Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
GEO-HIS | ภูมิประวัติศาสตร์
•
ติดตาม
1 มี.ค. เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
ก๋วยเตี๋ยวหำหด ข่าวลือและความหวาดกลัวภัยญวนของคนไทยในสงครามเย็น
ในปี พ.ศ. 2518 สงครามเวียดนามจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกัมพูชาและลาวได้เกิดการปฏิวัติตามไปด้วย
ความหวาดกลัวต่อภัยคอมมิวนิสต์ในสังคมไทยถึงขีดสุด ว่าไทยอาจล้มเป็นโดมิโน่ตาม กระแสเกลียดชังชาวญวนรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และข่าวลือเกี่ยวกับญวนคอมมิวนิสต์มากมายแพร่สะพัดไปทั่วประเทศ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เกิดการประท้วงขับไล่ชาวญวนอพยพ ถึงขนาดมีการรุมทำร้ายและทำลายทรัพย์สินขึ้น
กลุ่มผู้ประท้วงเข้าทำลายโรงเรียนของชาวญวน ในจังหวัดหนองคาย (ภาพจาก หนังสือพิมพ์ บางกอก เดลี่ไทม์ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518)
ช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2519 - 2521 เกิดข่าวลือที่ไม่เป็นความจริงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนว่า
" ชาวญวนอพยพเข้ามาโจมตีประเทศไทยโดยการใส่ยาพิษลงในก๋วยเตี๋ยว หากทานเข้าไปแล้วองคชาติจะหดเข้าไปในท้อง และเสียชีวิตในที่สุด"
จนเรียกกันว่า "ก๋วยเตี๋ยวหำหด" นอกจากก๋วยเตี๋ยวแล้ว ยังมีแตงโมหำหด ไข่หำหด และอาหารอื่น ๆ
มีผู้เชื่อข่าวลือนี้เป็นจำนวนมาก และสื่อหนังสือพิมพ์นำไปตีข่าวอยู่นาน จนเกิดอุปทานหมู่ทำให้มีผู้เข้าโรงพยาบาลอย่างน้อย 200 ราย ที่เชื่อว่าตนเองได้รับสารพิษดังกล่าว
โรคหำหด หรือโรคจู๋ (Penis Panic หรือ Koro) เป็นโรคทางจิตเวชที่ผู้ชายมีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรง ว่าอวัยวะเพศของตนกำลังหดลงเรื่อย ๆ
สาเหตุของโรคเชื่อว่าเกิดจากความจมปลักอยู่กับความรู้สึกผิด (gulit) และความวิตกกังวลอย่างรุนแรง (panic) ประกอบกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น เรียกกลุ่มอาการป่วยทางจิตนี้ว่ากลุ่มโรคจิตเวชเฉพาะท้องถิ่น (Culture-Bound Syndrome)
พบมากในชาวจีนซึ่งมีความเชื่อว่าขนาดอวัยวะเพศที่หดลงส่งผลถึงพลังชีวิต มักเกิดอาการหลังจากร่วมเพศหรือสำเร็จความไคร่ด้วยตนเองมากเกินไป
โรคจู๋ยังพบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในมาเลเซียและสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังพบการระบาดที่คล้าย ๆ กันในอินเดีย และแอฟริกาอีกด้วย
สำหรับประเทศไทย คาดว่าความหวาดกลัวต่อข่าวลือต่าง ๆ เกี่ยวกับภัยคอมมิวนิสต์ญวน การปลุกระดมทางการเมืองและการประโคมข่าวของสื่อเป็นสาเหตุสำคัญของการระบาดในช่วงเวลาดังกล่าว
ป้ายต่อต้านเวียดนามโดยผู้ประท้วง ในอำเภอสว่างดินแดน จังหวัดสกลนคร 2 สิงหาคม พ.ศ. 2519 (ภาพจาก คลิปวีดีโอ SYND 5 8 76 ANTIVIETNAMESE REFUGEE DEMONSTRATION บนยูทูป AP Achive)
อ้างอิง :
ศริญญา สุขรี. (2558). ชาวเวียดนามอพยพ: นายทุนยุค "ไทยใหม่" และการกลายเป็นชนชั้นนำเมืองชายแดน. วิทยาลัยนานาชาติ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.
วีรภัทร ผิวผ่อง. (2564). จากผู้พลัดถิ่น สู่ “ญวนอพยพ”: ชีวิตของชาวเวียดนามในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ค.ศ. 1945 - 1976. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567,
จาก
https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=6278&context=chulaetd
W Jilek และ L Jilek-Aall. (2520). Mass-hysteria with Koro-symptoms in Thailand. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567,
จาก
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/905791/
ส.สีมา. (2565). อะนอเร็กเซีย-อะม้อก โรคจิตเชิงวัฒนธรรม ที่อันตรายถึงชีวิต. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567,
จาก
https://www.silpa-mag.com/culture/article_86991
ส.สีมา. (2565). กลุ่มอาการโรคจิตเชิงวัฒนธรรม (อีกครั้ง) ว่าด้วยพฤติกรรม “แล่นทุ่ง” ถึง “โรคหำหด”. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567,
จาก
https://www.silpa-mag.com/history/article_5127
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). Cultural factor in psychiatry. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567,
จาก
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Cultural%20factor%20in%20psychiatry.pdf
ประวัติศาสตร์
ความรู้
เวียดนาม
บันทึก
7
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย