3 ก.พ. เวลา 13:05 • การเมือง
Taste Cafe

อำนาจนิติบัญญัติกับการแก้ไขกฎหมาย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านกลับมาพบกันอีกแล้วนะครับในโพสต์นี้ผมเองก็มีเกล็ดเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนในเรื่องของคำวินิจฉัยล่าสุดของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการที่ศาลบอกว่าจากที่พรรคก้าวไกลเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา112เป็นการกระทำที่เป็นความผิดเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ในบทความนี้ผมไม่ได้จะมาเล่าเกล็ดคดีซ้ำเพราะมีการออกข่าวในหลายช่องทางแล้วในความเห็นผม บทความนี้จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ว่าจากคำวินิจฉัยดังกล่าวจะส่งผลอะไรต่อการเมืองไทยและส่งผลอะไรต่อระบบกฎหมายไทยและกฎหมายมหาชน
ครับท่านผู้อ่านจากคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ออกมานั้นผมมีบทวิเคราะห์ผลกระทบจากคำวินิจฉัยดังกล่าวดังนี้ครับ
ในคดีนี้มีผลทำให้ศาลรัฐธรรมนูญกำลังล้ำแดนไปล้ำเขตอำนาจไปล่วงล้ำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ แม้นว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจในการตรวจร่างกฎหมายที่มาจากรัฐสภาแต่ในกรณีนี้ร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา112 ในครั้งนี้ร่างดังกล่าวยังไม่ได้เข้าสภาเสียด้วยซ้ำศาลก็มาใช้ทางช่องทางว่าเป็นการใช้เสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง
ทั้งที่การดังกล่าวเป็นเพียงการใช้อำนาจจากฝ่ายนิติบัญญัติเพียงเท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้นานวันเข้าจะยังผลทำให้
ดุลอำนาจตามหลักการแบ่งแยกอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการจะเสียไปเพราะในมุมกลับจะเท่ากับเสมือนว่า
ประเทศไทยนั้นปกครองด้วยองค์กรตุลาการหากเป็นเช่นนี้หลักการแบ่งแยกอำนาจตามรัฐธรรมนูญอันเป็นหลักการพื้นฐานทางกำหมายมหาชนย่อมเสียไป
และสิ่งที่มีผลเสียตามมาแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ได้จำกัดว่าแก้ไม่ได้เลยในการแก้ไขมาตรา112 เพียงแต่ศาลไปตีความไม่ให้มีการแก้ไขในลักษณะตามที่ผู้ถูกร้องเสนอแต่ทว่า
การที่การกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมายแก้ไขกฎหมายโดยตรงกลับถูกมองโดยองค์กรตุลาการว่าเป็นการล้มล้างการปกครองแต่การที่ทหารออกมากระทำการรัฐประหารองค์กรตุลาการก็แทบไม่เคยมีการกระทำใดๆที่ออกมาพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
การดังกล่าวเช่นนี้ย่อมเป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตว่าแท้จริงแล้วในทางพฤตินัยประเทศไทยยังเป็นการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยอยู่หรือไม่?
ไว้พบกันใหม่ในคราวต่อไปนะครับสำหรับโพสต์นี้ขอกล่าวอำลาว่าสวัสดีครับ
โฆษณา