18 มี.ค. 2024 เวลา 14:55 • ประวัติศาสตร์

ชาวบ้านบางระจันปกป้องกรุงศรีจริงหรือ?

บางระจัน หรือ บ้านระจัน เอกสารที่กล่าวถึง บ้านระจันเป็นครั้งแรก จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี คำให้การขุนหลวงหาวัด พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี และคำให้การขุนหลวงหาวัด
ได้กล่าวถึง บางระจัน ในฐานะเป็นชื่อที่ค่ายพม่าตั้งประชิดล้อม กรุงศรีอยุธยา ค่ายบ้านระจัน ไม่ใช่ ค่ายบางระจัน ส่วนคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวถึง บางระจัน ว่าเป็นชื่อค่ายหนึ่งใน 18 ค่ายที่พม่าตั้งอยู่รายล้อมกรุงศรีอยุธยา และชื่อ “ค่ายบ้านระจัน” ไม่ใช่ “ค่ายบางระจัน” เช่นเดียวกับจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ส่วนในเอกสาร
พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน
บางระจันในพระราชพงศาวดารทั้ง 3 ฉบับ มิใช่เป็นเพียงการเรียกขานชื่อค่ายเหมือนเอกสาร 2 ฉบับที่กล่าวมาข้างต้น แต่กล่าวถึงสถานที่ บุคคล และเหตุการณ์ สถานที่ยังคงใช้ชื่อ บ้านระจัน
สุจิตต์ วงษ์เทศ
ได้พูดถึง บ้านระจัน เอาไว้บางระจันเป็น ชุมชนอิสระ
ยุทธวิธีของอังวะ ที่ยกเข้ามาคือถ้าเมืองไหน
สวามิภักดิ์ ก็จะนำคนไปช่วยรบ แต่ถ้าเมืองไหนแข็งข้อ ก็จะทำการยึด ราษฎรจึงพากันเข้าร่วมกับอังวะมีหลักฐานจากบันทึกบาตรหลวงฝรั่งเศส ว่ากองทัพอังวะเต็มไปด้วยราษฎรอยุธยา
ในอีกแง่มุมนึง ชาวบ้านบางระจันไม่ได้ต่อสู้ เพื่อจะปกป้องกรุงศรี แต่เป็นการปกปองตัวเองและบ้านเกิด
พระนอนจักรศรี ซึ้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับบ้านบางระจัน
นักประวัติศาสตร์ศิลป์
อาจจะบอกว่า พระนอนจักรศรีสร้างขึ้นสมัย อยุธยาตอนต้นก็ได้ คติเรื่องการสร้างพระนอนเป็นคติของฟากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ซึ่งมีรัฐสุพรรณภูมิ
เป็นแกนกลาง ฉะนั้นกลุ่มรัฐสุพรรณภูมิจะนิยมสร้าง
พระนอน ในชุมชนย่านนี้เป็นชุมชน สมัยยุคทราวดี
พระนอนจักรศรี จึงเป็นสถาที่ศักสิทธิ์มาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา
สุจิตต์ วงษ์เทศ
ชาวบ้านบริเวณลุ่มแม่น้ำน้อย พระนอนจักรศรี และ รวมถึง วัดหน้าพระธาตุ จึงเป็นสิ่งศัทธาให้แก่ชาวบ้านตั้งแต่ เมืองสรรบุรี ไปจนถึง เมืองวิเศษชัยชาญ ตรงนี้จึงเป็นข้อสันนิฐานได้ว่า ชาวบ้านบางระจันจึงต่อสู้ เพื่อปกป้องถิ่นกำเนิด และ ปกป้องมาตุภูมิของตนเอง
โฆษณา