2 ก.พ. 2024 เวลา 09:40 • ธุรกิจ

Easy E-Receipt คืออะไร? ช้อปสนุก ได้ลดหย่อนเงินได้ปี 2567

มาตรการ Easy E-Receipt ที่ให้คุณสามารถนำค่าซื้อสินค้าและค่าบริการมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท (ค่าลดหย่อนนี้สำหรับเงินได้ในปี 2567) โดยที่คุณจะต้องช้อปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 กับร้านค้าที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) จากระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร มาตรการนี้สำหรับบุคคลธรรมดาเท่านั้น (ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญ และคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล)
สารบัญ
  • วิธีการใช้สิทธิ Easy E-Receipt
  • จะรู้ได้ไงร้านไหนเข้าร่วมบ้าง?
  • ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วมกับ Easy E-Receipt
  • คำถามที่พบบ่อย มาตรการ Easy E-Receipt
  • Easy E-Receipt คืออะไร? ช้อปสนุก ได้ลดหย่อนเงินได้ปี 2567
วิธีการใช้สิทธิ Easy E-Receipt
ง่ายๆ เพียงแค่คุณจะต้องพกบัตรประชาชน ไม่ว่าจะเป็นบัตรแข็ง หรือผ่านแอพ ThaID ไปด้วยตอนที่คุณไปซื้อสินค้าหรือบริการ ใบกำกับภาษีฉบับเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) โดยจะต้องระบุหมายเลขบัตรจำตัวประชาชนของคุณ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายหรือให้บริการด้วย ทางร้านค้าจะขอ อีเมลของคุณ หลังจากนั้น e-Tax Invoice นี้จะถูกส่งเข้าอีเมลนั้น แต่ระวังไว้นิดนึงว่ามันอาจจะไปอยู่ใน Junk Mail
ไม่ใช่ทุกร้านค้าที่จะเข้าร่วมมาตรการ Easy E-Receipt ดังนันั้นผมแนะนำว่าให้คุณลองสังเกตป้าย E-Tax นี้ตรงแคชเชียร์ หรือถามร้านค้าก่อนที่คุณจะใช้บริการ
จะรู้ได้ไงร้านไหนเข้าร่วมบ้าง?
คุณสามารถตรวจสอบราชื่อได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพกรหรือที่ https://etax.rd.go.th/ โดยกดไปที่เมนู “ผู้มีสิทธิจัดทำ” ซึ่งจะแสดงรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้อนุมัติ ในกรณีร้านค้าที่เข้าร่วม e-Tax Invoice by Time Stamp สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากรหรือที่ https://www.rd.go.th/27659.html โดยกดไปที่เมนู “รายชื่อผู้ได้รับอนุมัติ”
ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
สินค้าหรือบริการที่ซื้อมาจากผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีหลักฐานใบรับในรูปแบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์จากระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
  • ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิยสาร
  • ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิยสาร ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (พวก E-book)
  • ค่าวื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วมกับ Easy E-Receipt
  • ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
  • ค่าซื้อยาสูบ
  • ค่าซื้อน้ำมันและก๊าซสำรหับเติมยานพาหนะ
  • ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำปะปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเตอร์เน็ต
  • ค่าบริการที่มีข้อตกลงให้บริการและผู้รับริการสามรถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 1
  • ค่าเบี้ยปะรกันวินาศภัย
คำถามที่พบบ่อย มาตรการ Easy E-Receipt
ถาม : ในะรหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 มีใบกับกับภาษีหลายใบ สามารถนำมารวมกันเพื่อใช้สิทธินี้ได้ไหม?
ตอบ: ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท
ถาม : ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่?
ตอบ: ไม่ได้ เนื่องจากการให้บริการของสถานพยาบาลได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการไม่ได้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี อันเป็นหลักฐานการใช้สิทธิตามมาตรการนี้
ถาม : กรณีชำระค่าบริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 แต่ได้ใช้บริการหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จะสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อยตามมาตรการนี้ได้หรือไม่?
ตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากต้องชรำะค่าบริการและใช้บริการในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น
ถาม: ถ้ามีใบกำกับภาษีใบเดียว แล้วมูลค่าเกิน 50,000 บาท สามารถนำมาใช้สิทธิได้ไหม?
ตอบ: ได้ได้ แต่จะได้รับสิทธิ 50,000 บาท
ถาม : ค่าซื้ออาหารในโรงแรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไหม?
ตอบ : ได้ ถ้าโรงแรมสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ของค่าซื้ออาหารได้
ถาม : ค่าซ่อมรถ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่?
ตอบ : ได้ หากเป็นการซ่อมและจ่ายค่าซ่อมระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 และร้านซ่อมสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้
ถาม : ค่าซื้อแพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ สามารนำมาหักลดหย่อนได้ไหม?
ตอบ : ได้ หากเป็นการใช้แคพเกจทัวร์ท่องเที่ยวระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 และผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้
ถาม : ค่าสาธารณูปโภค ค่านำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ สามารถนำมาลดหย่อนได้ไหม?
ตอบ : ไม่ได้
โฆษณา