2 ก.พ. เวลา 17:04 • สิ่งแวดล้อม
อำเภอบางปะกง

รักจางที่บางปะกง เพลงรักจากชายที่ไม่สมหวังสู่การสะท้อนสภาพสังคมและภูมิศาสตร์

Highlight: บางปะกงเรื่องจริงจากบทเพลงดังที่ฮิตติดคาราโอเกะเมื่อปี 2517 สู่ความอุดมของพื้นที่ชุ่มน้ำ ชุมชนบางคล้าที่น่าส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงยั่งยืน
พูดถึงบทเพลง “รักจางที่บางปะกง” ที่สะท้อนถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพสังคมของผู้คนแถบนั้น เพลงยุคเก่าที่เด็กเกิดปี 2000 ได้ฟังเมื่อยังเด็ก
ด้วยท่อนฮุค “บางปะกง น้ำคงขึ้นขึ้นลงลง
ใจอนงค์ก็คงเลอะเลือนกะล่อน
ปากน้ำเค็ม ไหลขึ้นก็จืดก็จาง
ใจน้องนางรักนานเลยจางจากจร”
สะท้อนลักษณะทางภูมิประเทศของอำเภอบางปะกงในปัจจุบันที่เป็นปากอ่าวไทยติดทะเล แม่น้ำบางปะกงไหลผ่านทั้งจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดจากการไหลรวมกันของเเม่น้ำนครนายกและเเม่น้ำปราจีนบุรี ลงปากอ่าวที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
ในปี2500-2515 เป็นแม่น้ำเส้นทางหลัก เพื่อเดินทางเข้าเมืองฉะเชิงเทราและกรุงเทพฯ แต่หลังจากนั้น เมื่อการคมนาคมทางบกได้รับการพัฒนา ถนนหนทางดีขึ้น ฉะนั้นเเล้วทำให้การคมนาคมทางน้ำเงียบเหงา ไม่เป็นที่นิยมลดลงตามกาลเวลา
ปัจจุบันมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการล่องเรือรอบเกาะลัด ตลาดน้ำบางคล้า ส่วนตัวยังไม่เคยไปแต่เเลดูเป็นที่ท่องเที่ยวตามที่ ททท. กำลังส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (SUSTAINABLE TOURISM DEVELOPMENT) ใครมีโอกาสน่าลองไปสัมผัส
website อ้างอิง การท่องเที่ยวชุมชนบางคล้า :
นอกจากนี้เนื่องจากบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเกิดจากการบรรจบกันระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม ใจคดประหนึ่งลำน้ำที่บางปะกงที่โค้งบางส่วนดังภาพ
เปรียบเทียบกับใจผู้หญิงที่ผู้ร้องแทนใจของชายที่เฝ้ารอหญิง น้ำเสียงแกมประชดประชันที่หญิงสาวมีรักใหม่กับชายชาวกรุงที่ฐานะดีกว่า
ในยุคนั้นน่าจะประมาณ พ.ศ.2504-2514 ซึ่งบางปะกงเป็นเพียงทางผ่านที่คนสัญจรเข้ากรุงอย่างเเน่นขนัด แน่นอนว่าหนุ่มสาวย่อมต้องหาทางเข้ากรุงเพื่อหาคุณภาพชีวิตที่ดี กลับกันหากคนที่บ้านมีที่ทางย่อมทำสวนเพื่อขายผลิตผลทางการเกษตรยังชีพเป็นแน่นอน หากให้เดาคงต้องเป็นลักษณะชายหนุ่มทำการเกษตรที่บ้านเกิดรอเจอสาวคนรักที่สัญญาไว้แต่สาวคนรักดันไปเจอคนที่ดีกว่า
ส่วนในท่อนที่ว่า “ต้องจอดเรือขอลาแม่กานดางามงอน
วอนหลวงพ่อโสธรจงดลใจให้ยอดชู้ ” แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของประเพณีแห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำ ประเพณีประจำท้องถิ่นทุกปีร่วมกว่า 130 ปี ซึ่งเกิดจากความเชื่อในยุคนั้นเกิดโรคระบาด จึงต้องมีการเสริมความสิริมงคลเพื่อปัดเป่าโรคภัยผ่านการแห่พระพุทธโสธรทางน้ำ ส่วนกลับมาที่เนื้อเพลงยังเเสดงถึงความอาลัยอาวรณ์ของฝ่ายชายที่ยังรักเดียวใจเดียว ไม่มูฟออน รอฝ่ายหญิงต่อไป
ถึงกระนั้นในปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำบางปะกงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางน้ำเพราะการบรรจบกันของน้ำเค็มและน้ำจืด จึงเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ป่าชายเลยรวมทั้งที่อยู่ของโลมาอิรวดี ปัจจุบันองค์การบริหารส่วมท้องถิ่นรวมกับสนง.ประมงจังหวัดได้ให้ความสำคัญในการรักษาระบบนิเวศพื้นที่ดังกล่าวต่อไป
เห็นเช่นนี้เเล้วไม่อยากให้รักจางที่บางปะกงต้องมาซ้ำรอยดั่งราวพรรณนาจากเพลงเมื่อราว 50 ปีก่อน รวมทั้งช่วยกันอนุรักษ์โลมาอิรวดีอันเป็นสัตว์สถานะ "ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง" จากอ้างอิง IUCN
โฆษณา