2 ก.พ. เวลา 11:00 • บันเทิง

6 Trends for Future of Museum

[#Museum] ในปี ค.ศ. 2021 ทั่วโลกมีพิพิธภัณฑ์จำนวน 103,842 แห่ง โดยประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์ 1,526 แห่ง และถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีพิพิธภัณฑ์มากเป็นอันดับที่ 13 ของโลก จากการรายงานขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO)
ในทางพิพิธภัณฑวิทยา คำว่า “พิพิธภัณฑ์” มีความหมายมากกว่าสถานที่สำหรับการจัดแสดง แต่มีความหมายเทียบเท่าแหล่งการเรียนรู้หรือหอสรรพวิชา
ตลาดพิพิธภัณฑ์ อุทยานประวัติศาสตร์ สวนสัตว์ และสวนสาธารณะทั่วโลกในปี ค.ศ. 2023 มีมูลค่า 97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้นมากกว่า 60% หลังการฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์โรคระบาดจากปี ค.ศ. 2022 และมีการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี ค.ศ. 2027 ที่อัตราการเติบโตแบบสะสมปีละ 5.3%
สภาการพิพิธภัณฑสถานระหว่างชาติ (International Council of Museum: ICOM) ให้คำจำกัดความของ “พิพิธภัณฑ์” ว่าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทำหน้าที่ให้บริการแก่สังคมในการค้นคว้าวิจัย รวบรวม สงวนรักษา ตีความ และจัดแสดงมรดกที่ทั้งจับต้องได้ และจับต้องไม่ได้
เป็นสถานที่สาธารณะถาวรที่เปิดให้ผู้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ โดยส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายและความยั่งยืน มีการดำเนินการและการสื่อสารอย่างมีจริยธรรม เป็นมืออาชีพ และสร้างให้สังคมโดยรอบเกิดการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายด้านการศึกษา ความเพลิดเพลิน การไตร่ตรอง และการแบ่งปันความรู้
คำนิยามใหม่นี้ส่งผลให้บทบาทของพิพิธภัณฑ์ในอนาคตมีความแตกต่างไปจากเดิม โดย Bompas & Parr สตูดิโอสำหรับนักออกแบบ ศิลปิน สถาปนิก เชฟ และนักกลยุทธ์ได้ให้คำจำกัดความว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องมี 6 คุณสมบัติ ได้แก่
1. แปลกประหลาด (Weird)
2. ให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์โดยมีผู้คนเป็นศูนย์กลาง (People-focused)
3. เป็นพื้นที่สร้างส่วนผสมของความแตกต่าง (Heterotopias)
4. กระตุ้นให้ผู้เยี่ยมชมเกิดการเดินทางเชิงความรู้สึก (Emotional)
5. เชื่อมโยงผู้คนให้เรียนรู้จากอดีตเพื่อนำไปสู่อนาคตที่ดีกว่า (Futuristic)
6. ช่วยให้ผู้คนมีช่วงเวลาที่หลุดพ้นจากความเป็นตัวเองและได้คิดไตร่ตรองเกี่ยวกับโลกและชีวิต (Sanctuaries)
ทั้งนี้ ยังได้มีการคาดการณ์ 6 แนวโน้มหรือเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ในอนาคต ดังภาพที่ปรากฎแต่ละหัวข้อต่อไปนี้
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้จาก: https://www.futuretaleslab.com/articles/futureofmuseum
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com และ https://www.facebook.com/FutureTalesLABbyMQDC
#FutureTalesLAB #FutureofMuseum #WellBeing #FuturePossible #MQDC
1. คู่ขั้วของความเป็นเฉพาะบุคคล (Polarised Personalisation)
แนวโน้มที่องค์กรธุรกิจ และผู้บริโภคกำลังมุ่งไปถูกแยกเป็นสองทางระหว่างความต้องการเป็นตัวของตัวเอง (Individualism) กับการรวมเข้ากลุ่ม (Collectivism) ค่านิยมทั้งสองขั้วนี้สะท้อนผ่านหลายปรากฎการณ์ เช่น
- องค์กรภาคธุรกิจ 87% มีการคิดกลยุทธ์เพื่อให้ผู้บริโภคเป็นผู้ผลิตเนื้อหาบนโซเชียลมีเดีย (User-generated content: UGC) ซึ่งช่วยเพิ่มความรู้สึกร่วมและความรู้สึกจริงใจกับผู้ชมคนอื่นมากกว่า ในขณะที่ผู้ผลิตเนื้อหาก็มีอิสระในการส่งต่อแนวคิดและความสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตนเองบนโซเชียลมีเดีย
- มีการคาดการณ์ว่าตลาดเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing economy) ซึ่งมีมูลค่า 3.87 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2022 จะเติบโตจนมีมูลค่าถึง 8.27 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี ค.ศ. 2032 ที่อัตราการเติบโตแบบสะสมปีละ 7.7%
นอกจากนี้ เมื่อ Generative AI เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งนำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบประสบการณ์เฉพาะบุคคลกับการรวมกลุ่มคนที่มีความชอบหรือพฤติกรรมคล้ายคลึงกันมากยิ่งขึ้นว่าจะขับเคลื่อนไปในทิศทางใด
สัญญาณเหล่านี้กำลังบอกว่าพิพิธภัณฑ์ในอนาคตจำเป็นต้องทำความเข้าใจผู้เยี่ยมชมทั้งในมิติปัจเจกบุคคลและในฐานะกลุ่มผู้มีความสนใจ รูปแบบการบริหารจัดการความสัมพันธ์และรูปแบบทางธุรกิจจะยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นแม้กระทั่งกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรก็ตาม เพื่อให้ผู้คนรู้สึกเข้าถึงและเชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- ผู้บริโภคพยายามแสวงหาตัวตนและความชอบเฉพาะของตนเองให้เด่นชัดมากขึ้นเพื่อทำให้ตนเองแตกต่างจากผู้อื่น ในขณะที่แบรนด์พยายามรวมกลุ่มผู้บริโภคเป็นกลุ่มเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารทรัพยากรและการให้บริการ
- ผู้บริโภคที่ยังไม่แน่ใจในความชอบของตนเองพยายามรวมกลุ่มกับกลุ่มความชอบที่คิดว่าตนเองน่าจะสนใจ ทำให้อัลกอริทึมของปัญญาประดิษฐ์ยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการแนะนำช่องทางและข้อมูลให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้จาก: https://www.futuretaleslab.com/articles/futureofmuseum
Sources: SearchLogistics, Coheresights, Allied Market Research
#FutureTalesLAB #FutureofMuseum #WellBeing #FuturePossible #MQDC
2. การเล่าเรื่องราวภายในพื้นที่จำกัด (Super Optimised Spatial Storytelling)
พิพิธภัณฑ์ในอนาคตต้องสามารถนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ชมภายในพื้นที่และระยะเวลาจำกัด ทั้งยังสามารถสร้างความคาดหวังให้ผู้ชมเฝ้ารอการจัดแสดงชุดถัดไปให้ได้
พิพิธภัณฑ์รวมถึงสถาบันทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ต้องสามารถจำลองการเป็นตัวอย่างของอีกโลกคู่ขนานแทนการสร้างโลกอนาคตที่ยังมาไม่ถึง การใช้งานเทคโนโลยีความเป็นจริงต่อขยาย (Extended reality: XR) เช่น VR/AR โฮโลแกรม เป็นต้น จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อสร้างประสบการณ์เหนือระดับ เพื่อสร้างประสบการณ์ความบันเทิงทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน
แนวคิดเรื่องการฉายงานจัดแสดงบนจอ (Exhibition On Screen: EOS) ซึ่งทำให้ภาพยนตร์กลายเป็นการผจญภัย และทำให้การผจญภัยเชิงประสบการณ์กลายเป็นความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์จะเป็นการทดลองที่น่าจับตามองมากขึ้น การให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับงานจัดแสดงได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์ในการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในพิพิธภัณฑ์จะมีบทบาทสำคัญในการออกแบบประสบการณ์เฉพาะบุคคลให้กับผู้ชมแต่ละคน รวมไปถึงการต่อยอดการใช้งานรูปแบบอื่นที่ไม่เคยมีมาก่อน
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- พิพิธภัณฑ์ในอนาคตถูกออกแบบให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในชิ้นงานมากขึ้นผ่านการสร้างสรรค์และประสาทสัมผัสต่าง ๆ โดยไม่ถูกจำกัดเพียงการรับชมหรือรับฟังอีกต่อไป
- งานพิพิธภัณฑ์จะขยับเข้าใกล้อุตสาหกรรมบันเทิงมากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างความบันเทิงหลากหลายรูปแบบเพื่อสื่อสารกับผู้รับชม
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้จาก: https://www.futuretaleslab.com/articles/futureofmuseum
#FutureTalesLAB #FutureofMuseum #WellBeing #FuturePossible #MQDC
Sources: Applied Sciences, Universal Access in Human-Computer Interaction
3. กระแสต่อต้านพิพิธภัณฑ์ (The Anti-Museum)
การตั้งคำถามเกี่ยวกับคำจำกัดความเดิมและความหมายของการดำรงอยู่ ทำให้พิพิธภัณฑ์ต้องทบทวนคุณค่าและบทบาทในตนเอง เพราะสิ่งที่ควรค่าแก่การสะสมในอนาคตจะไม่ถูกจำกัดเพียงงานศิลปะ วัตถุโบราณ หรือของมีค่าอีกต่อไป สิ่งของที่จับต้องไม่ได้แต่คนให้คุณค่า เช่น ภาพมีม (Meme) หรือไฟล์ขยะในอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น นำไปสู่การตั้งคำถามว่าพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นสถานที่ในโลกกายภาพยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- พิพิธภัณฑ์แบบดิจิทัลได้รับความนิยมมากขึ้น พิพิธภัณฑ์หลายแห่งเริ่มสร้างคู่แฝดขนาน (Digital twin) หรือพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบดิจิทัลควบคู่ไปกับการจัดแสดงในโลกจริง
- ศิลปินหน้าใหม่ ผู้มีต้นทุนต่ำหรือขาดการสนับสนุนมีพื้นที่แสดงความสามารถและการจัดแสดงผลงานมากขึ้น แลกมากับการที่ตัวศิลปินและแพลตฟอร์มจัดแสดงต้องเผชิญกับอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้นเพื่อดึงดูดผู้คนให้เข้ามาชมงาน
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้จาก: https://www.futuretaleslab.com/articles/futureofmuseum
#FutureTalesLAB #FutureofMuseum #WellBeing #FuturePossible #MQDC
Sources: Journal of Research in Interactive Marketing, MuseumNext
4. พิพิธภัณฑ์ = สถานที่เดตในฝัน (The Ultimate Date Museum)
นับตั้งแต่วิกฤตโรคระบาด พบว่า 33% ของประชากรโลกโดยเฉลี่ยรู้สึกเหงามากขึ้น ความเหงาที่ก่อตัวเพิ่มขึ้นทั่วโลกทำให้ผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิต และเริ่มมองหากิจกรรมหรือประสบการณ์อื่นนอกเหนือจากสิ่งที่ทำเดิมๆในชีวิตประจำวัน
พิพิธภัณฑ์จึงจะมีบทบาทอย่างมากในการเป็นพื้นที่และโอกาสให้ผู้คนได้มาใช้เวลาเพื่อการมีปฏิสัมพันธ์ ความรู้สึกเพลิดเพลิน และการมีชีวิตชีวา ทำให้พบว่าการสำรวจจุดประสงค์ในการไปเยี่ยมชมสถานที่ทางวัฒนธรรม สวนสัตว์ สวนน้ำ และพิพิธภัณฑ์ ทั้งในปี ค.ศ. 2011 - 2015 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เวลากับคนในครอบครัวและเพื่อนเป็นอันดับแรกเสมอ
พิพิธภัณฑ์ในอนาคตจึงอาจไม่จำเป็นต้องเป็นสถานที่เงียบสงบ แต่ยังอาจเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้คน รวมถึงไม่จำเป็นต้องเปิดทำการเฉพาะเวลากลางวัน ปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งเริ่มทดลองเปิดให้บริการยามค่ำคืน
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- การเพิ่มพื้นที่และกิจกรรมสำหรับการสร้างเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นตามความต้องการของผู้คน
- อาชีพมัคคุเทศก์และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการนำชมสถานที่ทางวัฒนธรรมจะให้ความสำคัญกับผู้เยี่ยมชมจำนวนน้อยลง เพื่อให้ความสำคัญกับผู้เยี่ยมชมรายบุคคลมากขึ้น
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้จาก: https://www.futuretaleslab.com/articles/futureofmuseum
#FutureTalesLAB #FutureofMuseum #WellBeing #FuturePossible #MQDC
Sources: PsyArXiv, Advances in Creativity, Innovation, Entrepreneurship and Communication of Design, Ipsos, Nordic Museology
5. การเรียนรู้แบบรถไฟเหาะ (Rollercoaster Pedagogy)
ผู้คนมักใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 14 - 30 นาทีในการเดินชมพิพิธภัณฑ์ต่อครั้ง โดย 80% ใช้เวลาน้อยกว่า 20 นาที มีการคาดการณ์ว่าผู้คนในอนาคตจะใช้เวลาในการเดินชมการจัดแสดงขนาดใหญ่น้อยลงเมื่อเปรียบเทียบการการจัดแสดงขนาดเล็กเนื่องจากขาดระบบการบอกทางและการนำเสนอเรื่องราวที่กระตุ้นให้ผู้คนเกิดความรู้สึกสนใจ
บทสนทนาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ในอนาคตจึงเริ่มตั้งประเด็นเกี่ยวกับโลกที่ผู้คนสามารถแวะชมพิพิธภัณฑ์ระหว่างเส้นทางผ่านระหว่างการเดินทาง (Drive thru museum) เช่น ระหว่างบ้านกับที่ทำงาน หรือการไปตั้งจุดพิพิธภัณฑ์ตามจุดต่าง ๆ ในเมือง เช่น สนามบิน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการผสมความสนุกสนานของการจัดงานออกร้านแสนสนุกเข้ากับการจัดการเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ (Funfair galleries) เป็นต้น
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- การกระจายพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ออกเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมทั่วเมืองกลายเป็นแนวโน้มการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในเมือง
- การพัฒนาแนวทางการสื่อสารองค์ความรู้เชิงวัฒนธรรมที่เข้าใจง่าย สนุกสนาน และใช้เวลาเรียนรู้ไม่นานกลายเป็นทิศทางสำคัญของนักสื่อสารมรดกทางวัฒนธรรมในอนาคต
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้จาก: https://www.futuretaleslab.com/articles/futureofmuseum
#FutureTalesLAB #FutureofMuseum #WellBeing #FuturePossible #MQDC
Sources: Curator: The Museum Journal
6. ระหว่างทางที่ไม่มีที่สิ้นสุด (Endless In-betweens)
“Liminal Space” พื้นที่แห่งการเปลี่ยนผ่าน แดนสนธยา หรือเขตน่าพิศวงงงงวย เป็นคำเรียกพื้นที่ที่ดูเหมือนธรรมดาแต่ชวนให้ผู้มองรู้สึกอึดอัดหรือกระอักกระอ่วน น่าขนลุก เช่น ชิงช้าในสนามเด็กเล่นที่แกว่งไกวในยามค่ำคืน ลานห้างสรรพสินค้าที่ไร้ผู้คน ทางเดินในโรงแรม หรือโรงเรียนเวลาโพล้เพล้ เป็นต้น
เป็นพื้นที่ที่ชวนให้ผู้คนรู้สึกสนใจ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกสับสน ซึ่งมักถูกนำไปเชื่อมโยงกับ “The Backrooms” หรือคำเรียกพื้นที่มิติลึกลับไร้ทางออกซึ่งมักถูกนำไปใช้ในสื่อและภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น The Upside Down มิติสีเลือดอีกด้านของเมืองฮอว์กินส์ จากซีรีส์ดัง Stranger Things เป็นต้น
ปัจจุบัน มีนักออกแบบและสถาปนิกที่นำแนวคิดการสร้างพื้นที่ดังกล่าวไปใช้ทั้งในและนอกพิพิธภัณฑ์ เพื่อออกแบบให้สถานที่ดังกล่าวมีความน่าสนใจและดึงดูดให้ผู้คนที่ผ่านไปมาหยุดมอง เช่น Corridoio Vasariano ในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หรือโครงสร้างเมืองอัจฉริยะ The Line ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- การพัฒนาพื้นที่สาธารณะในเมืองให้กลายเป็นแหล่งการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมกลายเป็นสเน่ห์ของเมืองในอนาคต
Sources: The Museums of Florence
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้จาก: https://www.futuretaleslab.com/articles/futureofmuseum
#FutureTalesLAB #FutureofMuseum #WellBeing #FuturePossible #MQDC
โฆษณา