Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
OnePoverty
•
ติดตาม
6 ก.พ. เวลา 12:59 • ข่าว
ดงสาร
"นอภ.อากาศฯ" ติดตามวิจัยโมเดลแก้จนลงดู "นาปรัง" หนุนส่งให้นายอ "แปรรูปข้าวเม่า"
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 นายอำเภออากาศอำนวย ร่วมกับทีมนักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร ลงพื้นที่ด่วนติดตามการทำนาปรัง บ.ดงสาร ต.โพนงาม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร เพื่อหนุนเสริมให้กำลังใจชาวบ้าน และพูดคุยแนวทางการขับเคลื่อนโมเดลแก้จน “คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว” อย่างเป็นกันเอง ไม่มีพิธีการ แต่ได้การ
พ่อเด่น ณัฐฏพล นิพันธ์ ชาวบ้านดงสารเล่าความสำคัญว่า บริเวณพื้นที่ "ทุ่งพันขัน" กำลังทำนาปรังทั้งหมดประมาณ 4,000 ไร่ มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่คือ หนองคางฮูง กุดสิ้ว และหนองหมากแซว ในฤดูฝนน้ำจากแม่น้ำสงครามจะเข้าท่วมทั้งหมดทำนาปีไม่ได้ การเก็บเกี่ยวชาวบ้านจะใช้รถเกี่ยวข้าวนำไปขายได้ทันที ราคารับซื้อกิโลกรัมละ 8 บาท ข้าวนาปรังกินแล้วแข็งจึงขายข้าวเปลือกไปซื้อข้าวสาร
ม.ราชภัฏสกลนคร เข้ามาศึกษาวิจัยหารือกับชาวบ้าน จึงเสนอให้แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้เสี่ยวแนะนำเทคโนโลยีตะแกรงร่อนคัดคุณภาพเมล็ดข้าวก่อนนำไปหว่าน ตอนแรกผมอยู่ห่าง ๆ นั่งฟังแล้วเข้าหูเลยสนใจ จึงตกลงเป็นเสี่ยวกันแลกเทคโนโลยี หลังจากนำไปทดลองใช้ประโยชน์ เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิมต้นข้าวแตกกอมากขึ้นได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น นึ่งทานได้หอมนุ่มเหมือนข้าวนาปี จึงชวนชาวบ้านมาคัดเมล็ดข้าวก่อนนำไปหว่านนาปรัง วันนี้ดีใจมาก ช้างเหยียบนา พระยาเหยียบเมือง
พ่อเด่น รายงานผลที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้นายอำเภออากาศอำนวยฟังด้วยความรู้สึกปลื้มปิติ
อาจารย์สายฝน ปุนหาวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย ทีมปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 18 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 72,000 กิโลกรัมต่อ 4,000 ไร่ ปัจจุบันชาวบ้านซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว ถ้าคิดตามราคากลาง(ปี2565) กิโลกรัมละ 12.50 บาท ต้องลงทุนค่าเมล็ดพันธุ์ มูลค่า 900,000 บาท ต่อรอบการผลิต จึงเรียกปฏิบัติการแก้จนนี้ว่า “โมเดลคลังเมล็ดพันธุ์ข้าว” เป็นอาชีพระยะยาว
ได้พัฒนาอาชีพทำนาปรังเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ ช่วยลดต้นทุนการผลิตซื้อเมล็ดพันธุ์ และมีโอกาสใหม่แปรรูปข้าวเม่า พร้อมทั้งเตรียมพัฒนาสู่ท่องเที่ยวชุมชน “พิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมที่มีชีวิต” ร่วมกับ Local Alike (กิจการเพื่อสังคม) โมเดลนี้มีผู้ได้รับผลประโยชน์ 55 ครัวเรือน ทำแปลงปลูกข้าวพันธุ์ 55 ไร่ ช่วยลดรายจ่ายต้นทุนการผลิตประมาณ 1,083 บาทต่อครัวเรือน ปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ได้มากถึง 55,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 715,000 บาทต่อปี
อ.สายฝน ชี้แจงผลการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนยากจน
นายวันเพ็ญ ไชยพรม ผู้ใหญ่บ้านดงสาร หมู่ที่ 5 กล่าวว่า ช่วงนี้ข้าวนาปรังกำลังเขียวขจี หรือกำลังเป็นบ่าวสาว ทาง ม.ราชภัฏสกลนคร เข้ามาสนับสนุนปีที่ 2 ได้ยกระดับงานเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมและขยายกิจกรรมการพัฒนา เช่น แปรรูป และการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งปีนี้ได้รวมกลุ่มกันจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาปรังมูลค่าสูง เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงาน หมู่บ้านดงสารรู้สึกภูมิใจที่ ม.ราชภัฏสกลนคร เข้ามาช่วยเหลือ และวันนี้ดีใจที่นายอำเภออากาศอำนวยมาตรวจเยี่ยมการทำนาปรังของชาวบ้านถึงทุ่งนา
นายสุทธิเมศวร์ บุญแสนกุลธวัช นายอำเภออากาศอำนวย กล่าวว่า ได้เห็นพื้นที่จริงบ้านดงสารเป็นแหล่งผลิตข้าวนาปรังขนาดใหญ่ เข้าสู่กระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ด้วยคุณภาพจากงานวิจัย ด้านตลาดข้าวเราไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ แต่เราสามารถเชื่อมโยงช่องทางตลาดอื่น ในอำเภออากาศอำนวยมีแหล่งแปรรูปข้าวเม่าชื่อดังอยู่บ้านนายอ รายได้ครัวเรือนมากกว่า 100,000 บาท
ถ้าจับมือผู้ผลิตผู้แปรรูปเจอกันจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นการทำเกษตรที่เชื่อมโยงกันในพื้นที่ ต้องขอบคุณทีมอาจารย์ ม.ราชภัฏสกลนคร มาช่วยให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้ มองเห็นแสงสว่างในปลายอุมงค์ สอดคล้องกับแนวทางพัฒนามิติเศรษฐกิจของอำเภอในประเด็นอาชีพเห็ด ข้าว โคเนื้อ
สรุปกระบวนการวิจัย 1.) นำทาง ให้พ่อเด่นมาเจอเสี่ยวจนได้ติดตั้งเทคโนโลยีตะแกรงร่อน 2.) ร่วมทาง ศึกษาพัฒนากระบวนการทำข้าวนาปรังและเชื่อมโยงโอกาสใหม่ 3.) ส่งทาง สู่กองทุนคลังเมล็ดพันธุ์ข้าวร่วมกับภาคีในพื้นที่
การนำทางสำคัญมาก พอนำทางได้ตรงใจเขา เขาก็มาเอง และชวนคนอื่นมาด้วย ยกตัวอย่างคือพ่อเด่น สามารถบอกเล่ากระบวนการดำเนินงานเหมือนเป็นนักวิจัย เป็นเป้าหมายสำคัญของแหล่งทุน หน่วย บพท. การสร้างกลไกดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสู่ความมั่นคง
ที่มา :
https://www.1poverty.com/2024/02/om2.html
1poverty.com
″นายอำเภออากาศฯ” ติดตามวิจัยแก้จนโมเดล ”นาปรัง” หนุนส่งให้นายอ ”แปรรูปข้าวเม่า”
ปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง นักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร สนับสนุนทุนวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ข้าว
บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย