Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาหาร 5 หมู่ สำคัญต่อร่างกาย
•
ติดตาม
4 ก.พ. เวลา 10:12 • การศึกษา
ดูแลครบ จบเรื่องโปรตีน
ความรู้ด้านโภชนาการยุคใหม่ จัดแบ่งสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้เป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ น้ำ และมีกลุ่มพิเศษอีกหนึ่งกลุ่มคือไฟโตนิวเทรียนท์ ซึ่งเป็นสารกึ่งจำเป็นที่ช่วยให้ชีวิตสมบูรณ์ขึ้น
กลไกสำคัญที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้คือการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์หรือทดแทนเซลล์เก่า ร่างกายของผู้ใหญ่มีเซลล์เฉลี่ย 37.2 ล้านล้านเซลล์ ซึ่งตายลงวันละ 60,000 ล้านเซลล์ ร่างกายจึงจำเป็นต้องสร้างเซลล์ใหม่ในจำนวนเท่ากันทุกวันเพื่อทดแทนเซลล์เก่า หากกลไกนี้ชะลอตัวลง ความแก่ชราย่อมมาเยือน และหากหยุดลงเมื่อไร อายุขัยย่อมสิ้นสุด
ในทางวิทยาศาสตร์ ชีวิตคือสารเคมีที่ประกอบขึ้นจากโมเลกุลต่างๆ โดยมีโมเลกุลพื้นฐานอย่าง “กรดอะมิโน” (Amino acids) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กรดอะมิโนจำเป็น (indispensable amino acid) ที่ร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้ 8-9 ชนิด และ
กรดอะมิโนไม่จำเป็น (dispensable amino acid) ที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ 11-12 ชนิด ทำหน้าที่เป็นทั้งโมเลกุลโครงสร้างและโมเลกุลทำงาน ซึ่งพบได้ทั่วไปในกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ผม และอวัยวะต่างๆ รวมถึงการขนส่งสารอาหารและออกซิเจนในเลือด และเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้น ทั่วทั้งร่างกายจึงมีโปรตีนมากมายไม่ต่ำกว่าหมื่นชนิดที่ช่วยให้มนุษย์เป็นมนุษย์เช่นที่เห็น
โปรตีน 1 กรัม สร้างพลังงานได้ 4 กิโลแคลอรี แต่โดยปกติร่างกายสร้างพลังงานโดยใช้คาร์โบไฮเดรตกับไขมันเป็นหลัก แล้วสงวนโปรตีนไว้เพื่อใช้สร้างภูมิต้านทานซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนไขมันนั้น ร่างกายจะสะสมในรูปของไตรกลีเซอไรด์ และสะสมคาร์โบไฮเดรตในรูปของไกลโคเจน แต่ไม่สามารถเก็บสะสมโปรตีนไว้ได้ เราจึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนทุกวันเพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้สร้างโปรตีนชนิดต่างๆ สำหรับการดำรงชีวิต
นอกจากนี้ ร่างกายยังสลายและขับโปรตีนออกมาในรูปแบบต่างๆ ทุกวัน เช่น การหลุดร่วงของเส้นผม การหลุดลอกของเซลล์บุทางเดินอาหาร เซลล์ผิวหนังที่ตายลง การสลายเม็ดเลือดแดงและเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ ที่หมดอายุ รวมถึงเอนไซม์ ฮอร์โมน และสารภูมิคุ้มกันที่หมดหน้าที่ ดังนั้น ร่างกายจึงต้องได้รับกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนจากอาหารทุกวันเพื่อรักษาสมดุลโปรตีน หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ร่างกายจำเป็นต้องเสาะหากรดอะมิโนจำเป็นทดแทนจากภายใน เช่น จากการสลายกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจส่งผลร้ายต่างๆ ตามมาได้
ความต้องการโปรตีนใน 1 วันของคนกลุ่มต่างๆ
ผู้ใหญ่ ต้องการโปรตีนประมาณ 0.8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยค่านี้พิจารณาในกรณีที่ร่างกายได้รับอาหารเพียงพอและสารอาหารถูกนำไปใช้อย่างน้อย 75%
หญิงมีครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร ต้องการพลังงานและโปรตีนเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนตั้งครรภ์ จึงควรเพิ่มปริมาณโปรตีนที่ต้องได้รับต่อวันอีก 20 กรัม
เด็กในวัยเจริญเติบโต ต้องการโปรตีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาการต่างๆ ควรได้รับโปรตีนเพิ่มมากขึ้นอยู่ที่ระดับ 1.2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
นักกีฬาบางกลุ่ม เช่น นักกรีฑาหรือนักเพาะกาย ความต้องการโปรตีนสูงมากเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควรได้รับโปรตีนอยู่ที่ระดับ 1.7 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ควรได้รับโปรตีน 1.2-1.6 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ผู้ที่ออกกำลังกายหรือนักกีฬาทั่วไปที่ต้องการพลังงานมากขึ้นแต่ไม่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ จะมีความต้องการโปรตีนเทียบเท่ากับคนปกติ
ผู้ป่วยผ่าตัดหรือบาดเจ็บ เซลล์ในร่างกายมีการสูญสลายไปมากเนื่องจากการบาดเจ็บและความเครียด จำเป็นต้องได้รับพลังงานและโปรตีนในปริมาณมากขึ้น ส่วนผู้ที่เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ปวดศีรษะ หรือเป็นหวัด ความต้องการโปรตีนของร่างกายเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจึงถือว่าไม่เพิ่มขึ้นเลย
โปรตีน...ดูแลครบ จบทั่วร่าง
B-Breakfast โปรตีนในมื้ออาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่สุดของวัน จะกระตุ้นการหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) ช่วยให้ร่างกายกระฉับกระเฉงพร้อมเริ่มงานในทุกวัน
E-Energy โปรตีนช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูร่างกายจากอาการอ่อนเพลีย ภาวะเครียด การออกกำลังกาย หรือการใช้แรงได้ และช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหายให้กลับมาทำงานอย่างมีคุณภาพ
S-Skin and Hair โปรตีนช่วยเสริมสร้างผิวหนัง เส้นผม เล็บ ให้สมบูรณ์แข็งแรง และช่วยการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง เพื่อให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวล เปล่งปลั่ง
T-Total Cells โปรตีนมีความสำคัญต่อทุกเซลล์ ร่างกายจึงต้องการโปรตีนเพื่อนำกรดอะมิโนมาใช้เป็นวัตถุดิบในการซ่อมแซมหรือสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่าทุกวัน
ทำไมต้องโปรตีนคุณภาพจากพืช
แหล่งโปรตีนมีอยู่มากมาย ได้แก่ โปรตีนจากสัตว์ เช่น ไข่ นม จัดเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี เนื่องจากมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ในขณะที่การผสมผสานโปรตีนจากพืชที่ลงตัว เช่น ถั่วเหลือง ข้าวสาลี และถั่วพี ก็เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีดังนี้
มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน
ปราศจากแลคโตส ไขมันและโคเลสเตอรอล
มีคุณภาพโภชนาการสูงด้วยค่า PDCAAS เท่ากับ 1
มีไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ใช้วัตถุดิบคุณภาพจากฟาร์มชีวภาพนิวทริไลท์
มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
การลงทุน
พัฒนาตัวเอง
ธุรกิจ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย