhilip Calder (ฟิลิป คาลเดอร์) หัวหน้าฝ่ายพัฒนามนุษย์และสุขภาพแห่งมหาวิทยาลัย Southampton ประเทศอังกฤษ เสริมว่า ผู้คนที่รับประทาน EPA และ DHA ในปริมาณที่สูงกว่าจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคทั่วไปน้อยกว่าผู้ที่ไม่ค่อยบริโภค
อาหารสมอง
นอกจากโอเมก้า 3 แล้ว ปลายังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ เช่น ซีลีเนียม ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายและการติดเชื้อ ไอโอดีน ซึ่งสนับสนุนการเผาผลาญที่ดีต่อสุขภาพ และโปรตีน ด้วยเหตุนี้ ปลาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารสมองนั่นเองนักวิจัยได้เปรียบเทียบปริมาณสมองของผู้ที่กินปลากับผู้ที่ไม่กินปลาแล้วพบว่า ผู้ที่รับประทานปลาเป็นประจำทุกสัปดาห์มีปริมาณสมองที่มากกว่า โดยส่วนใหญ่อยู่ในสมองส่วนหน้า
ซึ่งมีความสำคัญต่อการโฟกัส และสมองส่วนขมับ ซึ่งมีความสำคัญต่อความจำ การเรียนรู้ และความเข้าใจCyrus Raji (ไซรัส ราจิ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านรังสีวิทยาและประสาทวิทยาแห่ง Washington University School of Medicine จึงแนะนำว่า หากเราต้องการบำรุงสุขภาพสมองและป้องกันอัลไซเมอร์ สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการบริโภคปลา และเพื่อทำให้สมองสามารถต้านทานภาวะสมองเสื่อมได้มากที่สุด เราควรเริ่มรับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
บทสรุป
อย่างที่เรารู้กันว่าปลา เป็นหนึ่งในอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพราะเต็มไปด้วยสารอาหารที่สำคัญอย่างโปรตีน วิตามินดี และยังเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายและสมอง ดังนั้น การรับประทานปลาจึงช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายมีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่ดีส่งผลให้ NHS แนะนำว่า เราควรรับประทานปลาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่สำหรับสตรีมีครรภ์และผู้ที่ให้บุตรควรเลือกประเภทของปลาที่ควรบริโภคและควบคุมปริมาณการรับประทาน เพื่อป้องกันสารพิษที่แทรกอยู่ในเนื้อปลานั่นเอง
โฆษณา