4 ก.พ. เวลา 08:35 • ธุรกิจ

สรุปวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฉบับมนุษย์เงินเดือน

คุณจะหนีอะไรก็หนีได้ แต่คุณจะหนีภาษีไม่ได้
ในบทความนี้เราจะสอนคุณคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้ประเภท 40(1) มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน พร้อมกับตารางขั้นบันไดให้คุณได้ดาวน์โหลดเก็บไว้ใช้ในปีต่อๆ ไปด้วย แต่ก่อนที่เราจะให้คุณลองไปคิดเงินเดือนของคุณเองนั้น เราจะมาลองช่วยกันคิดภาษีเงินได้ให้กับนายเจก่อน
นายเจอายุ 25 ปี เป็นมนุษย์เงินเดือนแบบเราๆ ได้เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ทำงานที่บริษัท โชคดีมีทรัพย์ จำกัด ได้ 2 ปี ปัจจุบันโสด ไม่มีครอบครัว ยังไม่ได้ซื้อประกัน หรือมีภาระผ่อนบ้านใดๆ พ่อแม่ของนายเจ อายุ 58 ปี ปัจจับนเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ก่อนหน้านี้นายเจไม่เคยสนใจเรื่องภาษีเลย
ทุกปีก็จะวานให้เพื่อนสนิทที่ทำงานยื่นให้ แต่หลังๆ มานี้ นายเจเงินเดือนเยอะขึ้น แล้วมีความสงสัยว่าในแต่ละปีต้องเสียภาษีเท่าไหร่บ้าง แต่ติดตรงที่ว่าตัวเองคิดไม่เป็น ดังนั้น ผมและคุณมาช่วยนายเจในการคิดภาษีที่เขาจะต้องเสียในปีนี้กัน
1. แปลงเงินเดือนทั้งหมดเป็นรายปี
ในการคำนวณภาษี เราจะคิดจากรายได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นในขั้นตอนแรกนี้ เราต้องแปลงเงินเดือนในแต่ละเดือนที่ได้มานั้น เป็นเงินรายปีก่อน ง่ายๆ เลยก็คือ เอาเงินเดือมาคูณ 12 กรณีของนายเจ มีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ดังนั้น ต่อปี จะมีเงินได้ทั้งหมด 50,000 * 12 = 600,000 บาท/ปี
2. หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่?
เนื่องจากรายเจมีเงินได้ประเภท 40(1) ทำให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (เงินได้แต่ละประเภทจะมีเกณฑ์ในการหักค่าใช่จ่ายไม่เท่ากัน) อ่านแบบนี้แล้วอาจจะรู้สึกงง ค่อยๆ มาแกะทีละ step เริ่มจากอันแรก “หักได้ 50%” อันนี้คือเอาเงินได้รายปีที่เราคิดมาได้คูณกับ 50% ก่อนว่ามันได้เท่าไหร่ กรณีของนายเจคือ 600,000 * 50% = 300,000 บาท
แต่ยอดนี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เราจะหักได้ เพราะกฎหมายบอกต่อไปว่า ”แต่ไม่เกิน 100,000 บาท“ ดังนั้น ถึงแม้ว่าเราจะคิดได้ 300,000 บาท แต่เราก็หักได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น
3. ค่าลดหย่อน
ค่าลดหย่อนพื้นฐานที่กฎหมายให้กับบุคคลคือ ค่าลดหย่อนให้กับตัวเอง 60,000 บาท ในความเป็นจริงแล้ว ค่าลดหย่อนนี้จะมีให้ได้อีกหลายอย่าง เช่น คู่สมรส, บุตร, หรือค่าประกัน เป็นต้น แต่ในกรณีของนายเจ ซึ่งเป็นโสด และไม่มีบุตร จึงสามารถหักค่าลดหย่อนตัวเองได้ 60,000 บาท
TIPS:
ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ หากคุณมีเงินได้จากประเภทอื่นๆ การหักค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกัน บางประเภทของเงินได้อาจจะหักได้แบบเหมาหรือคิดตามจริง หากคุณมีรายได้หลายประเภท ก็จะสามรารถหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของเงินได้ ส่วนค่าลดหย่อน จะขึ้นอยู่กับบุคคลผู้เสียภาษี ซึ่งในกรณีนี้คือเป็นบุคคลธรรมดา
4. ภาษีที่ต้องจ่าย
หาเงินได้สุทธิ
สรุปวิธีคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฉบับมนุษย์เงินเดือน
ในการคิดภาษีที่จะต้องจ่าย คุณจะต้องเอาเงินได้สุทธิไปเทียบกับตารางขั้นบันได โดยเงินได้สุทธิคิดได้จากสูตร เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน คุณจะสังเกตได้ว่าตัวแปรแต่ละตัวที่อยู่ในสูตรนี้คือหัวข้อที่เราพูดถึงมาก่อนหน้านี้ เพียงแค่คุณเอาตัวแปรแต่ละตัวใส่ในสมากรนี้
ก็หาเงินได้สุทธิได้อย่างง่าย ในกรณีของนายเจ จะเป็น เงินได้สุทธิ = 600,000 – 100,000 – 60,000 ดังนั้นเงินได้สุทธิของนายเจคือ 440,000 บาท หลังจากที่เราได้เงินสุทธินี้แล้ว เราจะไปเทียบกับตารางภาษี ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัพเดทล่าสุด
ก่อนที่คุณจะมาคิดภาษี มาทำความเข้าใจตารางนี้กันก่อนว่าแต่ละคอลัมน์ (แนวตั้งของตาราง) นั้นหมายถึงอะไร
การคำนวณภาษีของบุคคลธรรมจะเป็นอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได ดังนั้นในคอลัมน์แรก จะแสดงถึงขั้นบันไดแต่ละขั้น และแต่ละขั้นนั้นมีค่าเท่าไหร่ จะแสดงอยู่ในคอลัมน์ที่ 2 (เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของชั้น) ในแต่ละขั้นจะมีอัตราภาษีที่ไม่เท่ากัน จะถูกระบุอยู่ในคอลัมน์ที่ 3 (อัตราภาษี) กฎหมายใจดีให้เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกนั้นไม่ต้องเสียภาษี
ในแต่ละขั้นนั้นจะต้องเสียภาษีสูงสุดที่เท่าไหร่ โดยการเอาคอลัมน์ที่ 2 มาคูณกับคอลัมน์ที่ 3 จะได้ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นออกมาเป็นคอลัมน์ที่ 4 และคอลัมน์สุดท้ายคือภาษีสะสมสูงสุดของแต่ละขั้นเกิดจากการเอาภาษีสูงสุดของขั้นนั้น (คอลัมน์ 3) ไปรวมกับภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า (คอลัมน์ 4) เช่น ในขั้นที่มีภาษีสูงสุดในขั้น 37,500 จะมีภาษีสะสมสูงสุดของขั้นนั้นคือ 37,5000 + 27,500 = 65,000 บาทนั้นเอง
ในกรณีของนายเจ มีเงินได้สุทธิคือ 440,000 บาท จะตกอยู่ในขั้น 300,001 ถึง 500,000 บาท ซึ่งมีอัตราภาษีอยู่ที่ 10% ให้คุณนำเงินได้สุทธิของนายเจไปลยจากค่าสูงสุดของขั้นก่อนหน้า (คือ 300,000 บาท) จะได้ 440,000 – 300,000 = 140,000 บาท แล้วให้นำ 140,000 คูณกับอัตราภาษีของขั้นนั้นคือ 10% จะได้ 140,000 x 10% = 14,000 บาท
แต่ตัวเลขนี้ยังไม่ใช่ค่าภาษีที่คุณจะต้องจ่าย เพราะคุณต้องไปรวมกับภาษีสองขั้นที่ผ่านมาด้วย โดยภาษีสะสมสูงสุดของ 2 ขั้นที่ผ่านมา (คอลัมน์ที่ 4) คือ 7,500 บาท ภาษีที่นายเจจะต้องเสียคือ 14,000 + 7,500 = 21,500 บาท
โฆษณา