4 ก.พ. เวลา 11:18 • หนังสือ
สวนโมกข์กรุงเทพ

ภาพหินสลักพุทธประวัติ

ภาพหินสลัก เป็นภาพพุทธประวัติในยุคแรกสุด ที่ไม่ปรากฏภาพพระพุทธองค์เลยแม้แต่ภาพเดียว
สร้างขึ้นในประเทศอินเดีย ระหว่าง พ.ศ. 300 ถึง พ.ศ. 600 เศษ ท่านอาจารย์พุทธทาสเห็นว่าน่าสนใจที่สุดและเป็นประโยชน์ จึงได้นำมาจำลองไว้ที่สวนโมกข์ ณ บริเวณผนังรอบนอกของโรงมหรสพทางวิญญาณ และมีที่สวนโมกข์กรุงเทพด้วย
ที่น่าสนใจที่สุดคือ แม้ว่าภาพหินสลักเหล่านี้จะมีความมุ่งหมายถึงพุทธประวัติ แต่ไม่ปรากฏว่ามีภาพของพระพุทธองค์อยู่เลยแม้แต่ภาพเดียว หากแต่ปรากฏเป็นสัญลักษณ์ เช่น รอยพระบาท บัลลังก์ ต้นโพธิ์ หรือความว่าง ทั้งนี้เพราะมุ่งแสดงพระพุทธองค์ ในทางนามธรรมยิ่งกว่ารูปธรรม
หากเราพิจารณาหาคำตอบว่าทำไมจึงไม่ยอมทำภาพพระพุทธองค์ในลักษณะที่เป็นมนุษย์ ก็จะช่วยให้เข้าใจอะไรมากมายหลายอย่าง ทั้งในทางศิลปะ โบราณคดี ประวัติศาสนา และแม้กระทั่งหลักธรรมขั้นสูง เช่น เรื่องความไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน
ที่มา : เพจ กิจกรรมสวนโมกข์กรุงเทพ
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่
ทีม อาสาเพลินธรรมนำชม สวนโมกข์กรุงเทพ
โฆษณา